In Global

องค์กรพลังงานระหว่างปท.ชี้โลกได้เข้าสู่ ยุคอุตฯผลิตเทคโนฯพลังงานสะอาด



โลกกำลังเข้าสู่ "ยุคอุตสาหกรรมใหม่" ของการผลิตเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ซึ่งจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นสามเท่าภายในปี 2573 และสร้างงานหลายล้านตำแหน่ง ตามการเผยขององค์กรพลังงานระหว่างประเทศ หรือ IEA (International Energy Agency) เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา

ตลาดโลกสำหรับเทคโนโลยีการผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งรวมถึงแผงโซลาร์เซลล์ กังหันลม แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ปั๊มความร้อน และอิเล็กโทรไลต์สำหรับไฮโดรเจน จะมีมูลค่าประมาณ 650,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีภายในสิ้นทศวรรษนี้ IEA คาดการณ์ในรายงาน

ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าระดับปัจจุบันมากกว่าสามเท่า แต่มีเงื่อนไขว่าประเทศต่างๆ จะต้องปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาด้านพลังงานและสภาพอากาศอย่างเต็มที่

 งานที่เกี่ยวข้องในการผลิตพลังงานสะอาดจะเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจาก 6 ล้านเป็นเกือบ 14 ล้านภายในปี 2573 

 “โลกพลังงานกำลังเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมใหม่ – ยุคแห่งการผลิตเทคโนโลยีพลังงานสะอาด” IEA กล่าว

โดยทาง IEA เตือนว่าการสกัดทรัพยากรและการผลิตที่กระจุกตัวที่ใดที่หนึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อห่วงโซ่อุปทาน

ปัจจุบัน มีสามประเทศทั่วโลกครองสัดส่วน 70% ของกำลังการผลิตสำหรับเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม แบตเตอรี่ อิเล็กโทรไลต์ และปั๊มความร้อน โดยจีน "มีอำนาจเหนือกว่าในทั้งหมด"

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกผลิตโคบอลต์มากกว่า 70% ของโลก และสามประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ชิลี และจีน คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 90 ของการผลิตลิเธียมทั่วโลก ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

รายงานที่จัดทำโดย IEA ยังระบุว่าความตึงเครียดในห่วงโซ่อุปทานทำให้การส่งผ่านพลังงาน (Energy Transition) ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนผ่านพลังงานแบบเดิมไปสู่พลังงานสะอาด ทำได้ยากขึ้น และส่งผลต่อราคาแพงขึ้นของเทคโนโลยีพลังงานสะอาด

ตัวอย่างเช่น ราคาโคบอลต์ ลิเธียม และนิกเกิลที่เพิ่มขึ้นในปี 2565 ทำให้ราคาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบ 10%

ต้นทุนของการสร้างกังหันลมนอกประเทศจีนก็พุ่งสูงขึ้นเช่นกันหลังจากราคาตกต่ำมาหลายปี ในขณะที่แนวโน้มที่คล้ายกันกำลังส่งผลกระทบต่อแผงโซลาร์เซลล์

Fatih Birol ผู้อำนวยการบริหารของ IEA เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ กระจายห่วงโซ่อุปทาน โดยอ้างถึงการพึ่งพาก๊าซของรัสเซียในยุโรปว่าเป็นตัวอย่างที่สำคัญของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการหยุดชะงักที่เกิดจากการพึ่งพาแหล่งการค้าเดียวมากเกินไป

 “ดังที่เราได้เห็นกับการที่ยุโรปพึ่งพาก๊าซจากรัสเซีย เมื่อคุณพึ่งพาบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ประเทศเดียว หรือเส้นทางการค้าเดียวมากเกินไป คุณเสี่ยงที่จะต้องจ่ายแพงหากเกิดการหยุดชะงัก” เขากล่าว

Birol ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศ "เนื่องจากไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่งที่เป็นเกาะแห่งพลังงาน และการเปลี่ยนผ่านพลังงานจะมีค่าใช้จ่ายสูงและช้ากว่าหากประเทศต่างๆ ไม่ทำงานร่วมกัน"
-----------------------------
แหล่งข้อมูล: 
https://news.cgtn.com/news/2023-01-12/World-enters-new-age-of-clean-energy-manufacturing-IEA-1gxmgzYYUQ8/index.html?fbclid=IwAR1lyLbW6R_A4DLGZL_AVCrANWK-rVykNDAKFhdAeWgCDI1GlEwXtblAwTw
https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fnihaosawadeemedia%2Fposts%2Fpfbid0H3fMyGvfqreohCKm1rwBCDxGbgyQycmWYd9bnnsKuxNgzVwLsx1X9gM2TNa27MAEl&show_text=true&width=500

#จีน #พลังงาน #พลังงานสะอาด #เทคโนโลยี #อุตสาหกรรม #IEA #cctv #cgtn #cmg