Travel Sport & Soft Power

ผอ.ศูนย์วิจัยฯทางทะเลชี้ปลาโลมาอิรวดี ในทะเลสาบสงขลาน่าเป็นแหล่งวิกฤตที่สุด



สงขลา-ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างเปิดเผยปลาโลมาอิรวดีทะเลสาบสงขลา น่าเป็นแหล่งวิกฤตที่สุด เปรียบเทียบกับที่อื่นมีเหลือจำนวนน้อยมาก

วันนี้ 4 พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างได้พบกับ คุณ ราตรี สุขสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ที่ ม.8 ต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลา ที่เป็นหน่วยงานที่ดูแลปลาโลมาอิรวดีโดยตรง และ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขียนเรื่องราวความเศร้าของโลมาอิรวดีไว้ตอนหนึ่ง ในเฟซบุ๊ก ว่าสมัยก่อน ความต้องการไม่มาก โลมายังมีความสุข

พวกเธอว่ายไล่เลาะเลียบเรือลำน้อยของชาวประมง เราอยู่ด้วยกันได้ ทว่า…คนมีมากขึ้น จับปลามากขึ้นยังมี…การปล่อยปลาบึกลงในทะเลสาบ เพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจใหม่ ทำให้เครื่องมือประมงเปลี่ยนไป มุ่งหวังจับปลาบึกโลมากับปลาบึกขนาดใกล้เคียงกันโลมาไม่เคยรู้จักเครื่องมือชนิดใหม่ หลบไม่เป็น หนีไม่รอดโลมาหายใจด้วยปอด โลมาติดอวนจมน้ำตายข้อมูลสถิติบ่งชี้ชัด ก่อนหน้านี้ โลมาตายเฉลี่ยปีละ 4-5 ตัวปล่อยปลาบึกปี 2545-51 พอปลาโต คนเริ่มจับ

ในช่วงปี 2550-2555 โลมาตายเฉลี่ยปีละ 10 ตัวหลังจากนั้น จำนวนตายเริ่มลดลงไม่ใช่เพราะเราแก้ปัญหาได้แต่เป็นเพราะโลมาลดลง จนไม่มีเหลือให้ตายยังรวมถึงปัญหาอื่นๆ เช่น ปลาที่เป็นอาหารถูกจับจนเหลือน้อย น้ำตื้นมากขึ้นจากตะกอนที่ไหลมาจากการเปิดหน้าดิน ฯลฯ
    จนถึงเลือดชิด ประชากรเหลือน้อยมาก ผสมพันธุ์กันเองแต่ละปัญหานำพามาสู่เลข 14

14 สุดท้าย 14 ก่อนจะไม่มีอะไรเหลือโลมาที่เคยอาศัยมาตั้งแต่ก่อนยุคผีแมนแห่งแม่ฮ่องสอน ก่อนมนุษย์ในอดีตจะวาดภาพโลมาบนผนังถ้ำในภาคใต้เหลือเพียง 14สุดท้าย และจะสูญสิ้นไปในรุ่นเราตายเหี้ยน หมดสิ้น สูญพันธุ์ !

