In Thailand
จัดบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เมืองโบราณศรีมโหสถ
ปราจีนบุรี-วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเมืองโบราณศรีมโหสถ จัดพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ เมืองโบราณศรีมโหสถ หน้าองค์พระพิฆเณศองค์เก่าแก่ที่สุดในประเทศยุคทวารวดี ก่อนถึงงานศรีมโหสถ มินิ-มาราธอนครั้งที่ 2 รอบคูเมืองลูกศร ในการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวและฟื้นฟูเศรษฐกิจ จากแหล่งท่องเที่ยวของเมืองโบราณในอำเภอศรีมโหสถ และสมทบทุนช่วย ‘คามิลเลียนโซเซียล เซนเตอร์’ ปราจีนบุรี ในวันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2566 นี้ รอบ บริเวณคูลูกศร ต.บ้านโคกวัด อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี ขณะชาวศรีมโหสถตื่นตัวค้าน!การเปลี่ยนชื่อภูเขาทอง
วันนี้ 27 มกราคม 66 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า น.ส.จิรภา ทองศิริ นอภ.ศรีมโหสถ พร้อมคณะผู้จัดงานวิ่งศรีมโหสถ มินิมาราธอน ครั้งที่ 2 โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเมืองโบราณศรีมโหสถบ้านโคกวัด และ ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ เมืองโบราณศรีมโหสถ หน้าองค์พระพิฆณศ โบราณสถานกลางเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนถึงวันงานที่กำหนดจัดในวันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2566 นี้ รอบ บริเวณคูลูกศรเมืองโบราณยุดทวารวดี ต.บ้านโคกวัด อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี
ที่จะทำการแข่งขัน ประเภทการแข่งขันฟันรัน 5 ก.ม. จำนวน 400คน (รุ่นทั่วไป ชาย/หญิง ได้รับถ้วยรางวัล 1–5) มินิมาราธอน 10 ก.ม. จำนวน 400คน (กลุ่มอายุ ชาย/หญิง รับถ้วยรางวัล 1–5) และ เดินเพื่อสุขภาพ ไม่มีกาแข่งขัน (ได้รับเสื้อ+เหรียญ รับจำนวน 200คน) VIP ระยะ 3 /5 /10 ก.ม. (ได้รับเสื้อ+ถ้วย+เหรียญที่ระลึก)
สำหรับพระคเณศแห่งเมืองศรีมโหสถนี้ พบที่โบราณสถานหมายเลข 22 กลางเมืองศรีโหสถ อายุกว่า 1,200 ปี พระคเณศ เป็นเทพเจ้า ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมนับถือมากในศาสนาฮินดู ในฐานะเทพแห่งอุปสรรค ที่ชาวฮินดูเมื่อจะประกอบพิธีทางศาสนา จะต้องบูชาพระคเณศก่อน พระคเณศ จึงกลายเป็นเทพแห่งความรู้และความเฉลียวฉลาด เทพอักษรศาสตร์และวรรณคดี และเทพแห่งศิลปวิทยา โดยองค์จริงนำมาเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จ.ปราจีนบุรี
ในการนี้ได้รับการสนับสนุนคณะนางรำจากองค์การบริหารส่วนตำบลประจันตคาม (อบต.) โดยนายกนัฐพล เดชสุภานายกองค์การบริหารส่วนตำบลประจันตคาม (อบต.) อ.ประจันตคาม นำนางรำ จำนวน 30 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีนางรำรวมกันกว่า 1,000 ปี โดยคนอายุ มากสุด เกือบ 80 ปี รำถวาย ในชุดรำสู่ขวัญข้าว ท่ามกลางผู้ร่วมงานกว่า 100 คน
สำหรับ เมืองมโหสถ (อ. ศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี) มีอายุระหว่าง พ.ศ. 1000-1700 เป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ อยู่ใกล้อ่าวไทยโบราณ ติดต่อค้าขายทางทะเล ได้รับอารยะธรรมต่าง ๆ ศาสนา , ประเพณีวัฒนธรรม มาจากกับนานาชาติสมัยนั้น เช่น จีน, อินเดีย, ลังกา ฯลฯ
เมืองมโหสถ เป็นชื่อใหม่ที่ชาวพวนเรียกตามชาดกเรื่องพระมโหสถ มีการพบโบราณสถาน – โบราณวัตถุ ในแหล่งโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ ทั้งภายในคูเมือง ที่เป็นคูน้ำคันดินรอบตัวเมือง ที่ขุดลงไปในศิลาแลงธรรมชาติเป็นศิลาแลง ที่มีอยู่เดิม คาดว่าเป็นเมืองที่อยู่ของกษัตริย์ หรือ พราหมณ์ จำนวนมาก ทั้ง เทวรูป พบพระพิฆเณศตามความเชื่อศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ สระแก้ว และ สระขวัญ มีเม็ดลูกปัดทวารวดี
