In Thailand

ลงพื้นที่ตรวจประเมินผลการดำเนินการโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน



มหาสารคาม-ที่ปรึกษากองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะ  ลงพื้นที่ตรวจประเมินผลการดำเนินการโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร ตามยุทธศาสตร์ชาติ  สภ.วาปีปทุม 

ที่ อาคารอเนกประสงค์โรงเรียนบ้านหนองแสน ม.1 ต.หนองแสน อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม พล.ต.ท.บุญจันทร์ นวลสาย ที่ปรึกษา กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะ พร้อมด้วย พ.ต.อ.ธวัชชัย  สัตยพัฒน์ รอง ผบก.ภ.จว.มหาสารคาม พ.ต.อ.ไกรทอง  ชัยสิงห์ ผกก.สภ.วาปีปทุม พ.ต.ท.เอนก  รัฐหนองขี รอง ผกก.ป.ฯ  พ.ต.ท.สุนทร ประจักโก รอง ผกก.สส.ฯ  พ.ต.ท.ทวีป  สืบสุนทร สว.อก.ฯ  พ.ต.ต.พิเชฐ สีอองโคตร สว.สส.ฯ  ชุด จชส.,ปส.สภ.วาปีปทุม  ตรวจประเมินผลการดำเนินการโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยมี  พล.ต.ท.บุญจันทร์ นวลสาย ที่ปรึกษา กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานฯ พร้อม นายก อบต.หนองแสน ปลัดอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ ผอ.รร. อสม. ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนในพื้นที่ ร่วมตรวจประเมินผลการดำเนินการโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2565 ของ สภ.วาปีปทุม

ทั้งนี้ กระบวนการสร้างชุมชนยั่งยืน สภ.วาปีปทุม ซึ่งได้มีการดำเนินการตั้งแต่ 1.ขั้นตอนเตรียมการ ระหว่างวันที่ 25 เม.ย.-3 มิ.ย.65 โดยมีการแต่งตั้งชุมชนปฏิบัติการบูรณาการ  การสืบสภาพชุมชน/พบปะแกนนำ และจัดเครื่องมือในการเปิดประชาคม   2.ขั้นตอนการปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 5 มิ.ย.-10 ส.ค.65 ซึ่งมีการลงพื้นที่เข้าพักแรม กระบวนการสร้างแนวร่วม ค้นหาผู้เสพเอกซเรย์ 100%  การกลั่นกรองกระบวนการชุมชนบำบัด การสร้างชุมชนเข็มแข็ง ติดตามช่วยเหลือ เยี่ยมบ้าน สร้างกฎ ฟื้นฟูชุมชน  และ 3.ขั้นตอนส่งต่อความยั่งยืน ระหว่างวันที่ 11-31 ส.ค.65 ซึ่งเป็นการส่งมอบพื้นที่ รักษาสภาพ/การเฝ้าระวัง และติดตามผล  ซึ่งผลที่ได้รับจากการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนหลังเสร็จสิ้นโครงการ  มีเด็กที่ติดยาเสพติดกลุ่มเป้าหมาย 10 คน  สามารถเลิกยาเสพติดได้  มีการสร้างอาชีพให้ โดยสำรวจความต้องการจากการประเมินแต่ละคน ,ชุมชน/หมู่บ้าน พึงพอใจที่มีโครงการ เนื่องจากผลที่ได้รับ ทำให้อาชญากรรมในพื้นที่ไม่เกิดขึ้น  ไม่มีกลุ่มวัยรุ่นมั่วสุม ขับรถซิ่ง เสียงดัง  และจากการสำรวจความคิดเห็นผู้ปกครองหลังปิดโครงการ ทุกคนให้ความเห็นว่า เด็กหรือผู้ติดยา มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น มีการช่วยเหลือกิจกรรมของครอบครัว ซึ่งจากการประสานร่วมกับฝ่ายปกครอง และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในพื้นที่  ได้รับความร่วมมือโดยได้นำโครงการไปต่อยอดและจัดสรรงบประมาณในปีต่อไป  ทำให้ชุมชนสามารถดูแลตนเองได้ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยเป็นที่ปรึกษาให้

พิเชษฐ ยากรี / มหาสารคาม