In Thailand

นายกอบต.ตะขบปักธงชัยเทงบฯซื้อโดรน มีไว้ช่วยคนสูญหายในป่าและดูภัยแล้ง



นครราชสีมา-นายกตะขบอำเภอปักธงชัยเผยพื้นที่เขาในตำบลทำคนสูญหายจัดหาโดรนช่วยเหลือคนสูญหายในป่าเขาเพื่อความรวดเร็วในการค้นหาด้านภัยแล้งเตรียมแก้มลิงช่วยชาวบ้าน

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 นายสุรชาติ ปักสำโรง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะขบ เปิดเผยว่า เรื่องของการสูญหายในเขตพื้นที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะพื้นที่ค่อนข้างกว้าง และมีเขาหลายลูก ทำให้คนที่มาหาอาหารป่าก็จะหลงทางเป็นประจำ บางครั้งได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต จากการหลงป่า สาเหตุเกิดจากเครื่องมืออุปกรณ์ในการค้นหาไม่พร้อมทำให้เกิดการล่าช้า กว่าจะเจอก็ใช้เวลาหลายวัน แต่ถ้ามีโดรน ก็อาจจะค้นพบผู้ประสบเหตุได้เร็วขึ้น หากปล่อยให้หลงป่านานก็จะทำให้โอกาสรอดชีวิตน้อยลงเพราะในป่าจะมีสัตว์ป่าหลากหลายพันธุ์ หากมีโดรนเป็นกองตัวเอง ก็จะทำให้การค้นหาง่ายขึ้น ทางอากาศยานไร้คนขับง่ายขึ้น

ทางอบต.มีความมุ่งหวังที่จะมีโดรนสักลำเอาไว้ใช้เช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในยามคับขัน ล่าสุดทางสภาอบต.ได้มีการอนุมัติให้มีการจัดซื้อ เพราะชีวิตคนมันมีความสำคัญไม่สามารถประเมินราคาได้ ในส่วนของโดรนไม่ได้มีเอาไว้ค้นหาอย่างเดียว ในการตำรวจตรวจตราในพื้นที่ ไม่ว่าจะเกิดภัยต่างๆก็สามารถที่จะใช้โดรนได้ทันท่วงที ที่ผ่านมาพบว่าเกิดคนหายและสูญเสียถึงชีวิตจำนวนหลายรายแล้วไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ข้างเคียงอบต.ก็ตาม โดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นข้างเคียงก็สามารถที่จะขอร้องจากอบตเราได้เช่นกัน โดรนที่เรามีการจัดซื้อต้องเป็นโดรนที่สามารถจับความร้อนค้นหาคนได้ 

ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาภัยแล้งต้องมีการตั้งฝ่ายกักเก็บน้ำ ขุดลอกคูคลอง ซึ่งก็ต้องใช้เวลาแต่ก็ไม่ทันท่วงที ต้องประสานหน่วยงานหลายภาคส่วน จึงอยากให้รถขั้นตอนในการประสานลงบ้างเพื่อจะตสะดวกรวดเร็วในการช่วยเหลือชาวบ้าน และการแก้ไขปัญหารวดเร็วยิ่งขึ้น ในส่วนของเขื่อนลำพระเพลิงก็มีน้ำใช้ค่อนข้างที่จำกัด จากการตรวจสอบพบว่าไม่มีน้ำไหลออกมาจากเขาลงอ่างเลย แต่ทางเขื่อนก็ยังมีน้ำกักเก็บ ในส่วนของการใช้น้ำของเกษตรกรเดิมทีเกษตรกรสามารถทำนาได้ 2 รอบต่อปี หลังจากที่มีการเสริมเขื่อนขึ้นมาทำให้สามารถทำนาได้แค่รอบเดียว เพราะน้ำก็จะมีการแบ่งจ่ายไปให้ประปา และโรงงานในพื้นที่ เพราะต้องใช้น้ำค่อนข้างเยอะ จึงอยากเสนอให้ทางผู้ประกอบการน่าจะมีแหล่งน้ำขุดบ่อเป็นของตนเองเพื่อที่ในช่วงหน้าฝนจะได้กักเก็บน้ำไว้ใช้ พอเข้าช่วงฤดูทำนาก็จะไม่กระทบต่อเกษตรกรสามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้งทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 

