In Thailand
รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามแก้ไขปัญหาอุทกภัยจ.ศรีสะเกษ
ศรีสะเกษ-ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่จังหวัดศรีสะเกษ
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และน.สพ.ประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นำหัวน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมให้การต้อนรับและบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
หลังจากนั้นนายประภัตร โพธสุธน รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ก็ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมให้กำลังใจแก่ราษฎรที่ประสบภัยน้ำท่วมที่บ้านขาม ตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จังหวัดศรีสะเกษ มีฝนตกสะสมตั้งแต่เมษายน-กันยายน 2565 และมีมวลน้ำจากจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์และแม่น้ำชี ไหลมาผ่านจังหวัดศรีสะเกษไปสู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี และมีฝนตกมากในระหว่างวันที่ 17-28 กันยายน 2565 จากพายุ"โนรู" ทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร ราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั้ง 22 อำเภอ 1 ทม. 23 ชุมชน 168 ตำบล 1,291 หมู่บ้าน รวม 52,763 ครัวเรือน มีพื้นที่การเกษตรประสบภัย 312,403 ไร่ เป็นนาข้าว 288,942 ไร่ พืชไร่ 22,547 ไร่ พืชสวน 914 ไร่ มีสัตว์เลี้ยงจำนวน 56,978 ตัว มีบ่อปลา 1,144.34 ไร่ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 10 ราย มีผู้อพยพไปที่จุดพักพิงชั่วคราวจำนวน 7 อำเภอ 837 ครัวเรีอน 2,495 คน
จังหวัดได้ประกาศพื้นที่ประสบสาธารณภัย กรณีฉุกเฉินทั้ง 22 อำเภอ สำหรับการเตรียมการและการให้ความช่วยเหลือ ได้จัดทำแผนเผชิญเหตุจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ดำเนินการภายใต้ 13 มาตร การรับมือฤดูฝน2565 การปฏิบัติงานกายใต้ศูนย์บริหารจัดการน้ำ จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดศรีสะเกษบูรณาการการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลบริหารจัดการน้ำเฝ้าระวังแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงให้สามารถเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย รวมถึงการประเมินผลกระทบต่อประชาชนที่มีแนวโน้มขยายวงกว้าง มีการประชุมประเมินสถานการณ์และแก้ไขปัญหาทุกวัน ช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ การจัดการเส้นทางคมนาคมให้สามารถเดินทางสัญจรได้ การขนส่งอาหารน้ำดื่มเข้าถึงพื้นที่โดยเรือท้องแบนและทางอากาศยานสำหรับพื้นที่ติดเกาะ เพิ่มช่องทางการสื่อสารการขอรับการช่วยเหลือและสร้างความเข้าใจ จัดตั้งศูนย์รับบริจาคที่ศาลากลางจังหวัดและการช่วยเหลือด้านการเกษตรและปศุสัตว์ เคลื่อนย้ายจัดอาหารสัตว์ ปัญหาเร่งด่วนอื่นๆด้วย ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ได้ลดลงประมาณวันละ 5-10 ซม.เมื่อน้ำลดลงเข้าสู่ปกติแล้ว จังหวัดจะได้เร่งสำรวจและให้การช่วยเหลือแก่ประชาชนโดยเร่งด่วนต่อไป
ด้าน น.สพ.ประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า จังหวัดศรีสะเกษ มีสัตว์เลี้ยงได้รับผลกระทบทั้ง 22 อำเภอ มีเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้รับผลกระทบจำนวน 8,805 ราย มีสัตว์ได้รับผลกระทบจำนวน 56.,978 ตัว เป็นโคเนื้อ 32,573 ตัว กระบือ 7,771 ตัว สุกร 207 ตัว สัตว์ปีก 16,377 ตัว แพะ 50 ตัว การช่วยเหลือเกษตรกร ได้ดำเนินการอพยพเคลื่อนย้ายโคและกระบือ ตรวจรักษาพยาบาลสัตว์ป่วยเบื้องต้น จำนวน 1,097 ตัว ทำการถ่ายพยาธิ ฉีดยาบำรุง รวม 1,104 ตัว และกรมปศุสัตว์ ได้จัดส่งมอบหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน ให้แก่เกษตรกรจำนวน 184,480 กิโลกรัม สนับสนุนถุงยังชีพปศุสัตว์จำนวน 100 ชุด พร้อมสนับสนุนแร่ธาตุเวชภัณฑ์ และจังหวัดรีสะเกษ ได้รับมอบอาหารสัตว์พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคจากองค์กรปกครองท้องถิ่นและส่วนราชการจังหวัดศรีสะเกษด้วย
ข่าว บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ
ภาพ ปฐมพงษ์ ธุศรีวรรณ