In Thailand

ปราจีนฯติวเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวัง อพยพช้างป่ากลับคืนถิ่นแปดริ้วยั่งยืน



ปราจีนบุรี-ระวังภัย! อบรมเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนแปดริ้ว ที่ข้ามฝั่งมาพักหากินกลายเป็นสัตว์ป่าถาวรในเขตปราจีนฯ  เตรียมอพยพ “ช้างสีดอโหนก” กลับคืนถิ่น กลับสู่ในเขตผืนป่าราบต่ำผืนสุดที่อยู่เดิม   ก่อนหน้าสร้างความขัดแย้ง  ให้พื้นที่ทั้งทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำลายพืชไร่ พืชสวน นาข้าว  บุกปล้นบุ้งฉาง และรุนแรงสุดคือเหยียบแม่เฒ่า  วัย 73ปี “ป้าแต่ง” ตายคาที่  ขณะกำลังเก็บหาดอกกระเจียว ใบแต้วป่า ที่ล่าสุดยังวนเวียนหากินในไร่อ้อย ที่พื้นที่ ต.เขาไม้แก้ว

วันนี้  17  มี.ค.65   ผู้สื่อข่าวประจำ จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า   ที่หอประชุมโรงเรียนบ้านเขาไม้แก้ว หมู่ 4 ต.เขาไม้แก้ว  อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี   นายศักดิ์ชัย จำประสิทธิ์กุล นายอำเภอกบินทร์บุรี   เป็นประธานในพิธีโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังและป้องกันภัยจากช้างป่า จังหวัดปราจีนบุรีรุ่นที่1   โดยมีนายพรชัย ช่วยรัตน์ รักษาการผู้อำนวยการส่วนทรัพยากรธรรมชาติสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปราจีนบุรี   กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ 

สรุปความว่า   ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดปราจีนบุรี   ที่มีอาณาเขตจังหวัดด้านทิศใต้  รอยต่อติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา หรือแปดริ้ว   ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน (ในผืนป่าราบต่ำผืนสุดท้ายในป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา,จ.สระแก้ว,จ.ชลบุรี,จ.จันทบุรี และ จ.ระยอง)

จึงเป็นสาเหตุสำคัญ  ที่ทำให้จังหวัดปราจีนบุรี  โดยเฉพาะในท้องที่ ต.วังท่าช้าง ต.เขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี  และ  ต.กรอกสมบูรณ์ ต.หนองโพรง อำเภอศรีมหาโพธิ  ได้รับผลกระทบจากการที่ช้างป่าออกมาหากินนอกพื้นที่  ป่าอนุรักษ์ฯ  โดยจากสถิติที่ผ่านมาจังหวัดปราจีนบุรีมีความถี่สูงในการพบช้างป่าจำนวนมาก เข้ามาหากินในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ชุมชน โดยเฉลี่ยครั้งละประมาณ 1-60-100 ตัว

ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อน  จากความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตร  สวัสดิภาพร่างกายและทรัพย์สิน  บ้านเรือนของประชาชน ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น   จนอาจทำให้ลุกลามกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า 

และอาจนำไปสู่ความรุนแรงได้ในอนาคต ประกอบกับปัจจุบัน   อัตรากำลังของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติฯ  และ เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน  (ในผืนป่าราบต่ำผืนสุดท้ายในป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา,จ.สระแก้ว,จ.ชลบุรี,จ.จันทบุรี และ จ.ระยอง)
มีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าและผลักดันช้างป่า   ตามอำนาจหน้าที่โดยตรงมีจำนวนจำกัด   จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในการร่วมจิตอาสาร่วมเป็นอาสาสมัครเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่ง   ในการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกันช้างป่าในพื้นที่  อย่างถูกวิธีและไม่เป็นอันตรายต่อตนเองและช้างป่า โดยมีผู้นำท้องถิ่นท้องถิ่น(อปท) กำนัน – ผญบ และนักเรียนเข้าร่วมฝึกอบรม 100 คน

สำหรับความเคลื่อนไหวของช้างป่าสีดอโหนก  (เรียกชื่อตามลักษณะส่วนศรีษะที่โหนกผิดปกติ)  ยังคงอยู่ในป่าหนองไผ่หมู่ 4 ต.เขาไม้แก้ว  อ.กบินทร์บุรี   ที่อยู่ติดกับบริเวณที่ทำร้ายเหยียบแม่เฒ่าอายุ 73ปี ขณะกำลังไปเก็บหาใบแต้ว ,ดอกกระเจียวป่าตายที่ป่าหนองกระดิกนิ้ว )  เสียชีวิต และ  ล่าสุดปัจจุบันยังคง  ออกมาหากินไร่อ้อยของชาวบ้านใกล้ริมถนนสายสระแก้วตัดใหม่ (สระแก้ว – พนมสารคาม) หรือ สาย359  ทุกวัน 

นายอุดม ทามีชาวบ้านหมู่ที่4บ้านเขาไม้แก้วกล่าวว่า    “  การที่จะนำช้างป่าสีดอโหนกกลับคืนผืนป่าราบต่ำผืนสุดท้ายในป่ารอยต่อ 5 จังหวัดที่ จ.ฉะชิงเทรา นั้น   ตนเองและชาวบ้านยังคงหวาดกลัว-เกรงอันตราย  จากช้างป่าสีดอนโหนกกันทุกคน    อยากให้เจ้าหน้าที่ผลักดันช้างป่า   ออกจากพื้นที่โดยเร็ว”    นายอุดมกล่าว

