Travel Sport & Soft Power

เปิดแล้ว!ตลาดนัดสีเขียวของมหาสารคาม ขายพืชผักอาหารปลอดภัยกระตุ้นศก.



 มหาสารคาม-เปิดตลาดนัดสีเขียว (Green Market) จำหน่ายพืชผักอาหารปลอดภัย กระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ระดับชุมชน มีกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการตลาดนัดสีเขียวองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม (Green Market) จำนวน 25 กลุ่ม และเครือข่ายองค์กรภาคีในจังหวัดมหาสารคาม

เมื่อ 2 ธ.ค.64วลา 13.00 น. ที่บริเวณด้านหน้าอุทยานการเรียนรู้มหาสารคาม อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา เป็นประธานเปิดตลาดนัดสีเขียวองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม (Green Market) โดยมี นายศุภชัย สมเจริญ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 พร้อมด้วย คณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายธัญญวัฒน์ ชาญพินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม คณะผู้บริหารท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วม และดร.คมคาย อุดรพิมพ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ

สำหรับตลาดนัดสีเขียวองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม (Green Market) มีกำหนดเปิดให้บริการขายสินค้า ทุกวันพุธของสัปดาห์ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณลานด้านหน้าอุทยานการเรียนรู้มหาสารคาม ซึ่งมีกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการตลาดนัดสีเขียวองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม (Green Market) จำนวน 25 กลุ่ม และเครือข่ายองค์กรภาคีในจังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ สภาเกษตรกรจังหวัด สภาฮักแพงเพิ่งแงงคนมหาสารคาม กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด บุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ประชาชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม และพื้นที่ใกล้เคียง

ทั้งนี้ การเปิดให้บริการตลาดนัดสีเขียวองค์การบริหารส่วนจังหวัด มหาสารคาม (Green Market) เพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายพืชผักผลไม้ และอาหารปลอดสารพิษ สำหรับประชาชนและบุคลากรรวมไปถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ระดับชุมชน โดยการเปิดรับผู้ประกอบการ พื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาร่วมจำหน่ายพืชผักอาหารปลอดภัยรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ก่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง ทั้งยังได้ผักปลอดสารพิษและได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และส่งเสริมการปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ตลอดจนประชาชนมีสุขภาพดี ปลอดภัยจากสารพิษปนเปื้อนในพืชผักสวนครัว และกำหนดให้เกษตรกรผู้ผลิตเป็นผู้จำหน่ายสินค้า เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้พบปะผู้บริโภคโดยตรง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ให้สินค้ามีคุณลักษณะและปริมาณสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ในขณะที่ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในคุณภาพ และความปลอดภัยของสินค้า เกษตรกรสามารถช่วยเหลือตนเองได้แบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นวิธีดำเนินการที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่เกษตรกรในการผลิตสินค้าเกษตร…

พิเชษฐ ยากรี - มหาสารคาม