Travel Sport & Soft Power

นอภ.ราชสาส์นรณรงค์'ไม่เผาเราทำได้'



ฉะเชิงเทรา- โครงการรณรงค์ลดการเผาตอซังและฟางข้าวของชาวนาหลังเก็บเกี่ยวผล ผลิตเพื่อลดปัญหาการก่อให้เกิดมลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก และเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกเพื่อทดแทนการเผา เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน อีกทั้งยังให้หาแนวทางหารายได้การอัดฟางข้าวขายส่งผลต่อผล ผลิต และรายได้เพื่อความยั่งยืนของเกษตรกร

วันนี้ 3 กุมภาพันธ์ 2564 นายเกรียงไกร ปัญญาพงศธร นายอำเภอราชสาส์น เป็นประธานเปิดกิจกรรมการ รณรงค์ลดการเผาตอซังฟางข้าวในพื้นที่ของเกษตร กรที่ทำนาปลูกข้าวจำนวนในอำเภอราชสาส์นจำนวนมากปี พ.ศ.2564 โดยโครงการ"ไม่เผา เราทำได้”  จัดขึ้นที่หอประชุมอำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิง   เทราโดยสำนักงานเกษตรจังหวัด สถานีพัฒนาที่ดินกรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานทรัพยากรธรรม  ชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติไทยพีบีเอส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. สำนักงานเกษตรอำเภอราชสาส์น สถานีตำรวจภูธรราชสาส์น ส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอราชสาส์น บริษัท ยันมา เอส พี จำกัด บริษัท ป.ต.ท. จำกัด (มหาชน) เกษตรกร และนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมพิธีเปิดจำนวนมาก

สาเหตุจากผุ่นละอองเพิ่มขึ้นมีปริมาณมากทำให้ค่าPMสูงขึ้นมาจากที่เกษตรกรมีต้นทุนน้อย การเผาเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และเกษตรยังไม่มี วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลทางการการเกษตร ที่จะนำมาอัดฟาง การซื้อ- ขายฟาง มีข้อจำกัด ได้แก่ การซื้อไม่ ทันเนื่องจากผู้ค้าน้อยราย การเข้าไม่ถึงแปลงที่ที่ต้อง การซื้อ และที่สำคัญการประสานบูรณาการระหว่างหน่วยงาน และการบังคับใช้กฎ หมายยังขาดประสิทธิภาพ 

"ราชสาส์นโมเดล"จึงเป็นแนวทางของการลดการเผาในพื้นที่ของเกษตรกร ซึ่งมีการประชุมผู้เกี่ยวข้องทบ ทวนปัญหาที่ผ่านมากำหนด แนวทาง การบูรณาการทุกภาคส่วน"ประชาสัมพันธ์เชิงรุกในการรณรงค์ลดการเผาเสริมความรู้เทคนิควิธี "ทำนาโดยไม่ต้องเผา" เช่น ไถกลบ การหมักตอซัง ขอความร่วมมือ สร้างแรงจูใจ เกษตรกรให้เข้าร่วมโครงการฯ และทำข้อตกลง (MOU)ร่วมกันในการหยุดเผาทั้งนี้มีเกษตรกรชาวนาที่ร่วมประกาศเจตนารมณ์ "ไม่เผา เราทำได้" รวม 604 รายในการเปิดกิจกรรมครั้งนี้มีชาวนาแปลงสาธิตมีการไถกลบตอซัง และการปรับปรุงบำรุงดิน และได้มีการขอรับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน ตามมาตรการ “ดึงฟางออกจากไฟ” เป้าหมายคือ การนำฟางออกจากพื้นที่ให้ได้มากที่สุด โดยหาผู้รับซื้อฟางให้เพียงพอต่อปริมาณฟาง และ ภาครัฐช่วยอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการทั้งการซื้อ และการขนส่งฟาง โดยมีการจัดกิจกรรม Kick Off โครงการ "รณรงค์หยุดเผาในพื้นที่การเกษตร" อำเภอราชสาส์นพร้อมทั้งกำหนดมาตรการรับมือ ด้วยการจัดชุดเฝ้าระวัง และชุดระงับเหตุ และบังคับใช้กฎหมาย ติดตามประเมินผล เพื่อเป็นข้อมูลขับคลื่อนในปีต่อไป เช่น ผลผลิต รายได้เกษตร กรหลังเข้าร่วมโครงการ 

ในปัจจุบันพบว่าในประเทศ ไทยมีการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมเป็นปัญหาสำคัญ เพราะนอกจากจะก่อให้เกิดมลภาวะส่งผลต่อสุข ภาพของประชาชนในพื้นที่แล้วยังส่งผลโดยตรงต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร ในส่วนของอำเภอราชสาส์นเอง มีพื้นที่ทำนาถึง 31,000 ไร่ หลังการเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะเดือนมกราคม-มีนาคม ของทุกปี มักพบการเผาตอชังฟางข้าว ทุกปีซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ อำเภอราชสาส์นจึงได้จัดทำโครง การ “รณรงค์ลดการเผาในพื้นที่การเกษตร” เพื่อลดสาเหตุของการเกิดมลภาวะโดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และเพิ่มทางเลือกเพื่อทดแทนการเผา เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่งผลต่อผลผลิต รายได้และความยั่งยืนของเกษตรกรต่อไป


ชวลิต ด้วงเงิน/ผู้สื่อข่าวภูมิภาคฉะเชิงเทรา