Travel Sport & Soft Power
รำลึกปี2'วันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลก'
กรุงเทพฯ-วันโรคเขตร้อนฯ เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะกระตุ้นภาคการสาธารณสุขโลก และสาธารณชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสู่การกำจัดโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยให้สิ้นไปจากโลกนี้ จากการร่วมมือของพันธมิตรกว่า 300 องค์กรจาก 55 ประเทศลงมือทำงานร่วมกันท่ามกลางระบบสาธารณสุขโลกอันหลากหลาย
ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ ยูเออี เป็นประเทศที่ใช้การทูตเพื่อริเริ่มผลักดันให้วันโรคเขตร้อนฯ เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการจากองค์การอนามัยโลก และยังเป็นประเทศที่แสดงบทบาทผู้นำในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อสนับสนุนวันดังกล่าว ความพยายามเหล่านี้เป็นการสานต่อประวัติศาสตร์และความเป็นผู้นำในการกำจัดโรคต่างๆ ในโลกนี้ นอกเหนือจากนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของ .”Reaching the Last Mile” ซึ่งเป็นพอร์ตโฟลิโอของโปรแกรมด้านสาธารณสุขที่มุ่งทำงานเพื่อกำจัดโรคร้ายต่างๆ ทั้งหมดที่กล่าวมาได้รับแรงผลักดันที่เกิดจากพันธสัญญาส่วนตัวของ ชีค โมฮัมเหม็ด บิน ซายิด มงกุฎราชกุมารแห่งรัฐอาบูดาบี
จุดประกายในวัน NTD โลก จากเจตนารมณ์ร่วมของประชากรโลกในการลงมือปฏิบัติ สู่การย้อมสี แลนด์มาร์คสำคัญๆ กว่า 60 แห่งทั่วโลก ครอบคลุม 40 เมือง 24 ประเทศอย่างพร้อมเพียงกัน ด้วยแสงไฟและสีสันสดใส จุดประกายความสว่างไสวในความทรงจำว่า เราชาวโลกไม่สามารถที่จะหมางเมิน หรือไม่ใส่ใจต่อความเปราะบางของระบบสาธารณสุขโลกอีกต่อไป แลนด์มาร์คสำคัญๆ ที่เข้าร่วมในแคมเปญนี้ อาทิ กำแพงเมืองจีน หอเอียงเมืองปิซ่า สนามกีฬาเอทิฮัด รัฐอาบูดาบี และโตเกียวทาวเวอร์
สารสำคัญของวันสำคัญนี้ที่จะถูกขยายออกในวงกว้างด้วยการปรากฏตัวของดาราดัง อย่าง สกาเล็ต โจแฮนสัน ที่รับเป็นทูต ตัวแทนของวันรำลึกนี้ พร้อมเพื่อนดารา นักร้อง อาทิ ชารอน สโตน อาวิล ลาวีน ซาบีน่า เอลบ้า และ ไดเคมเบ้ มูทอมโบ้ เทมเมอร์ ฮอสนี หลางหลาง
ศ.ดร.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทาลัยมหิดล กล่าวว่า “โรคระบาดใหญ่ที่มวลมนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ เป็นบททดสอบถึงความยืดหยุ่นในระบบสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลกได้เป็นอย่างดี การร่วมมือให้เป็นหนึ่งเดียวของประชาคมโลกในทุกสังคม รวมถึงภาคเอกชนและภาครัฐ จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งต่อการจัดการ
กับโรคกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทฺธิผลทั้งด้านการป้องกัน การควบคุม และเป้าหมายสูงสุดคือการกำจัดโรคที่ถูกละเลยนี้ให้หมดสิ้นไปจากโลกนี้ เราได้เลือกอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา โรงพยาบาลศิริราช ร่วมในแคมเปญนี้ เพื่อจุดประกายความหวัง เฉกเช่นพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงอุทิศ ทรงงานเพื่อผู้ป่วยด้อยโอกาสในสังคมไทยให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง อาคารนี้เป็นโครงการสุดท้ายที่พระองค์ทรงมอบให้ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อเปิดโอกาสให้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่ด้อยโอกาสให้ได้รับการดูแลรักษา มีสุขภาพที่ดีขึ้น”
