In Thailand
ผู้ว่าฯปราจีนฯสั่งทบทวนการเปลี่ยนป้าย ชื่อภูเขาทองเป็นเชิงเทินฯ
ปราจีนบุรี-ผู้ว่าปราจีนฯสั่งการประสานกรมศิลปากรขอข้อมูล ในการเปลี่ยนชื่อภูเขาทอง เป็นเชิงเทินสังเกตการณ์
วันนี้ 213 ม.ค.66 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า จากที่นายกำพล ภู่มณี อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปราจีนบุรี (สว.) และ ชาว อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรีจำนวนหนึ่ง ร่วมลงนามท้ายจดหมายส่งร้องเรียน ถึงนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อขอให้พิจารณาแจ้งไปยังกรมศิลปากรให้ทบทวนการเปลี่ยนป้ายชื่อ ‘โบราณสถานหมายเลข 3’ อําเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี จากเดิม ‘เจดีย์ภูเขาทอง’ เปลี่ยนมาเป็น ‘เชิงเทินสําหรับสังเกตการณ์ของเมือง’ เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนชื่อดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลต่อความเสียหายในประวัติศาสตร์เมืองศรีมโหสถ และ ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในอดีต เนื่องจาก โบราณสถานหมายเลข 3 เจดีย์ภูเขาทอง น่าจะเป็นเจดีย์หรือสถูปที่สําคัญทางพระพุทธศาสนาของเมืองศรีมโหสถโบราณมากกว่าจะเป็นเพียงเชิงเทินสังเกตการณ์
เพราะลักษณะของเมืองโบราณในสมัยทวารวดี ไม่ว่าจะเป็นเมืองคูบัว เมืองนครปฐมโบราณ และ เมืองศรีมโหสถ ไม่ปรากฏโบราณสถานในลักษณะเชิงเทินสังเกตการณ์ทางต้นทิศตะวันตกหรือนอกเมืองแต่อย่างใด แต่จะมีรูปแบบที่ชัดเจนว่า มีสถูปหรือเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือพระบรมธาตุเจดีย์อยูทางด้านทิศตะวันตก นอกเมือง ด้วยคติความเชื่อว่าได้ตั้งอยู่ใกล้สถานที่ที่พระพุทธองค์ประสูติตรัสรู้ ปรินิพพานมากที่สุด
“ข้อสังเกตที่สําคัญประการหนึ่งก็คือ ได้มีการขุดพบพระพุทธรูปทองคําคือพระนิรันตรายในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านพระบรมธาตุเจดีย์ กล่าวว่าพระพุทธรูปทองคําดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่องกับสถานที่ที่ตั้งของเจดีย์ภูเขาทองในทางพระพุทธศาสนาคือ น่าจะเป็นพุทธบูชาต่อพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ต้องการให้มีการขุดค้นโบราณสถาน –ทำวิจัยทางประวัติศาสตร์ นั้น
นายรณรงค์ นครจินดา ผวจ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า จากที่นายกำพล ภู่มณี อดีตสมาชิกวุฒิสภาจ.ปราจีนบุรี(สว.)พร้อมชาวอ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อนายอิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรมหลังจากกรมศิลปากรได้เปลี่ยนป้ายชื่อโบราณสถานหมายเลข3 จากเดิมภูเขาทองมาเป็นเชิงเทินสังเกตการณ์ โดยเกรงกระทบประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนั้น ได้รับทราบจากทางนายอำเภอศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี แล้ว
ได้ให้ประสานงานกับทางหน่วยศิลปากรที่5 ปราจีนบุรีแล้วในการดูหลักฐานทางโบราณสถาน โบราณวัตถุ ข้อมูลทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้อง ที่จะแจ้งสู่กรมศิลปากรต่อไป"นายรณรงค์กล่าว
ด้านนายธวัชชัย ขยันยิ่ง อายุ 72 ปี อดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี (อบจ.) อดีตประธานสภาวัฒนธรรม อ.ศรีมโหสถ กล่าวว่า ตนเองได้พบและรู้ข้อมูล เจดีย์ภูเขาทอง เป็นเนินดินโบราณสถานโบราณ ที่ตั้งอยู่ด้านนอกของคู-กำแพงเมืองศรีมโหสถ ช่วงที่ลงพื้นที่หาเสียงสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี (ส.อบจ.) เขต อ.ศรีมโหสถ ตามคำบอกเล่าของผู้คนในท้องถิ่น ที่เชื่อกันว่าเนินดินโบราณแห่งนี้เป็นสถูปบรรจุโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา อาทิ เคยพบพระพุทธรูปทองคำ พระนิรันตราย
