EDU Research & ESG

มรภ.ศรีสะเกษร่วมกับอบต.ในอำเภอเมือง ลงนามใช้ฐานBig Dataนวัตกรรมแก้จน



ศรีสะเกษ-มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษลงนามความร่วมมือการใช้ฐานข้อมูล Big Data ใช้นวัตกรรมแก้จนคนศรีสะเกษ

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ที่โรงแรมศรีลำาดวน อำเภอเมืองศรีสะเกษ  นายวัฒนา  พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  เป็นประธานลงนามความร่วมมือการใช้ฐานข้อมูล Big Data ใช้นวัตกรรมแก้จนคนศรีสะเกษ  ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษกับองค์การบริหารส่วนตำบล 15 แห่ง ในพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ  โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. ประกาศิต อานุภาพแสนยากร  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหัสา พลนิล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  นายบุญเยี่ยม เหลาสะอาด รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม  ผู้แทนผู้สนับสนุนทุนวิจัย จากหน่วยบริหารและจัดการด้านการพัฒนาระดับพื้นที่   นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 15 แห่ง ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลหมากเขียบ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองครก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ องค์การบริหารส่วนตำบลจาน องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว  องค์การบริหารส่วนตำบลหญ้าปล้อง เทศบาลตำบลน้ำคำ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่ม องค์การบริหารส่วนตำบลซำ  องค์การบริหารส่วนตำบลตะดอบ องค์การบริหารส่วนตำบลคูซอด องค์การบริหารส่วนตำบลโพนค้อ องค์การบริหารส่วนตำบลโพนข่า และองค์การบริหารส่วนตำบลโพนเขวา โดยบันทึกข้อตกลงฉบับนี้มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 สิ้นสุดวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2568  หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ระดับอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตัวแทนแต่ละตำบล 15 ตำบล และสื่อมวลชนจังหวัดศรีสะเกษ   เข้าร่วมกิจกรรมลงนามความร่วมมือการใช้ฐานข้อมูล Big Data ในครั้งนี้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหัสา พลนิล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  กล่าวว่า ตามที่ปีงบประมาณ 2563 – 2565 มหาวิทยาลัยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเรื่อง “การวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีจังหวัดศรีสะเกษ” จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และได้การสังเคราะห์ผลการดำเนินงาน นวัตกรรมแก้จน (OM)  จังหวัดศรีสะเกษ  ว่า WaTTANA Model  จากกระบวนการปฏิบัติงานจริง  6 ขั้นตอน และจากการศึกษาพบว่า องค์กรบริหารส่วนตำบล เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญ เป็นหน่วยงานใกล้ชิดกับพื้นที่ รับทราบปัญหา ความต้องการของชุมชน และการวางแผนปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันเหตุการณ์  การมีสารสนเทศที่ถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำ เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะสนับสนุนส่งเสริมการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบล นำไปสู่การปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการสรุปข้อมูลด้านต่างๆ นำเสนอรายงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน และโดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จึงได้เล็งเห็นความสำคัญพัฒนาระบบฐานข้อมูล Big Data เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านผู้ด้อยโอกาส  เพื่อขับเคลื่อนยุทธ์ศาสตร์จังหวัดไปสู่เป้าหมาย การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนของพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ  และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับตำบลในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ  เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการการแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดศรีสะเกษ  เพื่อร่วมพัฒนาและร่วมใช้งานระบบฐานข้อมูล Big Data มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  เพื่อร่วมจัดเก็บ บันทึกข้อมูล ส่งต่อความช่วยเหลือ กลุ่มคนจน กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ให้เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความมั่นคงและสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป

ข่าว/ภาพ ...... บุญทัน  ธุศรีวรรณ   ศรีสะเกษ