In Thailand
ปราจีนฯใบกัญชา ส่งขาย รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปัจจุบันราคา กก.ละ 6,000
ปราจีนบุรี-รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร นำร่องกัญชาเพื่อการรักษาโรค-สุขภาพ นั้น พบราคาใบกัญชา ส่งขาย รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ราคา ปัจจุบัน กิโลกรัมละ 6,000 บาท - ยังใช้ประโยชน์สารพัดทั้งสร้างรายได้ - ดูแลสุขภาพ – อาหารการกิน หลังจากร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ถูกถอนออกจากวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรไปปรับแก้ไข ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวกับกัญชาออกไปก่อนจนกว่ามีกฎหมายแม่ออกมา
วันนี้ 18 ก.ย.65 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า สถานการณ์เกี่ยวกับกัญชา มี รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นผู้นำร่องหลักในการศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยที่ผ่านมา จ.ปราจีนบุรี มี กลุ่มวิสหกิจชุมชนการปลูกกัญชาประกอบด้วย มูลนิธิ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร , กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ ต.บ้านพระ อ.เมืองปราจีนบุรี , กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ ต.เขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี มีโรงงานสกัดสารกัญชา ที่ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร พร้อมมีคลินิกกัญชาทางการแพทย์ที่ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ,รพ.ประจำอำเภอ ทั้ง 7 แห่ง และ รพ.สต.บ้านพระ 1 แห่ง
นายสุนทร คมคาย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ ต.เขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า พื้นที่ในการปลูกเกษตรอินทรีย์ ของชาว ต.เขาไม้แก้ว รวมกว่า 500 ไร่ ทำการปลูกกัญชา รวม 1,000 ต้น ทำข้อตกลงMOU.กับ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จำหน่ายใบกัญชา ราคา ปัจจุบัน กิโลกรัมละ 6,000 บาท พร้อมกับจำหน่ายต้นในราคาต้นละ 50 บาท (ต้นสูง 1 ฟุต)”นายสุนทร กล่าว
ทั้งนี้ กลุ่มเกษตรอินทรีย์เขาไม้แก้ว ได้ลงนามข้อตกลง (MoU) กับรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อเพาะปลูกกัญชาสายพันธุ์ไทย ‘พันธุ์หางกระรอกภูพาน’ จำนวน 1,000 ต้น โดยปลูกในโรงเรือน ระบบปิด จำนวน 4 โรง เป็นการปลูกแบบอินทรีย์
เริ่มปลูกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ใช้เวลาปลูกประมาณ 5-6 เดือนจึงเริ่มเก็บเกี่ยวได้ โดยจะเก็บเกี่ยวเฉพาะใบ นำใบมาอบแห้งเพื่อไล่ความชื้นและป้องกันเชื้อราแล้วส่งมอบให้แก่ รพ. ก่อนหน้า ที่ผ่านมาส่งมอบกัญชาอบแห้งไปแล้วจำนวน 85 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 5,500 บาท
นอกจากนี้กลุ่มยังร่วมมือกับ รพ.สต. เขาไม้แก้ว ปลูกกัญชาเพื่อการแพทย์อีกจำนวน 50 ต้น เริ่มปลูกในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตามแผนงานจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์ร่วมกันลงหุ้นๆ ละ 500 บาท คนหนึ่งไม่เกิน 20 หุ้น เพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูกกัญชา เช่น ค่าโรงเรือน แรงงาน เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ
“กัญชาถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ เป็นพืชทางเลือกที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องปลดล็อกเพื่อให้นำดอกกัญชามาใช้ประโยชน์ได้ เช่น นำมาเป็นเครื่องปรุงรส หรือผงนัว ใส่ในอาหาร แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ต้มยำ เพราะดอกกัญชามีคุณสมบัติทำให้อยากอาหาร เมื่อใส่แล้วจะทำให้อาหารมีรสชาติอร่อย ทำให้ใช้ประโยชน์จากกัญชาได้หลายอย่าง ไม่ใช่เฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น”
สุนทรเสนอความเห็น และว่า กลุ่มฯ มีแผนที่จะนำผลผลิตจากกัญชามาผลิตเป็นสินค้าต่างๆ เช่น คุ๊กกี้กัญชา ชาชงดื่ม น้ำกัญชาสด ผงนัวหรือผงชูรสที่ผลิตจากกัญชา ลูกประคบกัญชา ฯลฯนายสุนทร กล่าว กล่าว
มานิตย์ สนับบุญ/ปราจีนบุรี