EDU Research & ESG

ผู้ตรวจกระทรวงศึกษาธิการลงพื้นร้อยเอ็ด ตามขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนรมว.ศธ.



ร้อยเอ็ด-ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อติดตามการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ระยะที่ 2

วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00 น.  นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร  ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อติดตามการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ระยะที่ 2  ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 12  จังหวัดร้อยเอ็ด  ณ ห้องประชุมไทรทอง โรงเรียนสตรีศึกษา  อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี นางวรัญญภรณ์ ชารีรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตามตรวจสอบการดำเนินการบริหารจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พร้อมคณะ โดยมีนายครรชิต วรรณชา ศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด  นายสามารถ ผ่องศรี  รองศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ด  นายสุรัตน์ วิภักดิ์  ผู้อำนวยการ กศน. จังหวัดร้อยเอ็ด นายอดุลศักดิ์ บุญเอนก ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 เขต 2 เขต 3 ผู้แทนประธานกรรมการอาชีวศึกษา  ผู้แทนศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้แทนโรงเรียนโสตศึกษาร้อยเอ็ด ผู้แทนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี ศึกษานิเทศก์ บุคลากรทางการศึกษาเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุม

นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร  ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งให้ที่ประชุมทราบวัตถุประสงค์การติดตามการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ระยะที่ 2 จำนวน 5 โครงการ ดังนี้
 โครงการพาน้องกลับมาเรียน (สังกัด สพฐ. /กศน./สช./สอศ.)
1. ตัวชี้วัดของโครงการ (KPI)
    สังกัด สพฐ.
   1.1 จำนวนผู้เรียน ๑๑๐,7๕๕ คน ได้รับการ "นำกลับ คันหา พัฒนา ส่งต่อ" ในระบบการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ๑๐๐ % ก่อนเปิดภาคเรียน
   1.2  คุณภาพของกระบวนการ "นำกลับ คันหา พัฒนา ส่งต่อ" ในระบบการศึกษา เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพสังกัด สช. จำนวนที่ต้องติดตามและค้นหา ๑0,๗๘๓ คน : ๑๑ ก.พ. ๖๕)

โครงการ กศน.ปักหมุด
 ตัวขี้วัดการติดตาม (KPI)
๑. โรงเรียนคุณภาพ ๓๔๙ แห่ง ได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้ง ๘ จุดเน้น
2. มีโรงเรียนเครือข่ายที่มาเรียนรวมกับโรงเรียนคุณภาพ (๑๘๓ โรง) และใช้ทรัพยากรร่วมกัน อย่างน้อย
     ๕00 โรงเรียน ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕
๓. ร้อยละ ๘0 ของโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษามีนักเรียนมาเรียนเพิ่มขึ้น ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕
๔. ร้อยละ ๘0 ของโรงเรียนคุณภาพมีครูครบชั้น ครบวิชาเอก ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖
5. โรงเรียนคุณภาพ ๓๔๙ โรง มีห้องเรียนคุณภาพ ที่มีสื่อการเรียนการสอนและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อ
    ส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖
๖. ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่รับรู้เข้าใจ และให้การสนับสนุนในการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565

โครงการอาชีวะ อยู่ประจํา เรียนฟรี มีอาชีพ
ตัวชี้วัดการติดตาม (KPI)
1. นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาต่อร้อยละ 100 และสามารถประกอบอาชีพ
เลี้ยงตัวเองได้”เป้าหมาย จํานวน 5,220 คน
2. ความพร้อมของหอพักที่จะรองรับ
3. จํานวนผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการ

โครงการความปลอดภัยสถานศึกษา (MOE Safety Center)
ตัวชี้วัดการติดตาม (KPI)
ระบบ MOE Safety Center
1. ระบบ MOE Safety Center สามารถลดขั้นตอน ลดเวลา มีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาได้จริง
2. หน่วยงานรับเรื่องในระบบ MOE Safety Center ให้การคุ้มครอง ช่วยเหลือ เยียวยา สร้างความเป็นธรรม
ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้น ได้จริง
3. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงระบบ MOE Safety Center
ในฐานะผู้แจ้งเหตุได้จริง
4. กระทรวงศึกษาธิการสามารถนํามาตรการ ๓ ป “ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม” มาใช้ในการปฏิบัติงานใน
ระบบMOE Safety Center ได้จริง

โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
1. การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์ให้ต่ำลงไม่เกิน 3%
2. การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สอดคล้องกับสินเชื่อที่มีอัตราความเสี่ยงต่ำ 4.5 – 5.0

1. ปรับปรุงและยกระดับการตัดเงินเดือนเพื่อชําระหนี้ ควบคุมยอดหนี้ไม่ให้เกินความสามารถในการชําระหนี้ตรวจสอบข้อมูลรายการหัก ณ ที่จ่าย และข้อมูลจากเครดิตบูโร ให้มีเงินเดือนเหลือสุทธิหลังหักชําระหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

2. กําหนดมาตรการตัดเงินเดือนเพื่อใช้หนี้สวัสดิการและสหกรณ์ออมทรัพย์ครู หรือสถาบันการเงินที่ผ่อนปรนอัตราดอกเบี้ยเพื่อสวัสดิการที่แท้จริงคือต้องเป็นอัตราเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาดทั่วไป

3. หน่วยงานสถานีแก้หนี้ ได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดําเนินการตามระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการว่าด้วยการหักเงินเดือน เงินบําเหน็จบํานาญข้าราชการเพื่อชําระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ.2551 

สถานีแก้หนี้ระดับจังหวัด
1. มีการรวบรวม วิเคราะห์จัดทําข้อมูลการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา
2. มีการประชุมร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและสถาบันการเงิน
3. มีการวางแผนกําหนดแนวทางการแก้หนี้สินครูในจังหวัด
4. มีการส่งเสริมสนับสนุนการดําเนินการของสถานีแก้หนี้ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา
สถานีแก้หนี้ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานทางการศึกษา
1. มีการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา
2. มีการวางแผนกําหนดแนวทางการดําเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา
3. ได้เชิญลูกหนี้และผู้ค้ำประกันมาให้ข้อมูล
4. มีการประชุมร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ และสถาบันการเงินเพื่อกําหนดแนวทางการแก้หนี้
5. มีการเจรจาไกล่เกลี่ยและปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างสถาบันการเงินกับผู้กู้
6. สถานีแก้หนี้ติดตามผลการดําเนินการตามข้อตกลง
7. สถานีแก้หนี้รายงานผลการดําเนินการของสถานีแก้หนี้ในภาพรวม

สถานีแก้หนี้ส่งเสริมให้ครูได้เข้ารับการอบรมให้ความรู้เสริมสร้างวินัยและการวางแผนทางการเงินตามเป้าหมายที่สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สป. กําหนด

ในการนี้ นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร  ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ผู้เกี่ยวข้องในการรายงานติดตาม จัดเตรียมความพร้อมการรายงานในระยะที่ 3 ต่อไป เพื่อโครงการประสบผลสำเร็จตามนโยบายและมุ่งประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ต่อไป