Authority & Harm

วงการกฎหมาย-โบราณคดีช๊อคไพบูลย์ พวงสำลี ถูกไฟช๊อตดับคาบ้านพัก



นครปฐม  - สิ้นทนายไพบูลย์ นักกฎหมาย ปราชญ์ท้องถิ่นด้านโบราณคดี คนสำคัญ ถูกไฟฟ้าช๊อตในบ้านพัก โดยทิ้งผลงานเก็บข้อมูล ค้นคว้าอาณาจักรโบราณคดี ยุคทวารวดี นครปฐมเพียบ

สิ้นทนายไพบูลย์ นักกฎหมาย ปราชญ์ท้องถิ่นด้านโบราณคดี คนสำคัญของจังหวัดนครปฐม โดยน้องสาวพบศพเสียชีวิตถูกไฟฟ้าช๊อตในบ้านพัก โดยทิ้งผลงานการเก็บข้อมูลหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเตรียมทำคลิบเผยแพร่แบบออนไลน์จากประสบการณ์ การค้นคว้าในยุคทวารวดีในพื้นที่จังหวัดนครปฐมที่พบหลักฐานมากมายเพื่อให้คนรุ่นหลังได้นำไปศึกษา แต่มาจบชีวิตแบบช๊อควงการไปเสียก่อน

วันนี้ 1 ตุลาคม 64 วงการทนายความ นักโบราณคดี ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม สูญเสียครั้งสำคัญ หลังจาก นายไพบูลย์ พวงสำลี อายุ 62 ปี ประธานกลุ่มศรีทวารวดี และอดีตที่ปรึกษาและกรรมการเครือข่ายมรดกทางวัฒนธรรม เขตพื้นที่ 2 สุพรรณบุรี ได้เสียชีวิตลงจากเหตุการณ์ถูกไฟฟ้าช๊อต ขณะกำลังเตรียมพื้นที่จัดสวนที่บ้านพักในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยถือเป็นการสูญเสียบุคคลในวงการทนายความและวงการนักโบราณคดีของจังหวัดนครปฐม ซึ่งกำลังรวบรวมข้อมูลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในจังหวัดนครปฐม เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับคนรุ่นหลังต่อไป

โดยเหตุการณ์ ดังกล่าวเกิดขึ้นวันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 10.00 น. พ.ต.ท.ปาณย์ศิริ ศรีสวัสดิ์ พนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครปฐม ได้รับแจ้งมีผู้ถูกไฟฟ้าช๊อตในบ้านพักเลขที่ 114 ถ.ถวิลราษฎรบูรณะ ต.บ่อพลับ อ.เมือง จ.นครปฐม โดยในที่เกิดเหตุพบศพนายไพบูลย์ พวงสำลี นอนเสียชีวิตข้างบ่อน้ำ ซึ่งมีเครื่องเจาะปูนแบเหล็กเสียบปลั๊กตกอยู่ในบ่อน้ำ คาดว่าจะเสียชีวิตรา 1 ชั่วโมงก่อนมาพบศพ โดยได้ส่งศพไปผ่าชันสูตรยืนยันผลว่าถูกไฟฟ้าช๊อตจนเสียชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ก่อนหน้า น้องสาวให้การว่า ช่วงเวลาประมาณ 10.00 น. วันดังกล่าวขณะกำลังขับรถจะออกจากบ้านพัก ได้เหลือบไปเห็นร่างของนายไพบูลย์ นอนคว่ำหน้าจึงได้วิ่งไปดูและให้คนในบ้านถอดปลั๊กไฟฟ้าที่เสียบกับเครื่องเจาะปูนอกและจับทำการปั๊มหัวใจ โดยพบว่าที่มือมีร่องรอยไหม้ ที่ลำตัวมีแผลจากการถูกไฟฟ้าช๊อตเป็นเวลานานแต่พบว่าหัวใจหยุดเต้นไปแล้ว

สำหรับการเสียชีวิตของ นายไพบูลย์ พวงสำลี นับว่าเป็นการการสูญเสียบุคคลที่สำคัญคนหนึ่งในจังหวัดนครปฐม เพราะนอกจากจะเป็นทนายความที่มีความสามารถแล้ว ยังเป็นคนที่มีความชื่นชอบในประวัติศาสตร์ของจังหวัดนครปฐม จึงได้ตั้งกลุ่มปกลุ่มศรีทวารวดี โดยนั่งเป็นประธานกลุ่ม และยังเคยได้นั่งในตำแหน่งที่ปรึกษาและกรรมการเครือข่ายมรดกทางวัฒนธรรม เขตพื้นที่ 2 สุพรรณบุรี ซึ่งได้เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ ย้อนหลังกลับไปถึงยุคอาณาจักรทวารวดี ซึ่งเชื่อว่าจังหวัดนครปฐมเป็นศูนย์กลางใหญ่และเป็นแหล่แรกที่ก่อกำเนิดพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ซึ่งนายไพบูลย์ ได้เข้าศึกษาข้อมูลจากตำราของนักวิชาการหลายท่าน รวมถึงลงพื้นที่เพื่อสำรวจหาแหล่งข้อมูลหลายแห่งจนพบวัตถุโบราณ มากมายซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญหลายชิ้น

นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่สำรวจและยืนยันให้มีการชี้จุดที่ตั้งของพระราชวงปฐมนคร ที่ถูกฝังตัวอยู่ในพื้นดินกว่า 2 เมตร ซึ่งเป็นสถานที่โบราณที่สำคัญเนื่องจากเป็นสถานที่ที่สันนิษฐานว่าสร้างราว พ.ศ. 2396 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงเคยใช้เป็นพระตำหนักพักแรม เมื่อครั้งทรงเดินทางมาสักการะพระปฐมเจดีย์ รวมทั้งเมื่อครั้งบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ ก่อนจะมีความยิ่งใหญ่ งดงามดังปัจจุบัน

โดยเมื่อ ปี พ.ศ. 2558 นายไพบูลย์ ยังเป็นผู้ที่ค้นพบซากเรือโบราณของชาวอาหรับ ที่จมอยู่ในก้นของบึงกุ่ม บึงบางช้าง มีอายุไม่น้อยกว่า 1 พันปี โดยเป็นหลักฐานสำคัญโดยถือข้อมูลใหม่ ตอกย้ำประวัติศาสตร์อาณาจักรทวารวดี เจริญรุ่งเรือง เชื่อมโยงตะวันออกกลาง และเป็นเรือโบราณแบบเดียวกับที่มีการขุดพบที่จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งนายไพบูลย์ เชื่อว่าเป็นแห่งน้ำหรือท่าเรือที่ชาวอาหรับมาถ่ายเทสินค้าเพื่อค้าขายจากตะวันออกกลางและพื้นที่จังหวัดนครปฐม โดยได้ประสานกับเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรให้มาสำรวจไปแล้วครั้งหนึ่ง

สำหรับ นายไพบูลย์ พวงลำสี เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2502 อายุขณะมีชีวิต 62 ปี เป็นชาวจังหวัดนครปฐมโดยกำเนิด จบการศึกษาด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และประกอบอาชีพทนายความ พร้อมกับศึกษาค้นคว้าวิจัยงานในด้านโบราณคดีโดยเฉพาะในอาณาจักรทวารวดี ซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน โดยเป็นนักอนุรักษ์และต่อสู้เพื่อปกป้องโบราณสถานในเหตุการณ์สำคัญหลายครั้ง เช่นการคัดสร้างห้างสรรพสินค้า บริเวณทุ่งพระเมรุ สถานที่โบราณริมถนนเพชรเกษม รวมถึงเมื่อ ปี พ.ศ.2558 ได้เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่มีข้อมูลการย้ายพิพิธภัณฑสถานของจังหวัดนครปฐม ไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี  และเป็นประเด็นใหญ่ระดับชาติ ที่มีทั้งประชาชนและนักการเมือง ออกมาร่วมแสดงจุดยืนกับชาวนครปฐม กระทั่งยุติเรื่องดังกล่าวลงได้

การสูญเสีย ทนายไพบูลย์ นอกจากจะเป็นสูญเสียบุคคลที่มีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ ซึ่งก่อหน้าราว 1 เดือน ได้มีการเตรียมจัดทำข้อมูลหลักฐานภาพถ่ายและข้อเขียนจากทนายคนดังกล่าวเป็นคลิปวีดิโอ เพื่อเผยแพร่ทางแฟลตฟอร์มต่างๆ เพื่อให้เป็นข้อมูลที่สำคัญให้กับประชาชนได้นำไปศึกษาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ และล่าสุดได้เตรียมทำการศึกษาต่อยอด การค้นพบพระพุทธรูป สมัยทวารวดี ซึ่งถูกขุดพบในพื้นที่การก่อสร้างรางรถไฟแบบรางคู่ ติดกับวัดพระงามพระอารามหลวง เขตอำเภอเมืองนครปฐม แต่มาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตลงเสียก่อน

สำหรับพิธีการจัดงาน ทางญาติได้ จัดให้มีการสวดพระอภิธรรมที่บ้านพัก ในเขตตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน ถึงวันที่ 3 ตุลาคม ก่อนจะมีการฌาปนกิจศพ ที่วัดห้วยจระเข้ วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 64 เวลา 16.30 น. ที่จะถึงนี้