คุณ ราตรี สุขสุวรรณ์ กล่าวว่า จริงๆศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งซึ่งเราก็มีหน้าที่ภารกิจติดตามสำรวจประเมิน สถานภาพของปลาโลมาอิรวดี ในทะเลสาบสงขลา ซึ่งศึกษามาตั้งแต่เริ่มกรมตั้งแต่ 2547 ถ้าเราย้อนมองดูข้อมูลย้อนหลัง โลมาในทะเลสาบมีประมาณ 100 ตัว เมื่อประมาณ 10 กว่าปี 20 กว่าปีที่แล้ว มีประมาณ 100 ตัว ปัจจุบันล่าสุดที่เราสำรวจ มีประมาณ 14 ถึง 20 ตัว 14 ตัวที่จากการพบเห็นหรือนับได้ ถ้าเราประกอบกับข้อมูลของชาวบ้านว่าสามารถพบเห็นและนับได้กี่ตัว และโดยประมาณมี 14 ถึง 20 ตัว ถ้าถามว่าจะเป็นฝูงสุดท้ายที่อยู่ในทะเลสาบสงขลาไหมก็ จากการ ศึกษาและติดตามก็น่าจะเป็นฝูงสุดท้ายเนื่องจากมัน ก็อยู่ประมาณนี้ ข้อมูลการศึกษาวิจัยมันก็ เกี่ยวข้องอยู่กับหน่วยงานหลายๆหน่วยงาน เราควรจะร่วมกันอนุรักษ์ปลาโลมาอิรวดี ในทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นโลมาน้ำจืดมีหนึ่งในห้าแห่งของโลก และในห้าแห่งนี้ ประเทศไทยหรือทะเลสาบสงขลาน่าเป็นแหล่งวิกฤตที่สุด เปรียบเทียบกับที่อื่นมีเหลือจำนวนน้อยมาก ในการที่จะควรอนุรักษ์ ให้มันอยู่คู่กับเราต่อไปยังไง

ซึ่งนอกจากการศึกษาวิจัยตรงนั้นแล้ว หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามร่วมมือกัน บูรณาการ ร่วมกันปกป้องว่าจะรักษา อย่างไร ผลกระทบและสิ่งที่คุกคามจริงๆต่อปลาโลมาอิรวดี ว่ามันคืออะไร อันนี้ก็เป็นข้อมูลที่เราเก็บข้อมูลจากการวิจัยมา เพื่อส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันดำเนินการต่อ ผลสำรวจล่าสุดของกลุ่มเราที่ลงไปสำรวจเรื่องปลาโลมาอิรวดี ก็มีการบินสำรวจโดยใช้เครื่องบินขนาดเล็ก แล้วก็โดลน แล้วก็การเก็บสัมภาษณ์แล้วก็เรือ พร้อมกับใช้เครื่องอ่ะคุดติ๊กพาวเดอร์  ซึ่งเป็นเครื่องบันทึกเสียงของโลมา และล่าสุดเมื่อประมาณเดือนมีนาคมที่ผ่านมาซึ่งเราก็เห็นว่ายังพบปลาโลมาอิรวดีอยู่ ที่สำคัญเราพบซากอาหารที่โลมากินไปเนื่องจากอาหารที่โลมากินจะกินตัวเหลือแต่หัว ทำให้เราเห็นนั่นคืออาหารของโลมา ในแหล่งพื้นที่ที่เป็นเขตอนุรักษ์ที่เค้าอยู่ประจำ ในพื้นที่ประมาณ 80,000 ไร่ ตรงไข่แดงของทะเลสาบตอนบน อันนั้นก็เป็นพื้นที่ที่เค้าอยู่ และเราสำรวจบริเวณนั้นเค้าก็จะอยู่กินเป็นประจำ ก็ในส่วนของเราเองเราก็พยามลงพื้นที่ ให้ข้อมูลเรียนรู้สร้างการรับรู้สร้างความเข้าใจ ชาวประมงในเรือที่เราเจอและบริเวณรอบชายฝั่ง

ทั้งหมดที่ไปทำประมงอยู่ในพื้นที่ และชาวประมงในพื้นที่เค้าเข้าใจ ในส่วนนึงเค้าเข้าใจ เค้าให้การร่วมมือในการอนุรักษ์ อย่างเต็มที่แต่มันมีบางส่วน ที่ชาวประมงอาจมาจากนอกพื้นที่ เค้าไม่ได้รับรู้ข้อมูลตรงนี้ ปัจจุบันข้อมูลคือวงกว้างขึ้น และเข้าใจกันมากขึ้นในระดับนึง และที่ระวังก็คือเรื่องของการใช้เครื่องมือประมง ในเขตที่เค้าห้าม เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยอยู่จริงจริง ก็คือเครื่องมือประมงปลาบึกที่มีผลกระทบโดยตรงต่อโลมาอิรวดี

ปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา