Biz news

เปิดระดมกึ๋นบริหารจัดการ Thailand Competitiveness Conference 2022



กรุงเทพฯ-สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA)  เปิดเวทีระดมความคิดและมุมมองด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย พร้อมเจาะลึกมุมมองด้านบริหารจัดการธุรกิจ และ การบริหารคน จากผู้เชี่ยวชาญในองค์กรระดับประเทศร่วมแบ่งปันองค์ความรู้และประสบการณ์ ในงาน THAILAND COMPETITIVENESS CONFERENCE 2022 : “Thailand: Fit For The Future?”

วิทยากรจาก IMD เสนอถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของโลกที่มีต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศและข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยอย่างเจาะลึกการเปลี่ยนแปลงภายนอกที่รุนแรงเกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลกส่งผลกระทบกับหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย     โดยหนึ่งในตัวชี้วัดมาจากขีดความสามารถในการแข่งขันที่ปรับตัวลดลงถึง 5 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 33 จาก 63 โดยมีอันดับลดลงในทุกปัจจัยชี้วัด โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

คุณนิธิ ภัทรโชค ประธานสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การสัมมนาในครั้งนี้มุ่งการสร้างความสามารถการสร้างนวัตกรรม บริหารบุคลากร ยกระดับการปรับตัวภาครัฐ การปรับตัวกฎหมายให้ทันสมัย รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันให้มุมมองและวิเคราะห์ถึงทิศทางประเทศในอนาคต การสร้างแรงกระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจที่จะขับเคลื่อนและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

 

“The New World Order and Challenges for ASEAN” ... “ระเบียบโลกใหม่และความท้าทายสำหรับอาเซียน”

Professor Kishore Mahbubani Distinguished Fellow, Asia Research Institute, National University of Singapore กล่าวในหัวข้อ “The New World Order and Challenges for ASEAN” ไว้อย่างน่าสนใจ ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า เกือบ 99.9% ที่พลวัตของโลกจะถูกขับเคลื่อนโดยการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดจากการแข่งขันระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งอาเซียนจะได้รับผลกระทบจากปัญหานี้อย่างแน่นอน

Professor Kishore Mahbubani Distinguished Fellow, Asia Research Institute, National University of Singapore

การขับเคลื่อนในเชิงโครงสร้างที่ลึกล้ำระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนมาจากความคาดหวังของชาวตะวันตกในการเปลี่ยนแปลงจีนให้เป็นรัฐประชาธิปไตยเสรี การแข่งขันครั้งนี้จะเร่งขึ้นใน 10-20 ปี แม้ว่าสหรัฐฯ จะเป็นประเทศ                ที่น่าเกรงขาม และประสบความสำเร็จมากที่สุด แต่สหรัฐฯ ก็กำลังต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากรายได้เฉลี่ยของคนอเมริกันที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาเป็นเวลา 30 ปีแล้ว ในขณะที่จีนกำลังพัฒนารัฐที่มีคุณธรรมที่ยืดหยุ่นได้ และชาวจีนมีความมั่นใจอย่างมากในอนาคตของตัวเอง ในด้านของข่าวดีมองว่าทั้งสองฝ่ายจะเสนอผลประโยชน์ให้กับประเทศอื่นๆ เช่น กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก ซึ่งไทยเข้าร่วมด้วย

“Thailand: Overcoming Today Challenges for Better Tomorrow”  ... “ประเทศไทย: เอาชนะความท้าทายเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า”

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความท้าทายสำหรับประเทศไทยที่ลดลงให้กลับไปอยู่ในจุดที่สูงขึ้นนั้น สามารถทำได้ด้วยการปรับวิธีคิดและการทำงานใหม่

“ถ้าเราทำเหมือนเดิม เราจะได้สิ่งที่แตกต่างได้อย่างไร”

การเปลี่ยนเพื่อก้าวไปให้ถึงจุดที่ดีกว่า สิ่งขับเคลื่อน คือกระบวนการตัดสินใจ การดำเนินงานที่ผ่านมาเราเน้นการทำแผนหลายอย่าง แต่พอลงมือทำมักจะไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งยากที่จะเดินไปสู่เป้าหมาย

ประเด็นปัญหาด้านคน ระบบราชการไม่สามารถดึงคนเก่งไปร่วมงาน หรือในกรณีที่ได้คนเก่งเข้าไปทำงานจะพบว่ามีปัญหากับวัฒนธรรมการทำงาน สุดท้ายรูปแบบการทำงานที่ใช้ระบบกรรมการมากเกินไป เน้นทำแผนงานแต่ขาดการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามแผน

