In Thailand
สมาชิกวุฒิสภาออกพบปชช.-ขรก.แปดริ้ว ติดตามงานยุทธศาสตร์ปฏิรูปปท.
ฉะเชิงเทรา - สมาชิกวุฒิสภา ลงพื้นพบประชาชน และส่วนราชการในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศที่ดำเนินการสำเร็จในปี 2564
วันนี้ 26 ต.ค.2564 เวลา 08.30 น. คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน คณะที่ 1 นำโดย พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง พร้อมด้วยคณะสมาชิกวุฒิสภาในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก ลงพื้นที่ พบประชาชนและส่วนราชการในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศที่ดำเนินการสำเร็จในปี 2564 พร้อมติดตามการดำเนินงานโครงการ “ตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” และการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ (Smart city) ของจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ พร้อมลงพื้นที่เยี่ยม เยียนประชาชนผู้สูงอายุ และผู้พิการที่เคยเป็นกลุ่มผู้เปราะบาง แต่ได้รับการส่งเสริมอาชีพจนสามารถ มีรายได้เลี้ยงตนเองได้พร้อมทั้งมอบถุงยังชีพให้กับประ ชาชนเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ณ วัดทองนพ คุณ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีนายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ หลังจาก นั้นเวลา 15.30 น.
นายณรงค์ รัตนานุกูล สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า คณะฯ ได้มาติดตามการดำเนินงาน เพื่อเติมเต็มช่องว่างระหว่างประชาชน และส่วนอื่นๆเพื่อเข้ามารับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ ซึ่งโครงพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล " เป็นโครงการที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นโครง การของในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชกาลที่ 10 ได้ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด ทางรัฐบาลมาเสริมรับและส่งเสริมประชาชนในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทราพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตร แต่ GDP จะสูงด้าน อุตสาหกรรม จะทำอย่างไรให้เกษตรกรมีการพัฒนาเพิ่มผลผลิต สามารถมีรายได้ที่สูงจากการทำการเกษตร "โคก หนอง นา โมเดล" จึงเป็นต้นแบบเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มาเรียนรู้ นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ขอชื่นชมในความมุมานะของเจ้าของแปลงที่ทำจนเป็นต้นแบบให้กับเพื่อนบ้าน พี่น้องประชาชาชนในพื้นที่
นายชลทร คนชม ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้บรรยายสรุปผลการดำเนินงาน ผ่านโมเดล 3 มิติ “โคก หนอง นา โมเดล” โดยกล่าวว่า ได้เข้าร่วมโครงการฯและมีความคาดหวังว่าอยากสร้างพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) ระดับตำบล เพื่อให้คนในชุมชนได้มาเรียนรู้และใช้ประโยชน์ร่วมกันในพื้นที่ ซึ่งภายในศูนย์เรียนรู้ประกอบไปด้วยฐานเรียนรู้จำนวน 9 ฐานการเรียนรู้ คือ 1.ฐานเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ 2.ฐานเรียนรู้คนรักษ์แม่ธรณี 3.ฐานเรียนรู้คนรักษ์น้ำ 4.ฐานเรียนรู้คนมีไฟ 5.ฐานเรียนรู้คนเอาถ่าน 6.ฐานเรียนรู้คนรักษ์แม่โพสพ 7.ฐานคนรักษ์สุขภาพ 8.ฐานเรียนรู้คนหัวเห็ด 9.ฐานเรียนรู้คันนาทองคำ และยังได้รับการสนับสนุนครุภัณฑ์จากกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 6 รายการ คือ (1) เครื่องสกัดน้ำมันจากพืช Bio diesel (2) เครื่องผสมอาหารสัตว์ DC Motor 3 HP (3) เครื่องสับย่อยอาหารสัตว์ และกิ่งไม้ (4) เครื่องบรรจุกระป๋อง (5) เครื่องขึ้นรูปภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ (6) เครื่องบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศใช้พลังงาน Solar cell. ต่อไปภายในศูนย์เรียนรู้จะมีการติดตั้งระบบ Solar cell เพื่อเป็นระบบในการรดน้ำ จะพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยว และสถานที่พักผ่อนของคนที่มาเยี่ยมเยือน หลังจากนั้นคณะฯ และผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมกันปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 7 ต้น ไม้ยืนต้น จำนวน 70 ต้น และเดินเยี่ยมกิจกรรมภาย ในศูนย์เรียนรู้ผลิตภันฑ์ จากแปลงครัวต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่มาร่วมจัดแสดง
ผลิตภัณฑ์ชุมชนข้าวหอมมะลิ ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอรี่ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวซ้อมมือ ม.4 ต.บางคา อ.ราชสาส์น. มะม่วงแช่อิ่ม มะพร้าว จาก ม.1 ต.ดงน้อย อ.ราชสาส์น ผักปลอดสาร จาก ม.3 ต.บางคา อ.ราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โครง การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ "โคกหนอง นา โมเดล" เป็นเงิน 19,668,710 บาท (สิบเก้าล้านหกแสนหกหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยสิบบาทถ้วน) ดำเนินการในพื้นที่ 7 อำเภอ 18 ตำบล 97 ครัวเรือน/แปลง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล ด้วยการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับตำบล และระดับครัวเรือน และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐ กิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร แรงงาน และบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)
สำหรับอำเภอราชสาส์น มีเป้าหมายดำเนินการ จำนวน 9 แปลง ดังนี้
ขนาด 1 ไร่ จำนวน 3 แปลง
ขนาด 3 ไร่ จำนวน 4 แปลง
ขนาด 15 ไร่ จำนวน 2 แปลง (หน่วยบัญชาการกองทัพไทยเป็นหน่วยดำเนินการขุดปรับพื้นที่)
นาวิน