ล่าสุดเวลา 21.00 น. แหล่งข่าว  แจ้งว่า    ล่าสุดนี้  พบมีช้างป่าโขลงใหญ่จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน มากกว่า 50ตัว   ออกมาอยู่เขตรอยต่อบ้านเขาจันทร์ จ.ฉะชิงเทรา กับ อ.กบินทร์บุรี ที่มีถนนสายสระแก้วตัดใหม่ หรือสาย 359 กั้นกลาง   ซึ่งเป็นรอยต่อบ้านเขาไม้แก้ว  หมู่ 4 อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี   คาดว่าจะเข้ามาในพื้นที่เร็วๆนี้  

และจากนั้นได้สอบถาม กับ  นายสุนทร   หรือ แหลม  คมคาย  แกนนำชาวบ้าน หมู่ชาวเขาไม้แก้ว    กล่าวว่า    ชาวบ้านเองยังเศร้าหลังเพื่อนบ้าน “ป้าแต่ง” แม่เฒ่าวัย 73 ปี   ถูกช้างสีดอโหนกเหยียบตายขณะออกไปเก็บหาผักแต้ว – ผักกระเจียว   อยากให้มีการแก้ไขช้างป่า  จากพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา (ในป่าราบต่ำผืนสุดท้ายของไทยในรอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา,จ.สระแก้ว,จ.จันทบุรี,จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง) ที่ข้ามฝั่งเข้ามาหากินในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี อย่างยั่งยืน 

วอน   สังคมหันกลับมาสนใจเรื่องนี้ ปัญหาช้างป่า โดยเฉพาะช้างป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ที่จะขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ ช้างเดินวันนึง 40-50 กิโลเมตร    วันนี้ ต.เขาไม้แก้วเองเคยได้ยินเรื่องช้าง   เมื่อปีกลาย สมัยก่อนเป็นปัญหาเรื่องช้างที่ ต.วังท่าช้าง   ที่ ทุ่งพระยา ท่ากระดาน ได้ยิน แว่วแว่ว แต่ปีนี้มาทำลายสิ่งที่เราสร้างสังคม ชุมชนสร้างขึ้นมาอีก เยอะแยะมากมาย”

 และ คิดว่าเรา ชาวบ้าน พร้อมในการแก้ปัญหา มี 3 ระดับ ทำเอง หมายถึง ชาวบ้าน ร่วมกันทำเอง คือการจัดการเรียนรู้เรื่องช้าง การส่งข่าวหรือการป้องกัน หรือ มีการประกาศเตือนของชาวบ้านเอง แล้วก็ส่งข่าวว่าช้างอยู่ตรงไหน? ก็ป้องกันตัวเองจากการที่ช้างจะมาทำร้าย เราก็จะเตือนกัน ช้าง อยู่บริเวณไหน แล้วจะได้ไม่ไป ตรงนั้น

อีกอัน เสนอว่า   เราจะไปช่วยปลูกพืชอาหารช้าง บริเวณที่อยู่ในป่า ช่วยกันซ่อมแซมคูกันช้างที่มันชำรุด ! ชำรุดเสียหายเรายินดีทีจะไปช่วยกัน    รวมถึงการเสนอเรื่องการจัดตั้งกองทุนเพื่อแก้ปัญหาเรื่องช้างทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์ช่วยค่าเบี้ยเลี้ยงอะไรต่างๆ ที่เราพยายามจะทำ คือเราเสนอให้มันแก้กฎหมายแก้กฏหมายให้กระบวนการเปลี่ยนแปลง คือเสียหายเท่าไหร่ จริงๆแล้ว ป้า แต่ง เพียงแต่ไปเก็บของแล้วถูกช้างเหยียบตาย ซึ่งช้าง แก้ปัญหาเรื่องช้างทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านหรือจิตอาสา ที่มาช่วยกัน ก็อาจจะช่วยค่าเบี้ยเลี้ยงอะไรต่างๆ ที่เราพยายามจะทำ ที่เราเสนอให้มันมีการแก้กฎหมาย แก้กฎหมายให้กระบวนการเปลี่ยนเป็นคือเสียหายเท่าไหร่ก็เท่านั้นจริงๆ

ปัญหาช้าง ที่นี่ ต.เขาไม้แก้ว !! ประวัติไม่เคยมีมาก่อน นานมากตั้งแต่ปีที่แล้ว   ไม่เคยมี ช้าง ได้ ยินข่าว ช้างน้อยมาก   แต่วันนี้จริงๆแล้ว   เราเองฐานะที่เป็นนัก นักอนุรักษ์ ก็ดีใจรู้สึกว่ามันมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ที่มีช้างป่าข้ามมาหากินบ้านเรา  แต่ต้องแก้ไขอย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมาปัญหาความขัดแย้งคนกับช้างป่า จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนจากแปดริ้ว หรือ จ.ฉะเชิงเทรา ที่ข้ามฝั่งไปหากินเกือบอยู่ประจำถิ่นถาวรไปแล้วในปัจจุบันที่ จ.ปราจีนบุรี    ทั้งยกโขลง หรือแยกเดี่ยว สร้างความเสียหายแก่ ทรัพย์สินพืชไร่ นาข้าว สวนผลไม้ บ้านเรือน ยุ้งฉาง ตลอดล่าสุดคือ เหยียบชาวบ้าน เสียชีวิต!  ….นายสุนทร   หรือ แหลม  คมคาย  แกนนำชาวบ้าน หมู่ชาวเขาไม้แก้ว    กล่าวในที่สุด

มานิตย์   สนับบุญ/ปราจีนบุรี