“สิ่งที่ทำได้เลยก็คือให้เอกชนเป็นคนนำ รัฐบาลคือคนตาม ผมคิดว่า เอกชนต้องกลับไปนำให้ได้ ด้วยการพูดคุยกันแล้วหาคำตอบในเอกชนด้วยกันเองว่าอยากเห็นประเทศไปในทิศทางไหน อะไรคือ New Thailand แล้วเดินไปเสนอด้วยแผนเดียว และควรเลือกที่จะทำในสิ่งที่เป็นไปได้ในช่วงระยะ 2-3 ปีเท่านั้น แล้วมุ่งทำให้เกิดขึ้นได้จริง เช่น อาหาร การแพทย์ ท่องเที่ยว เป็นต้น”

และสุดท้าย การสร้างขีดความสามารถให้กับประเทศไทยอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น สร้างโอกาสในวิกฤตด้วยการดึง คนเก่งจากทั่วโลก เข้ามาในไทยได้ด้วยการปลดกฎระเบียบต่าง ๆ

คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช กรรมการ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า เอกชนต้องเตรียมตัวรับดิสรัปชั่นที่เข้ามา ไม่อย่างนั้นอาจล้มหายตายจาก หัวใจสำคัญอยู่ที่การลงมือปฏิบัติ และการทำให้แผนที่วางไว้ประสบผลสำเร็จให้ได้ โดยให้ความสำคัญกับสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันและสิ่งนั้นสามารถแข่งขันได้ พร้อมกันนี้ก็พยายามสร้างโอกาสจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นใหม่ ยกตัวอย่าง Aging Society และอุตสาหกรรมด้านเกษตรและอาหาร เป็นสิ่งที่ไทยมีความพร้อม และสามารถเติบโตไปพร้อมกับแนวโน้มของธุรกิจในอนาคตได้

“การนำเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยไปสู่ S-Curve ให้ได้ เช่น การท่องเที่ยว และ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สองตัวนี้จะเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะสั้นให้กับประเทศได้  ส่วนในระยะยาวอุตสาหกรรมด้านสุขภาพก็มีศักยภาพ ถ้ากระตุ้นด้วยนวัตกรรมให้มีความแข็งแกร่ง เราอาจเป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านสุขภาพของภูมิภาคนี้”

Dialogue “How do we fare?”  ... ประเทศไทยจะเดินในเส้นทางไหน ?

คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) และกรรมการอำนวยการ TMA เปิดเผยว่า สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำคือ การเปลี่ยนจำนวนให้เป็นคุณภาพ  และทำอย่างไรจะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่ทำอยู่นี้ให้สามารถรับนักท่องเที่ยวในจำนวนที่ไม่มากเท่าเดิม แต่พักอยู่นานขึ้น และ ใช้จ่ายมากขึ้น

“เป็นสิ่งที่พูดง่าย แต่ทำยาก และเราไม่สามารถทำคนเดียวได้ อย่างเช่น ที่พักอาศัยของผู้สูงวัย ซึ่งต้องแก้เรื่องกฎระเบียบ ทางกายภาพของอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับเปลี่ยนรองรับ ซึ่งต้องจับมือกับหลายหน่วยงานร่วมกันทำ”

ประเด็นต่อมาเป็นเรื่องของทักษะ และการศึกษา ที่ต้องทำงานร่วมกันระหว่างธุรกิจกับหน่วยงานต่างๆ และ สุดท้าย หากเราจะทำให้ธุรกิจเดินไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน ต้องรู้ให้ได้ก่อนว่า ทำธุรกิจเพื่ออะไร อยากจะไปในทิศทางไหน เพื่อสร้างตัวตนที่ชัดเจนขึ้นมา จากนั้นสร้างคนและทัศนคติของคนที่มีต่อการทำงาน และต่อมาเป็นเรื่องของผลกำไรในการดำเนินธุรกิจ

“โลกยุคนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว มีโมเดลธุรกิจเกิดใหม่เยอะมาก เช่น Airbnb ดังนั้นการทำธุรกิจจากนี้ควรสร้างสมดุลของงานและโครงการที่บริหารอยู่ให้ดี ตัวไหนซื้อควรซื้อ ตัวไหนควรขายก็ต้องขาย รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งแค่ต่างอุตสาหกรรมไม่พอ ต้องต่างประเทศด้วย”

ม.ล. ปีกทอง ทองใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โลกเปลี่ยนเร็วกว่าที่คิดเยอะ ดังนั้นควรเริ่มกลับมามองว่าประเทศไทยมีจุดเด่นเรื่องใด ในทางภูมิศาสตร์ไทยอยู่ตรงกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในแง่ประชากร เทียบกับทางยุโรปมี 400 ล้านคน อเมริกา 300 กว่าล้านคน ขณะที่อาเซียนมีราว 600 กว่าล้านคน แต่หากกลับมามองที่การเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี กลับพบว่ามีตัวเลขที่ต่ำกว่าหลายเท่า

