Travel & Entertain

สสปน.เปิดเวทีสัมมนาวิถีไมซ์ตะวันออก 'สุขใจชายเล'Eastern MICE



ชลบุรี-สสปน.เปิดเวทีสัมมนาวิถีไมซ์ตะวันออก "สุขใจชายเล" Eastern MICE เชื่อมโยง ธุรกิจไมซ์ 4 ฝั่งชายทะเล CVTEC

วันที่ 24 ส.ค.65 ที่ห้อง Orchid Garden โรงแรม AVANI Pattaya Resort จ.ชลบุรี สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) หรือทีเส็บ ได้จัดกิจกรรมงานสัมมนาวิถีไมซ์ตะวันออก "สุขใจชายเล" Eastern MICE เชื่อมโยง ธุรกิจไมซ์ 4 ฝั่งชายทะเล CVTEC

โดยมี วิทยากรผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย นางอรชร ว่องพรรณงาม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ นายสำราญ สอนผึ้ง ผู้อำนวยการฝ่านอาวุโส ฝ่ายหน่วยตรวจ สถาบันรับรองมาตรฐาน ISO นายพิเชษฐ์ ตุรงคินานนท์ CEO Office / Assistance CEO, Special Project and Museum นายพิสูจน์ แซ่คู นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันออก นางสาวฐิติภัสร์ ศิรณัฐศรีกุล นายกสมาคมแหล่งท่องเที่ยวชลบุรี

โดย นายรัตนชัย สุทธิเดชานัย ผู้แทนการตลาดสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) เปิดเผยว่า การสัมมนาวิถีไมซ์ตะวันออก "สุขใจชายเล" Eastern MICE เชื่อมโยง ธุรกิจไมซ์ 4 ฝั่งชายทะเล CVTEC ในครั้งนี้ ทาง สสปน.ได้ให้สถาบันรับรองมาตรฐานไอโอเอส หรือ แมสซากี จัดขึ้นภายใต้โครงการมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย หรือ Thailand Mice Venue Standard (TMVS) ประจำปี 2565 

กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกันใน 2 รูปแบบ คือ ทั้งแบบออนไซค์ที่โรงแรม AVANI พัทยา และแบบออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ MICE Capabilities  เพื่อเตรียมความพร้อมและแสดงความเชื่อมั่นของภาคตะวันออกที่พร้อมจะเป็นจุดหมายปลายทางของการจัดงานไมซ์ ตอบสนองความต้องการของนักเดินทาง นักธุรกิจ ผู้จัดการประชุมและผู้จัดงาน ในการเลือกหาสถานที่สำหรับทำกิจกรรมไมซ์ที่มีศักยภาพและมีมาตรฐานที่จัดงานประเทศไทย (Thailand MICE Venue Standard -TVS)

ตลอดจนเชื่อมโยงเส้นทางไมซ์ 4 จังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก ประกอบด้วย จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดตราด เข้าสู่ระเบียงเศรษฐกิจเขตชายฝั่งทะเลตะวันออก CVTEC (Cambodia-Vietnam-Thailand Economic Corridor Conference) และเพื่อการพัฒนาการสร้างมาตรฐานบนทางไมซ์ของประเทศไทยต่อไปอย่างยั่งยืน

สำหรับ CVTEC (Cambodia-Vietnam-Thailand Economic Corridor Conference) เป็นโครงการที่รัฐบาลมุ่งพัฒนาและใช้ประโยชน์จากพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจชายฝั่งด้านใต้ของประเทศไทย กัมพูชาและเวียดนาม ด้วยการส่งเสริมและยกระดับศักยภาพ การเชื่อมโยงด้านการค้าการลงทุน ด้านโลจิสติกส์ การท่องเที่ยวและไมซ์ ด้านการพัฒนาบุคลากร ในภาคบริการ ตลอดแนวพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจชายฝั่งด้านใต้ (Southern Coastal Sub-Corridor) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ของไทย จังหวัดเกาะกง-สีหนุวิลล์-กัมปอต-แกป ของกัมพูชา และจังหวัดเกียนยาง-กาเมา ของเวียดนาม