In Global

วิเคราะห์ :ทิศทางสัมพันธ์การค้าจีน-สหรัฐ เริ่มเห็นแสงหว่างที่ปลายอุโมงค์



จีนบทวิเคราะห์ : ทิศทางความสัมพันธ์การค้าจีน-อเมริกา ผ่านการเจรจาอย่างสร้างสรรค์ เริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ 

ช่วงเช้าของวันที่ 26 ตุลาคม 2564 หลิว เห้อ รองนายกรัฐมนตรีจีน สมาชิกคณะกรรมการกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายจีนของคณะเจรจาด้านเศรษฐกิจจีน-สหรัฐ ได้เจรจาทางวิดีโอคอลกับ Janet Yellen รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เพื่อเจรจากันในประเด็นเศรษฐกิจระดับมหภาคของทั้งสองประเทศ และความร่วมมือทั้งระดับทวิภาคี จีน-สหรัฐฯ และพหุภาคี  จีน-สหรัฐฯ และโลก

โดยก่อนหน้านี้ ในวันที่ 9 ตุลาคม 2564 หลิว เห้อ ได้วิดีโอคอลกับ Katherine Tai ตัวแทนการค้าของสหรัฐฯอเมริกา เกี่ยวกับประเด็นการค้าระหว่างสองประเทศเช่นกัน โดยทางฝ่ายจีนยังคงสนทนาบนพื้นฐานของ “เชิงปฏิบัติ” แบบตรงไปตรงมา และสร้างสรรค์ 

การแก้ปัญหาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ถือเป็นงานที่ยากลำบาก  โดยเฉพาะความรุนแรงของสงครามการค้าที่เริ่มโดยสหรัฐฯ กับจีน ตั้งแต่ปี 2018 ตลอดระยะเวลา 3 ปีนับแต่นั้นเป็นต้นมา มีการเจรจาทางเศรษฐกิจและการค้าระดับสูงระหว่างจีน-สหรัฐฯ จำนวน 13 ครั้ง  โดยวันที่ 15 มกราคม 2020 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเฟสแรก และสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่าอาจเป็น "วันที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การค้า"

นับเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดในการหาทางออกด้วยการพูดคุย โดยการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ มีการเจรจาพูดคุยกันอยู่หลายครั้ง ซึ่งกระบวนการและผลลัพธ์นี้ส่งผลต่อผลประโยชน์ของกันและกันระหว่างจีน-สหรัฐฯ และแม้กระทั่งผลประโยชน์ร่วมกันของทุกประเทศในโลก

ณ ขณะนี้ ผลกระทบของการระบาดโควิด-19 ยังไม่สิ้นสุด และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงเวลาวิกฤติ สิ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้คือการทำงานอย่างหนักเพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถผ่านพ้นช่วงวิกฤตินี้ไปได้ เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาทดสอบความสามารถของแต่ละประเทศในการปรับตัวและรับมือสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมมือกันระหว่างประเทศ นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับจีนและสหรัฐอเมริกาในการเสริมสร้างการสื่อสารและการประสานงานด้านนโยบายระดับมหภาค  ซึ่งทั้งสองประเทศจำเป็นต้องยึดมั่นในความเท่าเทียมและเคารพซึ่งกันและกัน จึงจะสามารถสื่อสารและการประสานงานที่มีความหมายได้อย่างแท้จริง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าที่ดี โดยส่งผลโดยตรงกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกด้วย

จีนได้แสดงความกังวลซ้ำแล้วซ้ำเล่าเกี่ยวกับการยกเลิกภาษีและการคว่ำบาตรหลายระลอกของสหรัฐฯ และการปฏิบัติต่อบริษัทจีนอย่างไม่เป็นธรรม โดยได้ชี้แจงจุดยืนเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและนโยบายอุตสาหกรรมของจีน เมื่อจีนเข้าสู่ขั้นตอนใหม่ของการพัฒนา จีนก็มีความมั่นใจ มีความสามารถ และสามารถปกป้องสิทธิและผลประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของวิสาหกิจจีนได้

ปัจจุบันนโยบายการค้าของสหรัฐฯ กับจีน ทำให้เกิดการเชื่อมโยงใหม่อีกครั้ง โดยสหรัฐฯ ประกาศเปิดตัว "การยกเว้นภาษีเป้าหมาย" ในปีนี้ โดยให้การยกเว้น "เป็นกรณี ๆ ไป" สำหรับบริษัทสหรัฐฯ ที่ไม่มีโซลูชันการจัดหาทางเลือกทางการค้าแบบอื่น นอกเหนือจากจีน คือกล่าวโดยสรุปก็คือ หากบริษัทสหรัฐฯบริษัทใดจำเป็นต้องทำการค้ากับจีน ก็สามารถยกเว้นภาษีได้ อย่างไรก็ตาม นโยบายของอเมริกาค่อนข้างน่าสับสนอยู่ไม่น้อย ในแง่ของนโยบายที่มีทั้งจะเชื่อมโยงกับจีน และกีดกันจีน นักการเมืองอเมริกันบางคนถึงกับสับสนในประเด็นนี้ 

อย่างไรก็ตาม ผลจากการโหวตโดยผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศนั้น ทำให้เห็น"สายสัมพันธ์" ที่มั่นคงเสมอมาของธุรกิจ-ผู้ประกอบการสองประเทศ โดยในช่วงสามไตรมาสแรกของปีนี้ จีนนำเข้า 8.52 แสนล้านหยวน จากสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้น 32.6% อ้างอิงจากการสำรวจล่าสุดโดยคณะกรรมาธิการการค้าแห่งชาติสหรัฐฯ-จีนและหอการค้าอเมริกันในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งตอกย้ำว่าผู้ประกอบการชาวอเมริกันมี ความมั่นใจสูงในการทำธุรกิจกับจีน
.
ทั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นของสถานการณ์การค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ รวมถึงเรื่องราวในอดีต-ทางประวัติศาสตร์ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การเจรจาเชิงสร้างสรรค์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาเอื้อต่อการกำหนดทิศทางของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าทวิภาคี และเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศและโลก
-----------------------------------------
แหล่งข้อมูล:
https://opinion.huanqiu.com/article/45KSoke5qVU 
https://content-static.cctvnews.cctv.com/snow-book/index.html?item_id=9353148703301580992&fbclid=IwAR0lXexeMluVqGywpIYm-ooyZuMKvHGrAsivJJ2ERy-4lcNvabTs_pa4new
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=367916528410234&id=117547923447097
#จีน #อเมริกา #สหรัฐอเมริกา #สหรัฐฯ #การค้า #เศรษฐกิจ #ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ #ภาษี #นำเข้า #ส่งออก #CCTV #CGTN #CMG