In Thailand
ศรีสะเกษปิดศูนย์7วันอันตรายมี10อำเภอ เกิดอุบัติเหตุ22ครั้งเจ็บ21คนตาย7คน
ศรีสะเกษ-ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษแถลงข่าวปิดศูนย์7วันอันตรายและย้ำคนคือปัจจัยหลักของอุบัติเหตุ10 อำเภอ สาเหตุเมาและรถมอเตอร์ไซด์เกิดอุบัติเหตุมากสุดช่วงเทศกาลปีใหม่
วันนี้ (5 ม.ค.65) ที่ห้องประชุมสระกำแพงใหญ่ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้แถลงข่าวและปิดศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 โดยข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุทางถนน 7 วัน (29 ธ.ค 64 - 3 ม.ค.65) เกิดอุบัติเหตุ 22 ครั้ง บาดเจ็บ 21ราย และ เสียชีวิต 7 ราย สาเหตุหลักเกิดจากคน รองลงมาคือ รถ และถนน จึงได้กำชับทุกอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกำหนดค่าเป้าหมายในการขับเคลื่อนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับอำเภอ พร้อมขับเคลื่อนงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตลอด 365 วัน โดยมีการส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยให้ภาคราชการเป็นต้นแบบ อีกทั้งมีการปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัย ในการใช้รถใช้ถนนแก่เด็กเยาวชน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา
ขณะที่ 7 วันเทศกาลปีใหม่ได้รณรงค์ " ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ " โดยบูรณาการทั้ง 22 อำเภอ ตั้งจุดตรวจรวม 568 จุด แยกเป็นจุดตรวจหลัก/จุดตรวจรอง 38 จุด จุดตรวจด่านชุมชน 463 จุด และ จุดบริการประชาชน 67 จุด พบว่าเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด10 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองศรีสะเกษ, อ.กันทรลักษ์, อ.ราษีไศล,อ.บึงบูรพ์, อ.วังหิน, อ.โนนคูณ, อ.พยุห์, อ.ขุขันธ์, อ.น้ำเกลี้ยง, อ.ขุนหาญ และ อำเภอที่ไม่เกิดอุบัติเหตุ ทั้งหมด 12 อำเภอ ได้แก่ อ.ยางชุมน้อย, อ.กันทรารมย์, อ.ไพรบึง,อ.ภูสิงห์ ,อ.อุทุมพรพิสัย ,อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ,อ.ห้วยทับทัน, อ.ศรีรัตนะ ,อ.เมืองจันทร์, อ.เบญจลักษ์, อ.ศิลาลาด และ อ.ปรางค์กู่
ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวย้ำว่า สาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยง คือ การไม่สวมหมวกนิรภัยและไม่คาดเข็มขัดนิรภัย โดยรถมอเตอร์ไชด์เกิดอุบัติสูงสุด ขณะที่ถนนที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือถนนกรมทางหลวงและเป็นทางตรงด้วย พฤติกรรมคือเมาสุราและขับรถเร็วหรือตัดหน้ากระชั้นชิด ซึ่งช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือช่วงพลบค่ำจนถึง 2 ทุ่ม สาเหตุหลักอยู่ที่คน เราจะเดินทางไปสู่จุดที่เรียกว่า “ วัฒนธรรมความปลอดภัย “ ให้อยู่ในใจของคนเราได้อย่างไร เป็นโจทย์ที่จังหวัดศรีสะเกษจะตองดำเนินการต่อไป โดยในปี 2565 จังหวัดศรีสะเกษ จะตั้งเป้าท้าทายการเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตไม่เกิน 16 ต่อแสนประชากร ภายใต้มาตรการ “ 239 ปี ศรีสะเกษ ลดเจ็บ ลดตาย
2.ให้อำเภอแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง และให้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งเพื่อขับเคลื่อนงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตลอด 365 วัน
3.ให้ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในองค์กรภาครัฐโดยกำหนดมาตรการองค์กรด้านความปลอดภัยทางถนน เพื่อให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน และบุคลากรในหน่วยงานของรัฐรักษาวินัยและปฏิบัติตนตามกฎหมายจราจร
4. เน้นการปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัย ในการใช้รถใช้ถนนและวินัยจราจร ให้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบ/ความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนให้เกิดขึ้นกับเด็กเยาวชน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ประถม มัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา และต้องมีกิจกรรมและผลการดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง และรวบรวมการดำเนินการในแต่ระดับรายงานให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดศรีสะเกษทราบเป็นประจำทุกเดือน
ข่าว/ภาพ ... บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