จากนั้นนำทูลเกล้าถวายรัชกาลที่4แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ชาวบ้านเรียกเนินดินแห่งนี้สืบต่อกันมาว่า ภูเขาทอง เป็นโบราณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ใกล้ๆเคียงยังมีศาลปู่ตา ชาวบ้านต่างเคารพนับถือ ตนไม่มีเอกสาร หรือ โบราณวัตถุ โบราณสถานใดๆมาอ้างอิง จึงไม่กล้าให้ข้อมูลตรงนี้ ต้องรอสอบถามข้อมูลจากนักประวัติศาสตร์หรือคนในพื้นที่ อาทิ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นชาว อ.ศรีมโหสถ กวี นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ผู้ก่อตั้งนิตยสารศิลปวัฒนธรรม เจ้าของคอลัมน์ "สยามประเทศไทย" ในหนังสือพิมพ์มติชน และผู้บรรยายพิเศษด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ยังเคยประกาศยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2545 ที่ในอดีตเคยมาขุดแต่งแหล่งโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ แหล่งโบราณคดีวัดสระมรกต ที่เป็นเนินดินสูงเช่นกันและพบรอยพระพุทธบาทคู่
แต่จากที่ สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี กรมศิลปากร จัดทำป้ายใหม่ โดยระบุว่าเป็น ‘เชิงเทินสังเกตการณ์ด้านปัจฉิมทิศ’ มีข้อความอธิบายว่า เนินสูงใหญ่กว่า 10 เมตร ชาวเมืองมโหสถโบราณสร้างเทินขึ้นด้วยลูกรังและก่อชาลาด้วยศิลาแลง เพื่อเป็นที่สังเกตการณ์ระยะไกลจากนอกเมืองด้านตะวันตกและรักษาความปลอดภัย เนื่องจากกำแพงเมืองด้านนี้ไม่มีช่องทางเข้า-ออก จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบฐานเสาล้อมเนิน บางต้นเจาะรูกลางเสา สันนิฐานว่าใช้ปักเสาไม้วางคบเพลิงเพื่อส่องสว่างยามค่ำคืน เนินนี้น่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมือง 1,500 ปีมาแล้ว นั้น
รู้สึกตื่นเต้นกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ใหม่ทางทางกรมศิลปากร คงได้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ประกอบการศึกษา-อ้างอิง เพราะหากเป็นเชิงเทิน เนินสูงสังเกตการณ์แล้ว
ข้อสันนิษฐานส่วนตัว ตนเองคาดว่าดิน หรือหินศิลาแลงที่มีคงได้มาจากการขุดคูเมืองรอบ ๆ แล้วนำมาเป็นหอสังเกตการณ์ หรือ เป็นประภาคารในการดูเรือสำเภาสินค้าที่จะผ่านเข้า – ออก ทิศทางลม ที่มาติดต่อค้าขาย เผยแพร่ศาสนา เนื่องจากเป็นเมืองท่าศูนย์กลางคมนาคมในอดีต หรือ จุดคบเพลิงเป็นสัญญาณว่า ถึงเมืองศรีมโหสถแล้ว เป็นการแสดงภูมิปัญญาของคนโบราณ
และเร็ว ๆ นี้ ชาวปราจีนบุรี จะมีการเชิญวิทยากร นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ซึ่งเป็นชาว อ.ศรีมโหสถ กวี นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ผู้ก่อตั้งนิตยสารศิลปวัฒนธรรม มาให้ความรู้รากเหง้าปราจีนบุรี เพื่อเป็นความรู้เรื่องปราจีนบุรีที่จะสร้างเอกลักษณ์ความภาคภูมิใจตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจต่อไป นายธวัชชัย กล่าว
ขณะที่ ดร. ภควัต กิตติธาดาปกรณ์ ตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนศรีมโหสถ กล่าวว่า เมืองศรีมโหสถชื่อบ้านนามเมือง ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ เป็นเมืองท่าเมืองชายทะเล คำว่า ทราวดี ในนามเดิม คือ ศิลปะ มีพระพุทธรูป เครื่องมือต่างๆ เป็นศิลปะ
รอบตัวเมืองศรีมโหสถ เป็นคูน้ำคันดิน ที่ขุดลงไปในศิลาแลงธรรมชาติเป็นเป็นศิลาแลง ที่มีอยู่เดิม ทั้งใน – นอกคูกำแพงเมืองพบหลักฐาน โบราณสถาน และโบราณวัตถุ อาทิ มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ สระแก้ว และ สระขวัญ มีเม็ดกำปัด
เมืองศรีโอสถ รับอารยะธรรมทางศาสนา การค้า วัฒนธรรมหลัก ๆ มาจากอินเดีย และจีน โดยศาสนา แบ่งออกเป็นพุทธศาสนา กับ พราหมณ์ – ฮินดูโบราณสถานอยู่ที่ด้านในคูเมือง และ ได้รับศาสนา มาจากพราหมณ์-ฮินดู อาทิ การค้นพบพระพิฆเนศหินทรายสีขาวพระวิษณุ จตุรพุทรจะเป็น 4 กรได้รับวัฒนธรรมมาจากอินเดียน่าจะเดินทางมาทางเรือ ศาสนาฮินดูคาดว่าเป็นที่อยู่พระมหากษัตริย์ พราหมณ์ที่นับถือ ส่วนโบราณวัตถุ ทางพระพุทธศาสนา พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ,ต้นพระศรีมหาโพธิ์ จะพบที่นอกคู-กำแพงเมืองเลยไปถึงแถบตำบลโคกไทย
การที่เมืองศรีมโหสถล่มสลาย อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ ตลอดรวมถึงทะเลที่หายไป ทำให้เมือง ศรีมโหสถ ที่เคยเจริญรุ่งเรืองสมัยก่อนต้องล่มสลาย
ในวันหยุดพักผ่อน ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวและชาวปราจีนบุรีมาเที่ยวศึกษาประวัติศาสตร์ยุคทวารวดี ที่ เมืองศรีมโหสถ มีงานใหญ่ที่ใกล้ถึงเร็ว ๆ นี้ คือ งานมาฆปูรมีศรีปราจีน ตรงขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 จัดทุกปี ซึ่งมีรถรางในการนำพาท่องเที่ยวรอบเมือง ศรีมโหสถ ดร. ภควัตกล่าว ในที่สุด
มานิตย์ สนับบุญ / ปราจีนบุรี