หรือ ที่ด้านนอกคูกำแพงเมือง พบพระพุทธรูป ตามความเชื่อทางศาสนาพุทธ ที่ได้รับการเผยแพร่มาจากอินเดีย – ลังกา เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เป็นศิลปะ เมืองศรีมโหสถ พบโบราณสถาน และ โบราณวัตถุ เช่น รอยพระพุทธบาทคู่ที่อายุมากกว่า 1,500 ปี ขนาดใหญ่ –เก่าแก่ที่สุด พระพุทธหลวงพ่อทวารวดี พระพุทธรูปปางต่าง ๆ และ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่อายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศกว่า 2,500 ปี นำหน่อมาจากเมืองพุทธคยา ต้นเดียวกับที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เป็นต้นไม้ต้นเดียวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากร
โดย โบราณสถานส่วนใหญ่อยู่ที่ภายในคูเมือง และได้รับศาสนา มาจากพราหมณ์-ฮินดู อาทิ การค้นพบพระพิฆเนศหินทรายสีขาวพระวิษณุ จตุรพุทธจะเป็น 4 กร ได้รับวัฒนธรรมมาจากอินเดียน่าจะเดินทางมาทางเรือ ศาสนาฮินดูคาดว่า เป็นพระมหากษัตริย์นับถือ
ส่วนพระพุทธรูป หรือ โบราณวัตถุ ทางพระพุทธศาสนา จะค้นพบที่ ด้านรอบนอกคูเมือง จนถึงตำบลโคกไทย ครั้งหนึ่งศาสนาพุทธเคยเจริญรุ่งเรือง ในสมัยก่อนเมืองศรีมโหสถ และมีการนับถือ 2 ศาสนาคือพุทธและพราหมณ์-ฮินดู
คุณ เครือวัลย์ สมานเชื้อ ประธานรัฐวิสาหกิจชุมชนบ้านโคกวัด เมืองโบราณสถาน กล่าวว่า วัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้เพื่อนำไปช่วยเหลือ พี่น้อง คามีเลียน ผู้สูงอายุ ส่วนหนึ่งที่เหลือพัฒนารัฐวิสาหกิจ ชุมชน ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว ที่นี่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มี โบราณสถานหลายแห่ง มีรอยพระพุทธบาทคู่ มีต้นโพธิ์
ส่วน เรื่องภูเขาทอง เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายกำพล ภู่มณี อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปราจีนบุรี (สว.) และ ชาวจังหวัดปราจีนบุรี ได้ส่งหนังสือร้องเรียน ถึงนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อขอให้พิจารณาแจ้งไปยังกรมศิลปากร ให้ทบทวนการเปลี่ยนป้ายชื่อ ‘โบราณสถานหมายเลข 3’ อําเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีจากของเดิม ‘เจดีย์ภูเขาทอง’ แต่เปลี่ยนมาเป็น ‘เชิงเทินสําหรับสังเกตการณ์ของเมือง’ เนื่องจากเกรงกระทบประวัติศาสตร์ดั้งเดิม – ความรู้สึกชาวบ้าน ที่เชื่อกันว่าโบราณสถาน “ภูเขาทอง” แห่งนี้ เป็นสถูปรูป ตัวโอคว่ำ “ O ” ที่บรรจุโบราณวัตถุเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา อาทิ พระพุทธรูป – พระบรมสารีริกธาตุ เนื่องจากบริเวณดังกล่าว ยังไม่ได้มีการขุดสำรวจ ภายใต้เนินดินนี้ ก่อนหน้านั้น ได้มีการขุดพบพระพุทธรูปทองคํา คือ พระนิรันตราย ในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็อยากให้ ใช้ ชื่อเดิมไม่อยากเปลี่ยน คุณเครือวัลย์ กล่าว
ด้าน นายสุเทพ ภามัง อายุ 67 ปี อดีต ผอ.สถานศึกษา ข้าราชการครูบำนาญ /ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ศรีมโหสถ กล่าวว่า เกี่ยวกับภูเขาทอง นั้น ตั้งแต่เป็นเด็กหมู่บ้านนี้ชื่อว่าหมู่บ้านภูเขาทอง มีป้ายหมู่บ้านแต่ป้ายมันล้ม เพราะเขาทำถนนกำลังจะคุยกับผู้นำหมู่บ้านอยู่ สมัยก่อน เคยทำสวน บ้านอยู่ใกล้ แม่ก็อายุ 93ปีแล้ว
แม่ก็จะเล่าว่าคนนั้นอยู่บ้านภูเขาทองคนนี้อยู่บ้านภูเขาทอง ได้ขุดค้นพบพระนิรันดร์อันตราย ไม่เห็นด้วยกับคำว่า เชิงเทิน อยากเชิญชวนให้มาเที่ยวเมืองโบราณสมัยทราวดี ในสถานะที่เป็นคน ศรีมโหสถ มีความภาคภูมิใจที่เมือง ศรีมโหสถ มีความเจริญในสมัยก่อน แต่เดิมเขายังไม่บูรณะก็ยังมีต้นไม้ปกคลุมเห็นมาตั้งแต่ก่อน ในนี้ไม่มีปรากฏว่ามีถ้ำแต่ตรงคูเมืองมีถ้ำ แต่ไม่มีใครกล้าเข้าไป
ขออย่าเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์เราเลย อยากให้กรมศิลปากรได้มาสำรวจให้ชัดเจนเพราะ คนเขียน เข้าไปในโซเชียลแล้วบางครั้งก็ถูกบางครั้งก็ผิด อยากให้มาสำรวจข้อมูลทางโบราณคดีให้ถูกต้อง นายสุเทพ กล่าว
มานิตย์ สนับบุญ / ปราจีนบุรี