In News
ดีอีเอสลงนามกับก.เทคโนโลยีฯสปป.ลาว ร่วมมือพัฒนาดิจิทัล-อีคอมเมิร์ซ8ปี
กรุงเทพฯ-ดีอีเอส ร่วมกับ กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสปป.ลาว ลงนามด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม และไอที รองรับการพัฒนาดิจิทัล และอีคอมเมิร์ซ ระยะเวลา 8 ปี
วันนี้ ( 7 พฤศจิกายน 2565) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding หรือ MoU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัล กับ ศ.ดร. บ่อเวียงคำ วงดาลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อส่งเสริมการค้าการแลกเปลี่ยนด้านเทคนิค รวมถึงการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่งเสริมการพัฒนาด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล บนพื้นฐานของความ เท่าเทียม ต่างตอบแทนและผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือในระยะยาว อย่างยั่งยืน ภายใต้กฎหมายและระเบียบของผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย โดยมีระยะเวลาความร่วมมือ 8 ปี แบ่งเป็นบันทึกความเข้าใจจะมีผลบังคับใช้ในวันที่มีการลงนาม และจะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยจะมีการขยายเวลาอัตโนมัติออกไปอีก 3 ปี
“ความร่วมมือของทั้งสองกระทรวง ในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยกระชับความเป็นหุ้นส่วนที่ดีระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจะส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุน การพัฒนาด้านเทคนิค การขยายตลาด และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัลด้วย” นายชัยวุฒิกล่าว
ศ.ดร. บ่อเวียงคำ วงดาลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือไปรษณีย์โทรคมนาคม เทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลของทั้งสองประเทศในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกระทรวงระหว่างกัน เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับประชาชนลาวและไทยต่อไปในอนาคต
นายชัยวุฒิ กล่าวต่อไปอีกว่า กรอบความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย จะมีการร่วมกันกำหนด แนวปฏิบัติในการกำกับดูแล และนโยบายด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัลรัฐบาลดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัล เมืองอัจฉริยะ ทักษะด้านดิจิทัล ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีที โทรคมนาคม และดิจิทัล ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ดิจิทัล คอนเทนต์ (Digital content) และการบริการที่เกี่ยวข้องโครงสร้างพื้นฐานด้านบรอดแบนด์
และการพัฒนาการให้บริการ นวัตกรรมด้านไอซีทีและเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data), อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things - IoT) และ คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing) โอกาสด้านดิจิทัล เช่น การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital literacy) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมโอกาสและ ศักยภาพของประชาชน (Digital inclusion) และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e - Commerce) การวิจัย พัฒนา
และนวัตกรรมในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ เทคโนโลยีดิจิทัล การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงความร่วมมือและความช่วยเหลือในด้านการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้แก่วิสาหกิจเพื่อสร้างความร่วมมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัลสาขาอื่น ๆ
การลงนามเอ็มโอยู ยังจะมีแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จ ความก้าวหน้า และแผนการพัฒนาในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัลมีการแลกเปลี่ยนการเยือน การประชุม และการหารือ รวมถึงแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนที่เกี่ยวข้องมีการดำเนินโครงการความร่วมมือ (Joint projects) ในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและศักยภาพในด้านต่าง ๆ ร่วมกันของทั้งสองประเทศ
อย่างไรก็ตาม ความร่วมยังมีการอำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจสตาร์ทอัพ ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยี ดิจิทัล มีจัดนิทรรศการ โครงการฝึกอบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ และสัมมนารวมถึงรูปแบบความร่วมมืออื่นๆ ในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ เทคโนโลยีดิจิทัลตามที่ตกลงร่วมกันด้วย
“สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทย เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีสัมพันธภาพและ. มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมาเป็นระยะเวลานาน ความร่วมมือกันในครั้งนี้ยังขยายไปสู่ความร่วมมือทางด้าน ไอที ดิจิทัลการค้าในรูปแบบของการซื้อขายสินค้าอีคอมเมิร์ซไร้พรมแดน การรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากร ซึ่งจะทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาทางด้านไปรษณีย์ เทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมใหม่ร่วมกันด้วย ความร่วมมือที่เกิดขึ้นสามารถสร้างประโยชน์ให้กับภาครัฐ เอชนและประชาชนในการพัฒนาเศรษฐกิจ ไปรษณีย์ โทรคมนาคมและไอทีของทั้งสองประเทศให้เกิดความมั่งคง ความปลอดภัยในโลกยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด” นายชัยวุฒิกล่าวทิ้งท้าย