EDU Research & Innovation

ถกเสวนา'AIกับการศึกษาไทย'ยังไกลฝัน ระบบล่าหลังไม่ทันโลกชี้5ปีสนใจหมื่นคน



กรุงเทพฯ-มจพ.จับมือสมาคมสื่อมวลชนไทย-จีนจัดเสวนา 'ปฏิรูปการศึกษาไทยต้องAI นำให้ทันโลก' เปิดแนวคิด3กูรูชั้นนำทางการศึกษาสมัยใหม่ที่มีAI นำทาง "ดร.อรรถกร"ยันAIคือคณิตศาสตร์แต่การศึกษาไทยยังสอนแบบเก่าไม่ทันการเปลี่ยนแปลง นักศึกษาจบมาเล่นAIได้แต่พัฒนาไม่เป็น  ขณะที่ศ.ดร.ปณิตา แยกคนไทยเป็นสี่เหล่าที่จะเข้าถึงAI มีทั้งกลุ่มนำสมัยใช้AIในชีวิต กลุ่มพร้อมเปิดรับAI กลุ่มคนเก่งแต่ต่อต้านAI และกลุ่มบัวใต้น้ำเและดร.เทพชัย ยันเน็ตเทคศึกษาAI มา20ปีแล้วเปิดหลักสูตรปั้นมนุษย์Super AI รุ่นที่5 มีผู้สนใจเป็นหมื่น พร้อมหนุนมหาวิทยาลัยในเครือข่ายเป็นโค๊ตสอนให้กับนักศึกษาในส่วนกลางและภูมิภาคเพื่อสร้างความเท่าเทียม

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมกับ สมาคมสื่อมวลชนไทย-จีน จัดการเสวนาเรื่อง “ปฏิรูปการศึกษาไทย ต้องAIนำให้ทันโลก” ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ มจพ.โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์(AI) ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.อรรถกร เก่งพล กรรมการสภามหาวิทยาลัยมจพ.ศาสตราจารย์ ดร.ปณิตา วรรณพิรุณหัวหน้าศูนย์วิจัยการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี  สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มจพ.  และประธาน IEEE Education Chapter Thailandดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ  ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC)   สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

AIคือคณิตศาสตร์/จะรู้ด้านAIต้องมีMindset

ศ.ดร.อรรถกร กล่าวว่า ถ้าพูดถึงการศึกษาไทยกับAI เราต้องพัฒนาอีกพักหนึ่ง การปฏิรูปการศึกษาของเราจะเกี่ยวกับผู้สอน คนสอน ผู้เรียน ผู้ใช้งานเท่านั้น ดังนั้น คนเรียนจบจะได้ยินข่าวตลอดว่า ตกงานๆ  เพราะคนเหล่านั้นไม่สามารถนำAI มาใช้งานได้เลยหางานไม่ได้ ปัจจุบันไม่สามารถนำAI มาใช้ได้ ก็คงหางานยาก

AI เราพูดถึงยูเซอร์หลักๆ เลยข้างในของ AI มันคือคณิตศาสตร์ที่มีมากมาย แต่เรายังไม่ได้เอามาสอนในระดับประถม มัธยม และในระดับปริญญาตรีก็น้อยที่นำมาสอน อย่างเช่น จบม.6มาเข้ามหาวิทยาลัยสายวิทย์ เราต้องมาเรียนคณิตศาสตร์ แต่ปรากฎว่าคณิตศาสตร์ที่เราเรียนส่วนใหญ่เป็นคณิตศาสตร์สมัยเก่า ไม่ใช่คณิตศาสตร์สมัยใหม่ ในช่วง15ปีที่ผ่านมาคณิตศาสตร์มีพัฒนาการที่เยอะมาก แต่เรายังเรียนคณิตศาสตร์สมัยเก่า ซึ่งไม่ใช่คณิตศาสตร์AI ซึ่งมีอยู่มากมาย เป็นคนละแบบกัน ไม่คอยมีเรียนในปี2 ปี3 ปี4 ทำให้ผู้เรียนจบสามารถเป็นยูเซอร์ได้ แต่จะไปพัฒนาอะไรก็ไม่มีความรู้พื้นฐาน

AI ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่พูดถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเราจะให้สร้าง(Generate)ภาพ เรื่องราวได้ แต่ความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ เราจะรับได้เพราะใช้เอง แต่ถ้าเป็นงานมือชีพ ผู้ใช้หรือผู้วิเคราะห์ต้องมีใบอนุญาต จะไม่สามารถใช้ได้ แต่ถ้าเรามีฐานข้อมูลเก็บไว้เยอะแล้วนำ AI มาช่วยวิเคราะห์ว่า อะไรถูกอะไรผิด อะไรเปลี่ยนแปลงพอทำได้ แต่ถ้าเกิดเป็นข้อมูลไดนามิค เป็นมืออาชีพใช้ไม่ได้ แต่ถ้าไม่ใช้งานมืออาชีพ เช่น สร้างคอนเทรนด์ของคลีเอทีฟ คอนเซ็ป เป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สามารถสร้างหรือGenereteได้แน่นอนออกมาสวยงาม

ปัจจุบันถ้าจะGenerate AI ที่เป็นภาษาไทยไม่เกิน2ยี่ห้อถือว่าน้อยมาก และที่เล่ามานี้ การใช้ยูเซอร์ใช้AI ต้องใช้ให้เป็น ในระดับมหาวิทยาลัย เช่นการเซ็ตนโยบาย ก็ทำได้แต่ไม่ดีนัก เช่นอยากจะทำกิจกรรมทั้งปีของทุกคณะซึ่งมาก และAI สามารถGenerat ออกมาได้เลย แต่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเราต้องเช็ค โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องเงิน เรื่องคนเราจะทำอย่างไร AI ถ้ามีความแม่นยำจริง ตลาดหุ้นมีคนนำไปใช้เยอะแยะ และกล้าลงทุน ถ้าAI ทราบไหมว่า หุ้นตกต่ำกว่า 1.1พันจุด ถ้าข้อมูลไดนามิกอย่างนี้ มันไม่ทราบ ถ้ากับหอบังคับการบิน เครื่องบินมาทางซ้าย ทางขวาแบบนี้ มันก็ทำไม่ได้

เรื่องนี้เราต้องสร้างให้นักศึกษาเรามีรู้จักพัฒนาตัวเองให้ความสามารถสูงขึ้น แต่นักศึกษาอย่างเดียวก็คงไม่ได้ ต้องให้อาจารย์ผู้สอนปรับตัวด้วย ไม่ใช่ต้องการให้นักเรียนเก่ง แต่อาจารย์เองยังไม่ทราบเลยคณิตศาสตร์AI คืออะไร ที่นักเรียนจีนเขาพัฒนา ผมก็มีโอกาส สอนอยู่เรื่อยๆ รัฐบาลจีนเขาพยายามปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้มีAI เข้ามาตั้งแต่เด็กๆ เลย โดยการปรับตัวผู้สอนก่อนเพื่อให้มีความรู้ อย่างเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว ที่ผมเรียนอยู่เมืองนอก นโยบายไทยส่งอาจารย์ไปต่อปริญญาเอกปีละ 5พันคน แต่ที่มาเลเซียส่งจำนวนเท่ากัน แต่เขาส่งตั้งแต่ครูอนุบาลจนถึงอาจารย์ปริญญาเอก ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนของเขาจะถูกนำมาพัฒนาตั้งแต่อนุบาล นี้ความความแตกต่างวิธีการปฏิรูปการศึกษาของต่างประเทศ เราจะเห็นแบบนี้ที่ประเทศจีนด้วย ส่วนประเทศไทยของเรา ยังไม่คิดแบบนั้น ยังคงเน้นอาจารย์ที่สอนปริญญามากกว่า ตามความคิดตนแล้ว คิดว่าควรเน้นตั้งแต่ผู้สอนอนุบาลขึ้นมาเลย เราจะได้เป็นมายเซ็ตสมัยใหม่

วิธีการสอนก็ควรจะเปลี่ยน เพราะปัจจุบันล่าสมัยมาก การเรียนสมัยใหม่ควรให้นักศึกษา ทำการศึกษาค้นคว้าก่อนจะเดินเข้ามาในห้องเรียน คอนเทรนด์การสอนยังคงไว้ แต่รูปแบบการสอนควรเปลี่ยน เพราะรูปแบบการสอนของเราห่างไกลจะรูปแบบสมัยใหม่อยู่มากทั้งยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ถ้าเราดูของประเทศจีน เขาเปลี่ยนไปมาก เขาจะสร้างให้นักเรียนมีความฝันตั้งแต่มัธยม เมื่อเข้ามหาวิทยาลัยเขาจะมาเติมเต็มความฝัน ภาควิชาไหน คณะไหน ที่จะพาเขาไปถึงจุดที่ฝันไว้ มันต้องเป็นแบบนั้นประเทศจึงจะพัฒนา นักเรียนต้องเก่งกว่าอาจารย์แบบนี้ประเทศจึงจะพัฒนา

มนุษย์4กลุ่มที่เป็นตัวเลือกสู่AIในปี2025

ศ.ดร.ปณิตา กล่าวว่า ปี 2025 คือยุคของปัญญาประดิษฐ์ คนใช้ชีวิตร่วมกับAIวันนี้อยากรู้อะไรภายใต้เวลาไม่กี่วินาทีAIก็บอกได้  เราจึงต้องรู้และเข้าใจAI  ในมิติการมองมนุษย์ในปี 2025 จะแบ่งมนุษย์ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.Smart Cyborgคนเก่งใช้ AI เป็น มีความเชี่ยวชาญในสิ่งที่ทำอยู่แล้ว  เอาAIมาช่วยขยายศักยภาพเหมือนติดสปริงบอร์ด 2.Smart User คนระดับกลางๆ  ไม่เชี่ยวชาญแต่พอใช้AI เป็น  ทำให้ขยายศักยภาพได้ 3.Smart Human คนเก่งไม่ใช้AI อาจจะต่อต้านAI หรือใช้ไม่เป็นคนกลุ่มนี้จะเหนื่อยเพราะใช้พลังของตนเองคนเดียวในการทำงานขณะที่เพื่อนๆมีตัวช่วยเสริมพลัง4.Human คนปกติ ไม่เชี่ยวชาญอะไรมาก ใช้AIไม่เป็น  กลุ่มนี้จะเหนื่อยสุดๆ

