In Thailand

เปิดโครงการบูรณาการปลูกพืชศก.หลังนา ในพื้นที่เขตชลประทานกันทรารมย์



ศรีสะเกษ-รองพ่อเมืองศรีสะเกษเปิดโครงการบูรณาการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจหลังนา ที่อำเภอกันทรารมย์ จำนวน  43 ราย เป็นพื้นที่ปลุฏข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวน 112 ไร่ ซึ่งเป็นพืชที่เหมาะสม

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565  ที่แปลงเรียนรู้ นายภรนาวา บัวงาม โครงการบูรณาการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจ ในเขตพื้นที่ชลประทาน บ้านหนองแวง หมู่ที่ 11 ต.หนองแวง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รอง ผวจ.ศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดโครงการบูรณาการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจหลังนา ในเขตพื้นที่ชลประทาน ปลูกพืชข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแปลงนาสาธิต โดยมี นายปราจิต แก้วลา นายอำเภอกันทรารมย์ พร้อมด้วย นายวิชัย ศรีโพธิ์งาม เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ นายณัทเศรษฐ์ ถิรวัฒน์ธนกร ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหัวนา (เขื่อนหัวนา) หัวหน้าส่วนราชการ เกษตรกร และชาวบ้านในพื้นที่ให้การต้อนรับและร่วมกิจกรรมโครงการบูรณาการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจหลังนา

นายวิชัย กล่าวว่า หลังจากที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว เกษตรกรส่วนใหญ่จะทำการปลูกข้าวเป็นครั้งที่ 2 ในพื้นที่เดิม ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคและแมลงรวมทั้งความเสี่ยงด้านปริมาณน้ำ ที่อาจจะไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก  ส่งผลให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย ประกอบกับสถานการณ์ราคาข้าวของไทย ได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อรายได้เกษตรกร  ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้นับว่าเป็นการแก้ปัญหาด้านราคา ซึ่งคงต้องทำหลายอย่างไปพร้อมๆกัน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้มีการบูรการทำงานในการลดพื้นที่การปลูกข้าวนาปรัง  เป็นพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยและสร้างรายได้มากกว่า จึงได้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวนาปรังเป็นพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อย เช่นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านราคา ลดการระบาดของโรคแมลงศัตรูพืช เพิ่มปริมาณการผลิต ผลตอบแทนสูงกว่าข้าวนาปรัง และช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินมากขึ้น  เพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดอาหารสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ

ซึ่งมีจำนวนโคมากกว่า 400,000 ตัว มีผู้ประกอบการรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน และเพื่อรองรับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่กำลังจะเกิดขึ้น ตำบลหนองแก้ว  อำเภอกันทรารมย์  มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการบูรณาการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจ (หลังนา) ในเขตพื้นที่ชลประทาน  จำนวน  43 ราย เป็นพื้นที่ปลุฏข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวน 112 ไร่ ซึ่งเป็นพืชที่เหมาะสม ใช้น้ำน้อยเกษตรกรอยู่ในพื้นที่เขตชลประทาน มีแหล่งน้ำเพียงพอที่จะทำการเกษตร รวมทั้งมีการเชื่อมโยงตลาด และประสานผู้ประกอบการรับซื้อผลผลิตไว้แล้ว ทำให้ผลผลิตที่ได้มีตลาดรองรับที่แน่นอน เกษตรกรสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน 

ด้านนายณัทเศรษฐ์ ถิรวัฒน์ธนกร ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหัวนา (เขื่อนหัวนา)  กล่าวว่า เขื่อนหัวนาเป็นโครงการโขง-ชี-มูล ดำเนินการโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกระทรวงวิทยาศาสตร์ทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรกรรมและอุปโภค-บริโภคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2535 แล้วเสร็จในปี 2542 เป็นเขื่อนคอนกรีตพร้อมติดตั้งบานประตูเหล็กโค้ง (Radial Gate ) งบประมาณค่าก่อสร้าง 2,150 ล้าน แต่เนื่องจากปัญหาเรื่องการร้องเรียนด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมและค่าชดเชยที่ดิน จึงได้ระงับการดำเนินโครงการทั้งหมด จากนั้นได้โอนภารกิจหน้าที่ให้กับกรมซลประทาน และได้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาผลกระทบทางสังคมจากการก่อสร้างเขื่อนหัวนา ปี พ.ศ.2552 โด้รับการอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการพัฒนาโครงการเขื่อนหัวนา จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2555  และปี 2561 กรมชลประทาน ได้จัดตั้งโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหัวนา เพื่อแก้ปัญหาด้านน้ำ ทั้งน้ำท่วมภัยแล้งในเขตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูลและลำสำขาเหนือเขื่อนหัวนา รวมทั้งแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนหัวนา

ข่าว/ภาพ ... บุญทัน  ธุศรีวรรณ   ศรีสะเกษ