ความจำเป็นที่สำคัญยิ่งในการกำจัดโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย หรือ NTDs โรคเขตร้อนที่ถูกละเลยส่งผลกระทบต่อประชากรโลกกว่า 1.7 พันล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในสถานะที่ยากจนข้นแค้น ในชุมชนห่างไกลความเจริญ และไม่สามารถเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน อย่างเช่น น้ำสะอาด อีกที้งยังทำให้ระบบเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังพัฒนาต้องสูญเสียเงินจำนวนเป็นพันล้านทุกๆ ปี ความคืบหน้าอย่างมีนัยะสำคัญ นับตั้งแต่การลงนามปฏิญญาลอนดอน ด้านโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยใน ปี 2555 ซึ่งเป็นการรวมตัวของพันธมิตรข้ามภาคส่วนของหลากประเทศหลายชุมขนมาร่วมมือร่วมใจผลักดันให้มีการลงทุน และการลงมือปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบัน ประชากรโลกนับร้อยล้านคนทั่วโลกไม่ต้องเข้าทำการรักษาโรคเขตร้อนฯ อีกต่อไป และในหลายประเทศ โรคร้ายที่เคยแพร่ระบาดในวงกว้างมาเป็นเวลานับพันปีก็ได้ถูกกำจัดให้หมดไปอย่างสิ้นซาก
แต่ถึงจะมีความก้าวหน้าดังกล่าวข้างต้น เราก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายที่ทำให้ 1 ใน 5 ของประชากรโลกต้องได้รับผลกระทบจากโรคร้ายที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ บางกรณีถึงขั้นเสียชีวิต หรือไม่ก็มีอาการทุพพลภาพทางร่างกาย นี่คือวัฏจักรของความยากไร้ที่ทำให้ผู้คนต้องตกงานและขาดรายได้ ทำให้เด็กต้องหยุดเรียน สถานการณ์ของผู้ป่วยเป็นโรคเขตร้อนฯ ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา จากการระบาดใหญ่ของโรคไวรัสโคโรนา หรือ โควิด 19 โดยความเป็นจริงแล้วนั้น บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารโรคระบาดกับความยากจน เมื่อเร็วๆ นี้ อธิบายถึงความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจที่ได้รับจากการรักษาโรคเขตร้อนฯ ใน 20 ปีที่ผ่านมาได้สูญเสียจนหมดสิ้นไปกับโรคระบาดใหญ่นี้
“COVID-19 ได้สร้างแรงกดดันอย่างยิ่งต่อระบบสุขภาพของโลก แต่เราจะไม่ยอมแพ้ โปรแกรมโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย ได้แสดงให้เราเห็นถึงการปรับตัวที่รวดเร็วทำให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการรักษาชีวิตและการรักษาเข้าถึงกลุ่มประชากรที่เข้าถึงได้ยากเราตระหนักดีว่าการดูแลชุมชนให้พ้นจากโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยจะช่วยปกป้องโลกของเราจาก๓วะการแพร่ระบาดในอนาคต has placed a huge
ปีนี้ วันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลก สามารถทำให้องค์การอนามัยโลกหันมาใส่ใจกับวันดังกล่าว ด้วยการเปิดตัว Road map ใหม่ในการกำจัดโรคเขตร้อนฯ โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นคู่มือสำหรับผู้ที่ทำงานในแวดวงสาธารณสุขให้พัฒนาพันธมิตรข้ามภาคส่วนใหม่ เพื่อเติมเต็มและเสริมสร้างความแข็งแกร่งในประเทศต่างๆ และสามารถทำให้การป้องกันโรคเขตร้อนฯ ได้อย่างยั่งยืนในที่สุด
การสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก การยอมรับว่าการเฉลิมฉลองประจำปีของวันสำคัญนี้ ได้มีส่วนสำคัญของการร่วมมือทำงานของหลายประเทศทั่วโลกเพื่อกำจัดโรคเขตร้อนฯ ให้สิ้นไปจากโลกนี้ คณะกรรมบริหารขององค์การอนามัยโลกได้ผ่านวาระการตัดสินใจในวันที่ 23 มกราคมนี้และแนะนำให้ องค์การอนามัยโลกสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันที่ 30 มกราคมนี้ เป็นวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งเชิญชวนให้รัฐ และประเทศต่างๆ ทั่วโลกมาเฉลิมฉลองวันดังกล่าวด้วยกัน โดยข้อเสนอแนะนี้จะถูกบรรจุเข้าวาระเพื่อการตัดสินใจ ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 74 ที่จะถูกจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2564 นี้