In Thailand
คนรักในหลวงศรีสะเกษแต่งกายย้อนยุค ใส่โสร่งนุ่งผ้าชื่นตักบาตรข้าวสาร
ศรีสะเกษ-ชมรมคนรักในหลวงจังหวัดศรีสะเกษนำพุทธศาสนิกชนแต่งกายไทยพื้นเมืองย้อนยุคใส่โสร่งนุ่งผ้าชื่น ทำบุญตักบาตรข้าวสาร ชมศิลปะงานปั้นองค์พญานาคและเทวดานางฟ้าแลนด์มาร์คแห่งใหม่ศรีสะเกษ
เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2565 ที่วัดบ้านด่าน ตำบลสร้างปี่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ นายทิวา รุ้งแก้ว นายกพุทธสมาคมจังหวัดศรีสะเกษและชมรมคนรักในหลวงจังหวัดศรีสะเกษ และนายตรีเพชร. หารไชย ประธานวัฒนธรรมอำเภอราษีไศล ได้เป็นประธานนำพุทธศาสนิกชนชาวบ้านด่าน บ้านนอกดงและบ้านหนองขาม อำเภอราษีไศล แต่งกายด้วยผ้าชุดไทยพื้นเมืองย้อนยุคใส่โสร่งนุ่งผ้าชื่น เสื้อผ้าแส่วเอกลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกันทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อความเป็นสิริมงคล และเดินเยี่ยมชม ชิม สินค้า ตลาดวัฒนธรรมโบราณประชารัฐวัดบ้านด่าน โดยมีผู้ใหญ่บ้านด่านและคณะกรรมการวัดบ้านด่าน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจัดสินคำพื้นถิ่ตลาดวัฒนธรรมโบราณประชารัฐให้ผู้ไปร่วมทำบุญตักบาตรและนักท่องเที่ยว ได้เลือกชมและเลือกซื้อสินค้าของชาวบ้าน เช่น พืชผัก ปลอดภัยตามธรมชาติ ปลาจากแม่น้ำามูล หอยขมจากท้องนา และขนมโบราณพื้นบ้านศรีสะเกษ ทั้งเพื่อเป็นการรักษาวัฒนธรรมประเพณีชุดไทยใส่โสร่งนุ่งผ้าซิ่น ร่วมทำบุญตักบาตร เดินชมดลาดวัฒนธรรมโบราณ และชมศิลปะวัดบ้านด่านแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดศรีสะเกษ ที่วัดบ้านด่าน ได้สร้างวิหารอย่างวิจิตรงดงาม มีการสลักลวดลายและงานปั้นองค์พญานาคและเทวดานางฟ้าต่างๆ ที่ดูอ่อนช้อยและสวยงาม เหมือนกับสวรรค์บนดินเลย โดยเน้นใช้สีขาวเป็นหลัก มองดูคล้ายกับที่วัดร่องขุ่นจังหวัดเชียงรายของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เลยก็ว่าได้ หากใครมีโอกาสไปเที่ยวศรีสะเกษลองแวะไปเยี่ยมชมวัดบ้านด่าน วิหารหลวงพ่อทอง และขอพรบุญบารมีหลวงพ่อทองปกปักรักษาคุ้มครองปลอดภัยจากโรคโควิด-19
นายทอง คำเอี่ยม ผู้ควบคุมการก่อสร้างวิหารหลวงพ่อทอง กล่าวว่า หลวงพ่อทอง เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ หรือปางห้ามสมุทร ที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรงศรีอยุธยาตอนปลาย ชาวบ้านด่านได้อัญเชิญมาจากกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 มาประดิษฐานที่วัดบ้านด่าน นับเป็นเวลากว่า 70 ปี ตามประวัตินับตั้งแต่ที่ได้มาประดิษฐานที่วัดบ้านด่าน มีโจรพยายามจะโขมย ถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกกลุ่มโจรได้มาโขมยหลวงพ่อทองบรรทุกใส่เกวียน แต่ระหว่างเดินทางเกวียนหัก โขมยจึงนำหลวงทองลงไปซ่อนไว้ในบ่อน้ำระหว่างบ้านด่านและบ้านหอย อำเภอยางชุมน้อย แต่หลังจากเอาหลวงพ่อทองไปซ่อนแล้วพวกโขมยก็มีความทุรนทุราย เดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ส่งคนไปบอกชาวบ้านด่านให้ไปนำองค์หลวงพ่อทองกลับไปไว้ที่วัดดังเดิม ครั้งที่สองกลุ่มโจรได้มาโขมยหลวงพ่อทองไปอีก มีชาวบ้านฝันเห็นว่า จึงออกหาและพบหลวงพ่อทองอยู่ที่ป่าละเมาะริมฝั่งแม่น้ำมูลที่ตำบลเมืองคง ใกล้ที่ว่าการอำเภอราษีไศล และครั้งที่3 ชาวบ้านสังเกตเห็นรถจี๊ปมาจอดอยู่กลางทุ่งนานอกหมู่บ้าน ก็สงสัยว่ามาทำอะไร จึงออกไปสอบถาม ในรถจี๊บมีรองเท้าบู๊ตแบบของเจ้าหน้าที่ทางการอยู่หลายคู่และมีคนขับอยู่คนหนึ่ง คนขับรถอ้างว่าน้ำมันหมด ชาวบ้านจึงช่วยเข็นรถมาไว้ในหมู่บ้านที่ข้างๆวัด แต่จากการสำรวจดูพบว่าน้ำมันรถยังมีอยู่ ไม่ได้น้ำมันหมดเหมือนคำกล่าวอ้าง ชาวบ้านจึงได้พากันสันนิษฐานว่าน่าจะมาเตรียมกาโขมยหลวงพ่อทองอีกเป็นแน่แต่คราวนี้เป็นเจ้าหน้าที่ของทางการ ตั้งแต่นั้นชาวบ้านก็ได้สร้างกรงเหล็กกันโขมย นำหลวงพ่อทองประดิษฐานไว้จนถึงทุกวันนี้
นายขจรศักดิ์ ศรีบุญเรือง ลูกหลานชาวบ้านด่าน ได้ประสบกับเมตตาบารมีของหลวงพ่อทองกับตนเองถึงสองครั้งด้วยกัน คือ ครั้งแรกเมื่อเรียนจบ ม.6 ไปสอบเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย แต่สอบไม่ได้ พอปีถัดมก่อนไปสอบครั้งที่ 2 ได้ตั้งจิตอธิษฐานกับหลวงพ่อทองขอให้สอบได้ ปรากฏว่าสอบได้ที่มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร แต่มีเหตุจำเป็นทำให้ไม่สามารถไปเรียนได้ จึงได้เปลี่ยนเส้นทางชีวิตไปทำงานหาเงินเลี้ยงชีพ ใ่ช้เวลาทำงานอยู่ กทม.อีกหลายปี จึงได้กลับมาเยี่ยมบ้าน ก่อนกลับ กทม.ได้อธิษฐานกับหลวงพ่อทองอีกครั้งว่าให้ทำมากินเจริญรุ่งเรือง ถ้าพออยู่พอกินแล้วจะกลับมาสร้างวิหารนำหลวงพ่อทองออกมาจากกรงขัง คำอธิษฐานเป็นจริงจึงได้มาเป็นกำลังหลักในการสร้างวิหารหลวงพ่อตามเจตนารมย์ที่ตั้งใจไว้
ข่าว/ภาพ ...... บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