EDU Research & ESG
ครอท.เสนอแยกบริหารงานบุคคลอาชีวะ ชงรูปแบบเหมือนมหาวิทยาลัยการกีฬา
กรุงเทพฯ-เครือข่ายค.ร.อ.ท.ร่วมเสวนาแก้ไขร่างพรบ.การศึกษา 'ทิศทางอนาคตครู-อาจารย์อาชีวศึกษา' เสนอแยกการบริหารงานบุคคล ออกจากการศึกษาขึ้นพื้นฐาน และเสนอแนวทางการบริหารในรูปแบบเหมือนมหาวิทยาลัย
นายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรีประธานเครือข่ายค.ร.อ.ท. ในนามภาคประชาชนที่เป็นห่วงการจัดการศึกษาด้านอาชีวของชาติ โดยได้เข้าร่วมเสวนาการแก้ไขร่างพรบ.การศึกษาชาติพ.ศ..หัวข้อ“ทิศทางอนาคตครู อาจารย์อาชีวศึกษา” ร่วมกับกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ถึงประเด็นการบริหารงานบุคลากรในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งบุคลากรของอาชีวศึกษามีความต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานดังนั้นจึงร่วมสมาชิกเครือข่ายค.ร.อ.ท. โดยมีความเห็นร่วมกันว่าจะต้องมีการแยกการบริหารงานบุคคล ออกจากการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยมีกคศของอาชีวศึกษาโดยตรง
นายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรีประธาน ค.ร.อ.ท.ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงประเด็นที่สมาชิกเห็นชอบเสนอให้กรรมาธิการได้นำไปบรรจุในร่างพรบการศึกษาเนื่องจากอาชีวศึกษาใช้บุคลากรทำการสอนตามร่างพรบการศึกษาพ.ศ..ม.8(6)(ก)(7)นั่นคือตั้งแต่ช่วงชั้นที่ 6 ซึ่งอยู่ในการศึกษาภาคบังคับและรวมถึงจัดการสอนในระดับปริญญาตรีอยู่ในระดับอุดมศึกษาจึงต้องมีบุคลากรที่เป็นข้าราชการครูและอาจารย์ซึ่งจะต้องมีการจัดทำหรือกำหนดวิทยฐานะที่แตกต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานออกไปโดยเสนอแนวทางการบริหารงานบุคลากรในรูปแบบเหมือนมหาลัยการกีฬาหรือสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์น่าจะเป็นประโยชน์กับคนของอาชีวะในด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าข้าราชการครูก็ทำวิทยฐานะชำนาญการ,ชำนาญการพิเศษ.เชี่ยวชาญ.เชี่ยวชาญพิเศษได้ส่วนอาจารย์หรือผู้สอนระดับปริญญาก็สามารถทำผลงานวิชาการผศ.,รศ.,ศ.ได้
นายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ประธาน ค.ร.อ.ท.ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงประเด็นการบริหารงานบุคคลของข้าราชการในอาชีวศึกษาจะเป็นไปได้และเกิดการเปลี่ยนแปลงต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ โดยข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจะต้องออกมาเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนและต้องได้รับแรงสนับสนุนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการซึ่งถือว่าเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดร่วมผลักดันจึงจะเกิดผลสำเร็จ.