In Thailand

รองอธิบดีพช.เยี่ยมศรีสะเกษ2โครงการ ดูโคกหนองนา-เปิดวิสาหกิจคันนาทองคำ



ศรีสะเกษ-รองอธิบดีกรมการพัฒนาชมชุมตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงปี2564 กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคกหนองนา  ที่อำเภอขุนหาญ  หลังจากนั้นได้ไปเปิดตัวเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานคันนาทองคำศรีสะเกษ  เสวนากระบวนการสร้างและพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดและสร้างคุณภาพมาตรฐานสินค้าอินทรีย์วิถีไทย Earth Safe ได้อย่างไร

เมื่อวันที่ 12  กุมภาพันธ์  2565  เวลา 13.30 น. ที่บ้านตาเอกใหม่ ตำบลกันทรอม อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ  นายนิวัติ  น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชมชุม นางสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ ประธานมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ หรือ Earth Safe Foundation   และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตารีย์ ไตรสรณปัญญา (ดร.จุ๋ม)  คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2564 กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคกหนองนา    ของนายไพโรจน์  มีวงศ์  เกษตรกรบ้านตาเอกใหม่ หมู่ 8 ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ  โดยมีนางสาวอมร  นามบุตร  ปลัดอาวุโสอำเภอขุนหาญ  รักษาราชการนายอำเภอขุนหาญ  นายชัยยงค์  ผ่องใส  หน.กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน  และนายอมร  ธุษาวัน  พัฒนาการอำเภอขุนหาญ  นำเกษตรกรอำเภอขุนหาญ  ให้การต้อนรับและนำตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี2564 กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคกหนองนา  งบยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ขนาด 1 ไร่ งบประมาณได้รับจัดสรรค่าดปรับแปลง จำนวน 45,200 บาท โดยเบิกจ่าย จำนวน 17,429 บาท และได้รับงบประมาณจัดซื้อพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ จำนวน 2,360 บาท  มีพื้นที่ทำการทั้งหมด 12 ไร่ทำเป็น "วนเกษตร" จัดสรรพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ปลูกพืชผสมผสานและไม้ป่ายืนต้น ปลูกป่า 5 ระดับ ปลูกพืชสมุนไพร ขุดหนองน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง จัดสรรพื้นที่ทำนา ทำคันนาทองคำมีการบริหารจัดการน้ำ ภายในแปลโดยด้านหลังแปลงมีลำห้วยจันทร์ ด้านหน้าแปลงมีคลองชลประทานจากอ่างเก็บน้ำห้วยตาจู ขุดคลองไส้ไก่ส่งน้ำหล่อเลี้ยงพืชในแปลงของนายไพโรนจน์  ซึ่งอาชีพที่ยั่งยืนคือ อาชีพเกเษตรกรและอาชีพที่มั่นคงคือ เกษตรแบบอินทรีย์เศรษฐกิจพอเพียงคือทางรอดของสังคมไทย โดยเฉพาะในยามวิกฤต covid-19 ปัจจุบันนี้

นายอมร  ธุษาวัน  พัฒนาการอำเภอขุนหาญ  กล่าวว่า อำเภอขุนหาญ  มีโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา โมเดล"และโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมพัฒนาศูนย์เยนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคก สรุปผลการดำเนินดังนี้ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรพื้นที่ดำเนินการ อำเภอขุนหาญ แยกเป็นงบประมาณประเภท 1 ไร่  งบกรมฯ  จำนวน 33 แปลง  เป็นเงินจำนวน 1,491,600บาท  งบกู้ จำนวน 41 แปลง  เป็นเงินจำนวน1,853,200  ประเภท 3 ไร่  งบกรมฯ  จำนวน 6 แปลง  จำนวน  624,000 บาท  งบกู้ จำนวน 25 แปลง  จำนวน  2,600,000บาท  มีผลการดำเนินงาน กิจกรรมปรับรูปแบบแปลง (ขุด) เบิกจ่าย 100% จำนวน 105 แปลง  เป็นเงิน4,221,439.59 บาท  โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคกหนองนา ปี2565  จำนวน 3 แปลง แยกเป็นพื้นที่ 1 ไร่ จ๋นวน 2 แปลง และ 3 ไร่ จำนวน 1 แปลง ขุดปรับแปลงเสร็จเรียบร้อย อยู่ระหว่างดำเนินการเบิกจ่าย  แปลงพื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่น/ต้นแบบ ได้แก่แปลงนางศรัญญา อินวันนา บ้านแดง หมู่ที่ 4 ตำบลขุนหาญ พื้นที่ 1 ไร่ (งบกู้) ฐานเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย  เลี้ยงปลา ปลูกผักปลอดสาร ปลูกดอกดาวเรือง ฐานรักสุขภาพ ปลูกสมุนไพร ฐานรักษ์ดิน ทำน้ำหมักชีวภาพ  แปลงนางอลิษา บุญลือ บ้านเดื่อ หมู่ที่ 2 ตำบลกระหวัน พื้นที่ 3 ไร่ (งบกู้) ฐานลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้ ปลูกข้าวอินทรีย์ เลี้ยงปลา ฐานรักสุขภาพ ผักสวนครัวปลอดสาร ปลูกสมุนไพร ฐานรักษ์ดิน ทำน้ำหมักชีวภาพ  และแปลงนางติมวิลา วิลา บ้านขี้เหล็ก หมู่ที่ 16 ตำบลพราน พื้นที่ 3 ไร่ (งบกู้) ฐานลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้  ปลูกข้าวอินทรีย์ เลี้ยงปลา ฐานรักสุขภาพ ปลูกพืชสมุนไพร ฐานรักษ์ดิน ปลูกถั่วพร้าบำรุงติน จุลสินทรย์สังเคราะห์แสง  นอกจากนี้อำเภอขุนหาญ  ยังได้มีการขับเคลื่อนแนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ( SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ปี 2565 มีครัวเรือนยื่นใบสมัครเข้าร่วม จำนวน 31 แปลง/ราย  อีกด้วย