เมื่อก่อนเราอาจจะแบ่งคนตาม Generation แต่วันนี้คนทุกรุ่นจะถูกหลอมรวมกันด้วย AI ประชากรกลุ่มนี้จะไม่แยกเชื้อชาติ  ทุกคนเป็นพลเมืองของโลกดิจิทัล  ประเทศไทยเคยตั้งเป้าหมายการพัฒนาจากยุค IT 2010 สู่ยุค ICT 2020 จากสังคมอุดมความรู้เป็น Smart Thailand  มาถึงปัจจุบันยุทธศาสตร์ชาติใช้ AI for All ขับเคลื่อนประเทศด้วยปัญญาประดิษฐ์ 

World Economic Forum ประกาศว่าทักษะแรงงานที่ต้องการในปี 2025 คือทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์และการจัดการาข้อมูลขนาดใหญ่

คนทุกคนมีความเก่งในตัวเอง  มีความแตกต่างระหว่างบุคคล  แต่ละคนสามารถใช้AIขยายศักยภาพได้ตามที่ต้องการ  แต่ก็ต้องการความเสมอภาคด้านโครงสร้างพื้นฐาน  สร้างให้มีก่อน  เมื่อมีแล้วต้องส่งเสริมการเข้าถึง  ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ใช้แก้ปัญหาได้  สร้างนวัตกรรมได้

AIช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา

ดร.เทพชัยกล่าวว่า เมื่อก่อนAIเหมือนศาสตร์ในอนาคต  เน็คเทคเอาAIมาประยุกต์การศึกษา การเข้าใจนักเรียน เช่นการเรียนออนไลน์   มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับAI มา20ปีที่แล้ว AI ที่เราทำเป็นAI ที่เข้าใจสื่อ เข้าใจภาพและเสียง ซึ่งปัจจุบันก็มีการนำมาใช้มากมาย ณ ปัจจุบันที่ผ่านมาเราใช้กันมากขึ้นเรื่อยๆเน็คเทค ก็นำมาประยุกต์ในด้านการศึกษาในแง่ของความเข้าใจ นำไปใช้เชิงวิเคราะห์ว่าเรียนมีความรู้อย่างไรบ้าง มาสร้างอุปกรณ์ เนื่องจากปัจจุบันการเรียนการสอนจะเน้นกิจกรรมมากกว่า ให้รู้ว่าเป็นทำอะไรบ้าง เข้าใจอะไรบ้าง เพื่อเป็นโจทย์ให้ผู้สอน การทำAI เราต้องการให้เข้าใจด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น เพื่อให้มาเรียนรู้ในการเขียนโปรแกรม และจะเอาอุปกรณ์นี้ไปประยุกต์ใช้กระจายตามโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศไทย

ปัจจุบันนี้ในเรื่องของAI ที่เรานำมาใช้กันมากอีกอันหนึ่งที่เรียกกันว่า เทคโนโลยี AI Chatbot ให้สวท.ออกแบบให้เป็นบทเรียนเพื่อไปใช้ในห้องเรียน เริ่มมีAI เข้ามาเราก็ปรับใช้เอาเอกสารเข้าไป

อีกงานของเน็คเทคคือการพัฒนากำลังคนทางด้านAI เป็นโครงการซุปเปอร์เอไอเอนจิเนียร์ สร้างเอนจิเนียร์พัฒนาสัก 100-150 ปัจจุบันผลิตได้500คนออกไปสู่ตลาด การเรียนจะรวมตัวกันแก้โจทย์ปัญหา วิจัยบ้าง จากเอกชนบ้างเพื่อสำรองในการพัฒนา เราพบว่า คนให้ความสนใจมาก เมื่อ5ปีที่แล้วไม่กี่คน แต่ในปีที่2 จาก2,000คนเป็น5,000คน และปีที่ 3-4-5 มากันเป็นหมื่นแสดงว่าคนให้ความสนใจ ผู้สนใจมีทั้งแต่อายุ13-14และล่าสุด80ก็มีอยากมาเรียนAI แต่ไม่รู้AI

AIเปิดโอกาสการเรียนรู้มากขึ้นช่วยลดความเหลื่อมล้ำแต่อาจมีปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานAI เป็นข้อจำกัดระหว่างสถานศึกษาในเมืองใหญ่กับชนบทที่ห่างไกล  แต่อีกด้านหนึ่งAIช่วยให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น  อย่างไรก็ตามในวัฒนธรรมไทยเด็กจะไม่ค่อยตั้งคำถามกับผู้ใหญ่  นักเรียนไทยไม่ตั้งคำถามกับครู  แต่การใช้AIต้องตั้งคำถามหรือเขียนPrompt ให้เป็นหรือเก่งจึงจะได้คำตอบที่ดี  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างทักษะแก่นักเรียนไทยที่เหมาะกับการใช้AI