In Bangkok
กทม.เดินหน้าพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพ ดิจิทัลกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพฯ-(16 พ.ย.66) เวลา 13.30 น. : นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพดิจิทัลกรุงเทพมหานคร (Health Data Center) ครั้งที่ 3/2566 โดยมี นางปฐมพร ศิรประภาศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 13 ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ คณะกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพดิจิทัลกรุงเทพมหานคร (Health Data Center) และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมแพทยพัฒน์ ชั้น 5 สำนักการแพทย์ และผ่านระบบการประชุมทางไกล
ที่ประชุมรายงานการสร้างศูนย์ข้อมูลกลางด้านสุขภาพ กรุงเทพมหานคร (Data Center) แบ่งเป็นด้าน Data governance ขณะนี้อยู่ระหว่างการแต่งตั้งคณะทำงานบริการข้อมูลสุขภาพดิจิทัลกรุงเทพมหานคร และด้าน Infrastructure จากการประชุมติดตามงานเมื่อวันที่ 9 พ.ย.66 กรมการแพทย์ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึง Infrastructure and security ของคลาวด์เขตสุขภาพ 13 ดังนี้ 1.Cloud Server ของ GDCC มี 2 Data center อยู่ที่ เขตบางรัก กรุงเทพ หลักสี่ และนนทบุรี 2.ทำงานแบบ Synchronized 3.มีระบบ Next-generation Firewall (NGFW) 4.มีระบบป้องกัน DDoS Attack มีระบบ Backup ที่ศรีราชา และมี Backup ส่วนหนึ่งอยู่ที่กรมการแพทย์ซึ่งผ่าน ISO 27001 5.ปรับปรุง OS เก่าเป็น OS ใหม่ให้มีความมั่นคงปลอดภัย ติดตั้ง SSL 6.การโอนย้ายฐานข้อมูลจากระบบ HDCBKK (43 แฟ้ม) เดิมมายังระบU Cloud GDCC เป็นระบบใหม่ คาดว่าน่าจะพร้อม มกราคม 2567 ที่ประชุมมีมติรับทราบ
การพัฒนา Telemedicine / Teleconsult ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร OKR (Objective and Key Results: เครื่องมือในการตั้งเป้าหมายและกำหนดตัววัดผลสำเร็จ) ทำให้สถานพยาบาลรัฐในเขตพื้นที่ กทม.ได้มีบริการของ telemed ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการส่งแบบสำรวจการใช้งานระบบ Telemedicine และ Telconsult ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามข้อมูลเอกสารแพบ พบว่า โรงพยาบาล ทั้งภาครัฐ และ เอกชน มีบริการด้าน Telemedicine ประมาณ ร้อยละ 70 และTeleconsult ประมาณ ร้อยละ 40 โดยแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีความต้องการแพทย์ในสาขาที่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ตามข้อมูลที่สปสช. ส่งมาให้ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีข้อเสนอที่จะดำเนินการจัดทำระบบ Teleconsult ระหว่าง ภาคีเครือข่ายด้านสาธารณสุขและกลุ่มโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ จะเริ่มดำเนินการจาก service plan ที่เข้มแข็งก่อน
Data driven healthy city การใช้ฐานข้อมูลสุขภาพของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และการพัฒนา Bangkok Health Map กำหนด OKR จำนวนผู้ใช้บริการ มากกว่า 20,000 รายใน 1 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาการเก็บบันทึกข้อมูลสำหรับกลุ่มคนเปราะบางให้เป็นในเชิงพื้นที่ คาดว่าใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในการทำระบบ และพัฒนาการเชื่อมโยงระบบ AED monitor ด้านการบริหารจัดการเมือง จากการประชุมคณะทำงานบริการข้อมูลสุขภาพดิจิทัลกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 8 พ.ย.66 มีข้อสรุปดังนี้ 1.การกำหนดการรับพิจารณาชุดข้อมูล ทุกวันที่ 20 2.จะมีการพิจารณาชุดข้อมูลทุก 2 เดือน 3.ข้อมูลสำหรับการบริการรายบุคคล ให้ใช้การพัฒนาทาง Health link เป็นหลัก 4.ข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการเมืองที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ ใช้ส่งเข้า BKKHDC ที่เป็นคลาวน์เขตสุขภาพที่ 13 โดยมีกรมการแพทย์ช่วยดูแลเป็นหลัก 5.ชุดข้อมูลที่สนใจและเป็นประโยชน์ในพื้นที่ จะนำเสนอมี 2 ชุดข้อมูล คือ 1.ชุดข้อมูล NCD plus และ2.ชุดข้อมูล รายงาน 506 ของกรมควบคุมโรค โดยที่ประชุมมอบหมายทีมบริการข้อมูลขอคำแนะนำจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา ประมาณ 6 เดือน
Bangkok health connect การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยไปสถานพยาบาลอื่น (e - Referral) OKR กำหนดเชื่อมโยงระบบ e-refer ให้กับคลินิกชุมชนอบอุ่นที่ส่งต่อมาโรงพยาบาลผ่านระบบ e-refer ภายในเดือน ธันวาคม 2566 ด้านการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในโครงการ Health Link มีแผนจะดำเนินการพัฒนาระบบให้ bypass consent ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแบบฉุกเฉินวิกฤต ให้แพทย์สามารถเรียกดูข้อมูลได้ 72 ชม. และลบข้อมูลทิ้ง คาดว่าจะพร้อมใช้งานในช่วงเมษายน 2567 และการขยายผลในเขตกรุงเทพมหานคร สถานพยาบาลในสังกัดภาครัฐของกรุงเทพมหานครทั้งหมด สำหรับของสำนักอนามัยอยู่ระหว่างการดำเนินการ และกำหนดแผนที่จะดำเนินการย้ายคลาวด์ในช่วงเดือนธันวาคม 2566 ส่วนกลุ่มคลินิกชุมชนอบอุ่น อยู่ระหว่างการเสนอคณะอนุกรรมการ มติที่ประชุมรับทราบ