หลังจากนี้ รองอธิบดีกรมการพัฒนาชมชุมเปิดตัวเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานคันนาทองคำศรีสะเกษ  เสวนากระบวนการสร้างและพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดและสร้างคุณภาพมาตรฐานสินค้าอินทรีย์วิถีไทย Earth Safe ได้อย่างไร

ที่ศูนย์เรียนรู้นวัตวิถีบ้านซำขี้เหล็ก  ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ  นายนิวัติ  น้อยผาง  รองอธิบดีกรมการพัฒนาชมชุม นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต  รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นางสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์  ประธานมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำหรือ Earth Safe Foundation   นายวิชัย  ศรีโพธิ์งาม  เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตารีย์ ไตรสรณปัญญา (ดร.จุ๋ม) คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้ร่วมกันเปิดตัวเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานคันนาทองคำศรีสะเกษ และเสวนากระบวนการสร้างและพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดและสร้างคุณภาพมาตรฐานสินค้าอินทรีย์วิถีไทย Earth Safe ได้อย่างไร  โดยมีนางสาวอมร  นามบุตรปลัดอาวุโสอำเภอขุนหาญ  รักษาราชการนายอำเภอขุนหาญ  นายชัยยงค์  ผ่องใส  หน.กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน  นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอขุนหาญ ร่วมกิจกรรมและแสดงสินค้าโอทอปชุมชนเกษตรผสมผสานคันนาทองคำศรีสะเกษ   

หลังจากนั้น นายนิวัติ  น้อยผาง  รองอธิบดีกรมการพัฒนาชมชุม นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต  รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  นางสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ ผู้ก่อตั้งและประธานมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ หรือ Earth Safe Foundation และคณะ  ได้ร่วมกันมอบโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ Earth Safe มูลค่า ประมาณ 80,000 บาท  ให้แก่วิสาหกิจชุมชนพฤษาเวชบ้านซำขี้เหล็ก ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ เพื่อใช้ในการอบอาหารและผลไม้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและขีดความสามารถทางการตลาด ด้วย
นางสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์  ประธานมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ หรือ Earth Safe Foundation  กล่าวว่า  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอขุนหาญ มีการรวมตัวกันได้เป็นอย่างดีมาก เมื่อรวมตัวกันแล้วก็จะสามารถรวมกันเดินตามบันได 9 ขั้น ศาสตร์พระราชา  เพื่อจะให้ได้มาตรฐาน อินทรีย์วิถีไทย Earth Safe ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่เพาะปลูกพืชเป็นดินภูเขาไฟ  มีผลผลิตทางเกษตรที่ได้รับมาตรฐาน GI เป็นสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษ  ซึ่งเมื่อได้รับมาตรฐาน GI แล้ว ไม่ต้องใช้สารเคมี จึงขอฝากเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ  ให้งดใช้สารเคมีในการเพาะปลูกพืชผล  ซึ่งเป็นอาหารของโลกที่มีมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย Earth Safe  ด้วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตารีย์ ไตรสรณปัญญา (ดร.จุ๋ม) คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าวว่า วิสาหกิจชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ  มีจุดแข็งและมีผลผลิตที่ได้มาตรฐาน GI  อยู่แล้ว  จึงขอฝากเกษตรกรว่า ให้มีความตั้งใจและสามัคคีกัน  อยากให้รวมกลุ่มกันให้เป็นปลึกแผ่นเป็นพลังให้ได้  พัฒนาเพื่อแปรรูป สร้างมูลค่า เพื่อให้ขับเคลื่อนไปสู่ตลาดส่งออกได้เอง  ให้มีอำนาจในการต่อรองตลาด  นอกจากนี้ขอให้เกษตรได้ทำการเกษตรแบบอินทรีย์วิถีไทย Earth Safe  เพื่อลดต้นทุนในการผลิตสินค้าเกษตรกรรมด้วย

ข่าว/ภาพ ... บุญทัน  ธุศรีวรรณ   ศรีสะเกษ