In Global
บทวิเคราะห์-ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน จะต้องกลับมารวมกันในสักวันหนึ่ง
บทวิเคราะห์ - ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน เกาะไต้หวันอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของจีน แต่ไหนแต่ไรมา เกาะไต้หวันก็เป็นส่วนหนึ่งของจีนที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ และจะต้องกลับมารวมกันในสักวันหนึ่ง
ในทางประวัติศาสตร์ จีนได้ปกครองเกาะไต้หวันทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ.1949 เป็นต้นมา เขตไต้หวันกลายเป็นเขตบริหารระดับมณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเป็น 1 ใน 23 มณฑลของจีน
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1949 รัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งล่าถอยไปอยู่บนเกาะไต้หวันเนื่องจากแพ้สงครามกลางเมือง หลังจากสงครามบนคาบสมุทรเกาหลีปะทุขึ้นเมื่อปี 1950 สหรัฐฯได้จัดส่งกองเรือที่ 7 ไปรุกรานเขตไต้หวัน และได้ลงนามสนธิสัญญาเพื่อป้องกันร่วมกันกับทางการไต้หวัน โดยจัดเขตไต้หวันอยู่ใต้การคุ้มครองของสหรัฐฯ เป็นเหตุให้จีนแผ่นดินใหญ่กับเขตไต้หวันตกอยู่ในสภาพที่แบ่งแยกกัน เมื่อเดือนมกราคมปี 1979 จีน-สหรัฐฯได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ โดยสหรัฐฯยอมรับว่ารัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นรัฐบาลชอบธรรมเพียงหนึ่งเดียวของจีน เขตไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน และยกเลิกสนธิสัญญาเพื่อป้องกันร่วมกัน อีกทั้งถอนทหารออกจากเขตไต้หวัน แต่เมื่อเดือนเมษายนปีเดียวกัน สหรัฐฯได้ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์กับเขตไต้หวัน เพื่อให้การสนับสนุนทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหารต่อเขตไต้หวันต่อไป
ถึงแม้ว่าจีนแผ่นดินใหญ่กับไต้หวันยังไม่ได้รวมเป็นปึกแผ่น และบรรลุความเป็นเอกภาพก็ตาม แต่สภาพความเป็นจริงที่ทั้งจีนแผ่นดินใหญ่และเขตไต้หวันล้วนอยู่ในจีนประเทศเดียวนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด หลักการจีนประเทศเดียวหมายถึง ทั้งจีนแผ่นดินใหญ่และเขตไต้หวันล้วนขึ้นอยู่กับจีนประเทศเดียว ซึ่งเป็นฉันทามติของประชาคมโลก และเป็นกฎเกณฑ์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ได้รับการยืนยันจากมติ 2758 ของสหประชาชาติ ปัญหาไต้หวันเป็นปัญหาที่เหลือตกทอดจากสงครามกลางเมืองของจีน แก่นแท้ของปัญหาไต้หวันคือ ความเป็นเอกภาพของจีน ปัญหาไต้หวันเป็นเรื่องอธิปไตย พรรคคอมมิวนิสต์จีน รัฐบาลจีนและประชาชนจีนจัดการแก้ไขปัญหาไต้หวันและบรรลุความเป็นเอกภาพของมาตุภูมิเป็นภาระหน้าที่ทางประวัติศาตร์อย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่
ปัญหาไต้หวันเป็นกิจการภายในของจีน โดยห้ามอิทธิพลภายนอกไปแทรกแซง หลักนโยบายในการแก้ไขปัญหาไต้หวันคือ “บรรลุความเป็นเอกภาพอย่างสันติ หนึ่งประเทศสองระบบ” แต่ไม่รับรองว่าจะไม่ใช้กำลังอาวุธ การที่จีนแผ่นดินใหญ่ไม่ยอมยกเลิกวิธีการใช้กำลังอาวุธในการรวมไต้หวันกลับคืนสู่อ้อมอกมาตุภูมิ ไม่ได้เจาะจงต่อพี่น้องไต้หวัน ก็เพื่อต่อต้านอิทธิพลต่างประเทศที่จะแทรกแซงการรวมจีนเป็นเอกภาพหรือมุ่งที่จะให้ไต้หวันเป็นเอกราช
เนื่องด้วยสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวันได้ร่วมกันใช้ความพยายาม ทั้งสองฝ่ายได้ทำลายสภาพการปิดกั้นและเริ่มมีการไปมาหาสู่กันตั้งแต่เมื่อทศวรรษปี 1980 เป็นต้นมา โดยเปลี่ยนจากความเป็นปฏิปักษ์กันหันไปสู่การผ่อนคลายลง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บุคคลสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวันได้มีการไปมาหาสู่กันและการแลกเปลี่ยนกันทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และด้านต่าง ๆ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2015 สี จิ้นผิงประธานาธิบดีจีนและหม่า อิงจิ่ว ผู้นำทางการไต้หวันได้พบปะกันที่กรุงสิงคโปร์ ถือเป็นครั้งแรกที่ผู้นำทั้งสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวันได้พบปะกันหลังจากปี 1949 เป็นต้นมา จากสถิติของสำนักงานศุลกากรจีนแผ่นดินใหญ่พบว่า ปี 2021 อัตราการค้าระหว่างสองฟากฝั่งไต้หวันทะลุ 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีธุรกิจไต้หวันจำนวนเกือบ 6,000 รายมาประกอบการในจีนแผ่นดินใหญ่ นอกจากนี้ มีธุรกิจจำนวนกว่า 40 แห่งได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จีนแผ่นดินใหญ่แล้ว
เนื่องจากสาเหตุทางประวัติศาสตร์และสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างสองฟากฝั่งไต้หวันยังคงมีปัญหาจำนวนหนึ่งที่ยากที่จะแก้ไขได้ดำรงอยู่ หลังจากเดือนพฤษภาคมปี 2016 ที่นางไช่ อิงเหวิน ดำรงตำแหน่งผู้นำทางการไต้หวัน เธอชูสิ่งที่เรียกว่า “ทัศนะประเทศจีนที่แตกต่างกัน” โดยประกาศว่า “ไต้หวันเป็นประเทศประชาธิปไตย” โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไช่ อิงเหวินสมรู้ร่วมคิดกับอิทธิพลภายนอกเพื่อให้ไต้หวันเป็นเอกราช เป็นเหตุให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวันสลับซับซ้อนยิ่ง สถานการณ์ระหว่างสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวันปั่นป่วนและตึงเครียด
อย่างไรก็ตาม การรวมจีนแผ่นดินใหญ่กับเขตไต้หวันเป็นปึกแผ่นเป็นความปรารถนาร่วมกันของประชาชนทั้งสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวัน ขอแต่ให้ทั้งสองฝ่ายยึดมั่นเจตนารมณ์ที่ไว้วางใจกัน แสวงหาจุดร่วมในขณะที่สงวนความแตกต่างไว้ และได้รับชัยชนะร่วมกัน ก็จะผลักดันให้การเจรจาระหว่างสองฟากฝั่งไต้หวันได้รับผลงานที่เป็นคุณ เชื่อว่า พร้อมไปกับวันเวลาที่ผันผ่าน ปัญหาไต้หวันย่อมจะได้ข้อยุติ และไต้หวันย่อมจะกลับคืนสู่อ้อมอกของมาตุภูมิ
เขียนโดย โจว ซวี่ ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)