นายกฤษณธร เลิศสำโรง นายอำเภอปักธงชัย เปิดเผยว่า ในพื้นที่มีทั้งหมด 16 ตำบล  215 หมู่บ้าน มีองค์กรปกครองท้องถิ่น 18 แห่ง ในส่วนปัญหาภายในก็อยู่ในความกังวลของเราสืบเนื่องจากในปีนี้ปริมาณน้ำเขื่อนลำพระเพลิง มีน้ำอยู่เพียง 60% โดยน้ำจะต้องนำไปใช้ในการอุปโภคบริโภค ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่อำเภอปักธงชัยและอำเภอโชคชัยและโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 30 กว่าโรงงานรวมไปถึงประปาส่วนภูมิภาคก็ต้องส่งงานไปช่วยทางอำเภอเมืองด้วยส่งผลให้อัตราการใช้งานค่อนข้างที่จะเยอะ

ในส่วนหมู่บ้านก็มีการสูบน้ำไปกักเก็บไว้ในบ่อเพื่อเอาไว้ใช้ไม่ต่ำกว่า 80% คาดการณ์ว่าในปีนี้อำเภอปักธงชัยไม่น่าจะประสบปัญหาภัยแล้ง หรือการขาดแคลนน้ำหรือถ้าหากถ้ามี ก็อาจจะมีอยู่ 3 หมู่บ้าน ที่อยู่หลังเขื่อนลำพระเพลิง อยู่ในพื้นที่สูง ที่อยู่ใกล้กับป่า จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการใช้รถน้ำวิ่งส่ง ถังน้ำกลางหมู่บ้าน เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ ที่ผ่านมาทางอำเภอก็ได้มีการพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะได้ช่วยเหลือพี่น้องที่ประสบปัญหา ตามนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ว่าพี่น้องประชาชนจะต้องไม่ขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค จากการเข้าไปสำรวจพื้นที่ในการจัดเก็บน้ำประปาในหมู่บ้านเทียบกับความสิ้นเปลืองที่ประชาชนใช้ในแต่ละเดือน จากช่วงเดือนพฤศจิกายนไปถึงเดือนพฤษภาคม 2568 ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องของการขาดแคลนน้ำ 

นอกจากนี้ ยังมีการคิดจะทำโครงการแก้มลิงน้อยเป็นช่วงๆในพื้นที่ ลำน้ำธรรมชาติของอำเภอปักธงชัยคือลำพระเพลิง ปัจจุบันมีฝายของชุมชนขนาดเล็กเมื่อเกิดน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมาเกิดจากการขวางการระบายได้มีการเดินฝายและทำประตูขนาดใหญ่ของกรมชลประทาน รายการทำประตูขนาดใหญ่ช่วงประตูจะอยู่ห่างกันจะมีการเปิดบานน้ำข้างล่างจะทำให้น้ำที่อยู่ในลำพระเพลิงมีปริมาณน้อยมากไม่เกิน 2 เมตรพอถึงฤดูแล้วน้ำเขื่อนมีน้อยทางชลประทานก็ไม่สนอมความต้องการของพี่น้องประชาชนโดยการเปิดน้ำลงมาในรำธรรมชาติได้ทำให้พี่น้องประชาชนไม่มีงานใช้หรือการใช้น้ำเพื่อการเกษตรในการอุปโภคบริโภค ที่เป็นระบบประปา ในการหารือเบื้องต้น จะให้องค์การปกครองท้องถิ่นรับผิดชอบในการ  ในการขุดในรับพระเพลิงบริเวณหน้าฝาย หรือหน้าประตูน้ำของกรมชลประทาน ห่างออกมาซัก 30 เมตรขุดลึกลงไปสัก 3-4 เมตรท้องร่องกว้างเท่ากับลำธรรมชาติ ขุดเป็นช่วงๆที่มีชาวบ้านอยู่ดักระยะทาง 200 - 300 เมตร เหมือนกับสระน้ำที่อยู่ในลำน้ำ เหมือนกับว่าเพิ่มพื้นที่ในการกักเก็บน้ำ หากไปกดในพื้นที่ด้านนอกก็ไม่มีพื้นที่กดหรือกดก็ไม่เจอพื้นที่น้ำที่ต้องการ เชื่อว่าเป็นแนวคิดที่จะสามารถช่วยประชาชนในระยะยาวได้

ณัฐพงศ์ อรชร/ข่าวนครราชสีมา