“The World is Changing: What about Competitiveness” ... “โลกกำลังเปลี่ยนไป :  อะไรคือขีดความสามารถในการแข่งขัน”

Professor Arturo Bris Director World Competitiveness Center, IMD กล่าวถึง ความสามารถในการแข่งขัน คือความสามารถในการสร้างมูลค่า การจ้างงาน และอนาคตสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศในอีก 3-5 ปีข้างหน้า โดยผู้บริหารหรือผู้นำควรให้ความสนใจในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ความล้มเหลวของการบรรเทาและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เหตุการณ์ร้ายแรงของการฉ้อโกง ขโมยข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ ความเสียหายและภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น

Professor Arturo Bris Director World Competitiveness Center, IMD

จากการวิจัยล่าสุดของ IMD World Competitiveness Center ผู้บริหารส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้น ผู้บริหารจำเป็นต้องสามารถจัดการวิกฤต และตอบสนองต่อวิกฤตได้อย่างทันท่วงที

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยจำเป็นต้องมุ่งความสนใจไปที่เป้าหมายของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการผลิต      การปรับปรุงระบบการศึกษาของประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการทั่วโลก พัฒนาบุคลากรที่มีทักษะมากขึ้น และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิต

“Building Innovation Capability” ... ขีดความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

ฯพณฯ นางกาญจนา ภัทรโชค เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงสตอกโฮล์ม ราชอาณาจักรสวีเดน กล่าวถึง Thailand & Nordic Countries Innovation พร้อมยกกรณีศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสร้างระบบนิเวศ ที่ภาคชุมชน ภาครัฐ เอกชน และด้านวิชาการ เดินไปสู่สังคมนวัตกรรมโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าในปี 2030 นอร์ดิคจะเป็นภูมิภาคที่เชื่อมโยงกันมากที่สุด ขีดความสามารถที่สุด และยั่งยืนที่สุด

“การสร้างสังคมนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนไปด้วยกันของที่นี่ เริ่มตั้งแต่ระบบการศึกษา การสร้างทัศนคติให้ผู้เรียนได้คิดสร้างสรรค์งาน ขณะที่ภาครัฐซึ่งมีหน่วยงานด้านนวัตกรรม ทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณ งบวิจัย และทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและธุรกิจ โดยในส่วนของงบประมาณด้านนวัตกรรมนั้นจะไม่ใช่มาจากภาครัฐทั้งหมด ส่วนหนึ่งภาคธุรกิจก็เข้ามาสนับสนุนด้วย ทำให้ธุรกิจมีความเข้มแข็ง และออกไปสร้างเครือข่ายธุรกิจในต่างประเทศ เช่น อิเกีย เอชแอนด์เอ็ม รวมถึงสตาร์ตอัพที่ไปเติบโตในระดับโลกเยอะมาก”

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวคิดและการทำงานของ ปตท. เริ่มตั้งแต่วิธีคิดที่สามารถดิสรัปชันในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงได้ 

“เรามีฐานความรู้ด้านนวัตกรรม แต่เราเติบโตไปกว่านั้นไม่ได้ ทำให้กลับมานั่งคิดว่าจริง ๆ แล้วเราต้องการขับเคลื่อนอะไรซึ่งจาก 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ได้เลือกเอา Life Science อาทิ ธุรกิจยา ธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์ มาทำงานพร้อมกับตั้งบริษัทใหม่ชื่อ อินโนบิก ขึ้นมา ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ โดยมีเป้าหมายที่การพัฒนาศักยภาพความสามารถของ ปตท.ในด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทย”

ด้านนายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ ผู้ร่วมก่อตั้ง RISE กล่าวว่า RISE ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นตัวเร่งสปีดนวัตกรรมให้กับองค์กรธุรกิจ และมีหน้าที่หลักในการช่วยประเทศไทยเพิ่มหนึ่งเปอร์เซ็นต์ จีดีพี

สิ่งที่เราทำในวันนี้คือเข้าไปช่วยสร้างธุรกิจใหม่โดยใช้วิถีสตาร์ตอัพ ด้วยการนำสตาร์ตอัพ และองค์กรธุรกิจมาพูดคุยกันเพื่อหาโซลูชั่นที่ดีร่วมกัน ซึ่งวิธีนี้สามารถทำให้การทำงานสำเร็จตามแผนได้เร็วขึ้น ในระยะเวลา