In News

เครือข่ายสื่อฯดูงานโรงไฟฟ้าขยะอยุธยา RHยืนยันใช้เทคโนโลยีทันสมัยไร้มลพิษ



เครือข่ายสื่อมวลชนใส่ใจพลังงานไฟฟ้า เดินสายเยี่ยมชมโรงงานไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม “รีคัฟเวอรี่ เฮ้าส์-RH” นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง อยุธยา RHยืนยันเป็นโรงไฟฟ้าสะอาด มีขบวนการผลิตที่นำเอาเทคโนโลยี่ที่ทันสมัย การันตีไม่มีมลพิษทางอากาศหรือแม้แต่PM2.5

พระนครศรีอยุธยา : 24 กันยายน 2563 กลุ่มเครือข่ายสื่อมวลชนไทยใส่ใจทางเลือกใหม่พลังงานไฟฟ้า นำโดยนายมนู ศิริวรรณ ประธานเครือขายฯ เข้าเยี่ยมชมกิจการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม บริษัท รีคัฟเวอรี่ เฮ้าส์ จำกัดหรือRH นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นายศภวัฒน์ คุณวรวินิจ กรรมการบริหาร บริษัท รีคัฟเวอรี่ เฮ้าส์ จำกัดหรือRH ได้กล่าวถึงโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมแห่งนี้ว่า โรงไฟฟ้าRH แห่งนี้ใช้วัตถุดิบทำเชื้อเพลิงจากขยะอุตสาหกรรม อันที่จริงยังไม่ถึงขั้นเป็นขยะ เป็นเพียงเศษวัสดุดิบที่เหลือจากการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า เช่น เศษกระดาษ ไม้ ผ้า ยาง หนังและพลาสติก ซึ่งไม่ใช่ขยะพิษแต่อย่างไร แต่ด้วยความเชื่อคิดว่าถ้าขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นขยะพิษ

ขบวนการผลิตเชื้อเพลิงของบริษัท ใช้กระบวนผลิต RDF กล่าวคือ คัดเลือกขยะหรือเศษวัตถุดิบที่ไม่ใช้แล้วและเผาไหม้ได้ นำมาคัดหรือแยกขนาด แล้วตัดให้ละเอียด ก่อนอัดก้อน นี่คือขบวนการผลิตRDF ซึ่งควบคุมความชื้นไม่เกิน 20% จึงง่ายต่อการเผาไหม้

 

ในส่วนของเทคโนโลยีผลิตกระแสไฟฟ้า เราใช้ระบบความร้อนด้วยการเผาไหม้แบบตะกรับเคลื่อนที่หรือ Step Grate ซึ่งจะให้ความร้อน 850-900 องศาC ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ เราเติมออกซิเจนเข้าไป3% ช่วยขจัดสารประกอบไอออกซิน โดยความร้อนนั้นจะไปต้มน้ำให้เดือดเป็นไอมีแรงอัดเพื่อไปปั่นมอเตอร์กำเนิดไฟฟ้า กลายเป็นกระแสไฟฟ้า ก่อนส่งขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือกฟภ.และไว้ใช้เอง

นายศุภวัฒน์ กล่าวถึงขบวนการผลิตที่อาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมว่า ขบวนการผลิตของบริษัทฯมีการควบคุมทุกขั้นตอน โดยเฉพาะเผาไหม้ที่ใช้อุณหภูมิสูงทำให้เกิดการเผาไหม้สมบูรณ์ไม่มีควัน ขณะเดียวกันบริษัทยังใช้ระบบเทคโนโลยีบำบัดมลพิษทางอากาศไว้ทุกขั้นตอนและมีการติดตั้งระบบCEMs เพื่อตรวจวัดปริมาณมลพิษทางอากาศเปิดตลอดเวลา ซึ่งมีอยู่ 2 จุดคือ บริเวณหน้าโรงไฟฟ้าและที่สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมนครหลวง จึงกล้ายืนยันได้ว่า ขบวนการผลิตดังกล่าวทำให้มีมลพิษทางอากาศน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย แม้แต่ PM 2.5 ตรวจวัดไม่พบเลย

นอกจากนี้ น้ำที่ใช้สำหรับต้มปั่นมอเตอร์นั้น เป็นน้ำประปาอย่างดี โดยมีขบวนการหลังผ่านการปั่นมอเตอร์กำเนิดไฟฟ้าแล้ว ซึ่งเหลืออยู่ประมาณ 40% จะถูกนำเข้าสู่ระบบหล่อเย็นกำจัดออกซิเจนหรือควบแน่น ให้เป็นน้ำก่อนหมุนเวียนเพื่อนำไปใช้ใหม่ต่อไป ส่วนเถ้าจากการเผาไหม้ ทางบริษัทฯ ก็จะนำไปกำจัดตามที่กฎหมายกำหนด

สำหรับโรงไฟฟ้าให้แห่งนี้ใช้วัตถุดิบเชื้อเพลิงต่อวันประมาณ 150 ตัน มีการเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง ในหนึ่งปีหยุดเพียง 3 ครั้งเพื่อซ่อมบำรุงอุปกรณ์ โรงงานแห่งนี้มีกำลังผลิตไฟฟ้าได้ 7 เมกกะวัต แบ่งขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 5.5 เมกกะวัตที่เหลือไว้ใช้เอง

ส่วนประโยชน์ที่ชุมชนได้รับจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้ นอกจากการจ้างงาน สร้างรายได้ และสร้างความเจริญให้กับคนในพื้นที่กว่า 80%แล้ว ยังเสียภาษีบำรงพื้นที่ โดยเฉพาะภาษีโรงเรือนให้กับท้องถิ่นได้พัฒนาพื้นที่ของตนเอง และที่สำคัญยังมีกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโดยทางบริษัทฯบริจาคให้ปีละ 600,000บาท ถือเป็นการคืนกำไรให้กับพื้นที่ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับประชาชน นักเรียน นักศึกษา โดยมีผู้เดินทางมาดูงานปีละประมาณ 5,000 คน

ปัจจุบันบริษัทฯมีโรงไฟฟ้าอยู่ในเครือ 3 แห่งคือ โรงไฟฟ้าแห่งนี้คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงไฟฟ้าที่จังหวัดสระบุรี และโรงไฟฟ้าที่จังหวัดพิจิตร สำหรับเป้าหมายต่อไป เรากำลังมองไว้ที่จังหวัดสระแก้ว อย่างไรก็ตาม ยอมขึ้นอยู่ที่ทางกระทรวงพลังงานว่า จะเปิดประมูลใหม่เมื่อไร