EDU Research & ESG
มรส.สร้างองค์ความรู้ชุมชนบ้านห้วยเสียด บนยั่งยืนตามหลักปรัชญาศก.พอเพียง
สุราษฏร์ธานี-มรส. สร้างองค์ความรู้ชุมชนบ้านห้วยเสียดสู่ความยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบนฐานวิศวกรสังคม
ผศ. ธาตรี คำแหง คณบดีคณะมนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่าพื้นที่บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทางคณะมนุษย์ ฯ ได้รับผิดชอบชุมชนบ้านห้วยเสียด หมู่ที่ 9 ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร ประมงและรับจ้าง แต่ขาดความรู้ในการพัฒนาอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงเข้าไปสร้างองค์ความรู้แก่ชุมชนบ้านห้วยเสียดสู่ความยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อวันที่ 20 – 24 มิถุนายน 2565 ณ โรงเรียนบ้านห้วยเสียด โดยสร้างความทักษะภาษาอังกฤษแก่ครูและนักเรียน ทั้งยังได้ฟื้นฟูภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชุมชนบ้านห้วยเสียด รวมถึงการสร้างความมั่นคงทางอาหารตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ประชน
จากการสำรวจพื้นที่ชุมชนพบว่าชุมชนบ้านห้วยเสียด มีแหล่งน้ำและบ่อปลาธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ว่างเปล่าในโรงเรียนบ้านห้วยเสียด จึงประสานผู้นำชุมชน กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองในการสร้างความมั่นคงทางอาหาแก่ชุมชน โดยการส่งเสริมให้ชุมชนได้เลี้ยงปลากินพืช ซึ่งมีต้นทุนในการเลี้ยงต่ำสามารถนำเศษอาหารและเศษพืชผัก นำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาได้เช่นปลานิล ปลายี่สก นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการปลูกผักพื้นบ้าน ได้แก่ ต้นเหลียง ต้นมันปู และมะม่วงหิมพานต์ ทั้งยังส่งเสริมให้ปลูกผักสวนครัวได้แก่ ฟักทอง แตงกวา แตงไทย ถั่วเขียว โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ซึ่งทางชุมชนได้เรียนรู้การผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์ เพื่อนำมาใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก ให้เป็นพืชผักชีวภาพปลอดสารเคมี สามารถนำมาเป็นอาหารแก่เด็กนักเรียน และอาหารของคนในชุมชน
จากการลงพื้นบริการวิชาการของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและสร้างความยั่งยืนแก่ชุมชน ต่อจากนี้จะได้ติดตามประเมินผลและสืบสานโครงการโดยบูรณาการความรู้ผ่านศาสตร์ต่าง ๆ ของคณะมนุษย์ ฯ บนฐานความเป็นวิศวกรสังคม โดยยึดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
ผศ. ธาตรี คำแหง คณบดีคณะมนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่าพื้นที่บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทางคณะมนุษย์ ฯ ได้รับผิดชอบชุมชนบ้านห้วยเสียด หมู่ที่ 9 ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร ประมงและรับจ้าง แต่ขาดความรู้ในการพัฒนาอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงเข้าไปสร้างองค์ความรู้แก่ชุมชนบ้านห้วยเสียดสู่ความยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อวันที่ 20 – 24 มิถุนายน 2565 ณ โรงเรียนบ้านห้วยเสียด โดยสร้างความทักษะภาษาอังกฤษแก่ครูและนักเรียน ทั้งยังได้ฟื้นฟูภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชุมชนบ้านห้วยเสียด รวมถึงการสร้างความมั่นคงทางอาหารตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ประชน
จากการสำรวจพื้นที่ชุมชนพบว่าชุมชนบ้านห้วยเสียด มีแหล่งน้ำและบ่อปลาธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ว่างเปล่าในโรงเรียนบ้านห้วยเสียด จึงประสานผู้นำชุมชน กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองในการสร้างความมั่นคงทางอาหาแก่ชุมชน โดยการส่งเสริมให้ชุมชนได้เลี้ยงปลากินพืช ซึ่งมีต้นทุนในการเลี้ยงต่ำสามารถนำเศษอาหารและเศษพืชผัก นำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาได้เช่นปลานิล ปลายี่สก นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการปลูกผักพื้นบ้าน ได้แก่ ต้นเหลียง ต้นมันปู และมะม่วงหิมพานต์ ทั้งยังส่งเสริมให้ปลูกผักสวนครัวได้แก่ ฟักทอง แตงกวา แตงไทย ถั่วเขียว โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ซึ่งทางชุมชนได้เรียนรู้การผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์ เพื่อนำมาใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก ให้เป็นพืชผักชีวภาพปลอดสารเคมี สามารถนำมาเป็นอาหารแก่เด็กนักเรียน และอาหารของคนในชุมชน
จากการลงพื้นบริการวิชาการของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและสร้างความยั่งยืนแก่ชุมชน ต่อจากนี้จะได้ติดตามประเมินผลและสืบสานโครงการโดยบูรณาการความรู้ผ่านศาสตร์ต่าง ๆ ของคณะมนุษย์ ฯ บนฐานความเป็นวิศวกรสังคม โดยยึดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป