In Thailand

ผู้ว่าฯลงพื้นที่เปิดโครงการเกษตรอินทรีย์ วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลก



ศรีสะเกษ-ที่ศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชาแปลงนาสาธิตเกษตรอินทรีย์ของนายเกรียงไกร รุ้งแก้ว บ้านโพนยาง ผู้ว่าฯศรีสะเกษไถกลบตอซังข้าวส่งเสริมเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลกอำเภอวังหิน

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2566 ที่ศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชาแปลงนาสาธิตเกษตรอินทรีย์ของนายเกรียงไกร รุ้งแก้ว บ้านโพนยาง หมู่ที่ 7 ตำบลโพนยาง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ  นายสำรวย  เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  เป็นประธานเปิดโครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลกโดยใช้“นวัตกรรมการบริหารจัดการ PM 2.5 ด้วยการใช้เทคโนโลยี

ชีวภาพในการย่อยสลายตอซังข้าว” โดยมี ผศ.ดร.เชี่ยวชาญ แสงทอง คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ นายวุฒิเดช ทองพูล ประธานเครือข่ายโคกหนองนาศรีสะเกษ  นายนรา  โพธิ์สิง ผู้จัดการมูลนิธิการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน พศช. นายทำนอง  ห่อไธสง  ประธานเครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษ   และนายสมชาย สีทา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนยาง  นำกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ตำบลโพนยาง อำเภอวังหิน  สมาชิกเครือข่ายโคกหนองนาศรีสะเกษ    และนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนยาง จำนวน 200 คน เข้าร่วมโครงการและการสาธิตฉีดน้ำหมักและไถกลบตอซังข้าว ในพื้นที่แปลงนาสาธิตเกษตรอินทรีย์จำนวน 10 ไร่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มสารอินทรีย์ในดินสำหรับนาข้าวเกษตรอินทรีย์  เพื่อให้เกษตรกรและนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนยางได้เรียนรู้การทำนาข้าวเกษตรอินทรีย์ ต้องไม่เผาตอซังข้าวในพื้นที่นา  ตามโครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ต่อไป

นายสมพร วิถี ประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลโพนยาง  กล่าวว่า  กลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลโพนยางมี 4 กลุ่ม คือ  กลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านโพนยาง หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 7 กลุ่มหน้าแปลงใหญ่บ้านเห็นอ้มหมู่ที่ 2 และบ้านหนองคูหมู่ที่ 3  มีพื้นที่นาข้าวเกษตรอินทรีย์ประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งโครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลกโดยใช้“นวัตกรรมการบริหารจัดการ PM 2.5 ด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการย่อยสลายตอซังข้าว”ให้ผลผลิตข้าวเปลือกอินทรีย์ประมาณ 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถจำหน่ายนราคาประกันตันละประมาณ 17,000บาท จึงขอเชิญชวนเกษตรกรอำเภอวังหิน   จังหวัดศรีสะเกษ  เข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลกโดยใช้“นวัตกรรมการบริหารจัดการ PM 2.5 ด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการย่อยสลายตอซังข้าว  สมัครได้ที่ นายสมพร วิถี ประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลโพนยาง โทร.0621981691

ผศ.ดร.เชี่ยวชาญ  แสงทอง คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวว่า โดรงการ "นวัดกรรมการบริหารจัดการ PM 2.5 ด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการย่อยสลายตอชังข้าว เป็นหนึ่งโครงการภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษด้าน 8CG การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์เพื่อนำนวัดกรรมการย่อยสลายตอซังข้าว  ด้วยน้ำหมักชีวภาพจากจาวปลวกทดแทนการเผา มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรในพื้นที่ตำบลโพนยางและตำบลบ่อแก้ว จำนวน 120 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลก  มหาวิทยาลัยราชภัฏตรีสะเกษ จึงได้ดำเนินการประสานวิทยากร คือ อาจารย์ ดร.วิมลศิริ สีหะวงษ์ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และรับความอนุเคราะห์วิทยากรจากศูนย์พัฒนาการเกษตรถสิงห์อื่นเนื่องมาจากพระราชดำริ มอบหมายให้นายบุลากร ขอจงดี เจ้าพนักการเกษตรปฏิบัติงาน เป็นวิทยากร อบรมเกี่ยวกับความรู้ที่มุ่งสร้างรรับรู้ให้เกษตรกรตระหนักถึงปัญหา และแนวทางการบริหารจัดการ PM 2.5 ทั้งการอบรมเชิงติการการทำน้ำหมักชีวภาพจากจาวปลวก ที่มีคุณสมบัติสำหรับการย่อยสลายตอซังข้าว เมื่อวันที่ 21-22 มกราคม .2566 ที่ผ่านมา จึงเป็นที่มาของกิจกรรมนำน้ำหมักมาใช้ย่อยสลายตอซังข้าวในแปลงนาในวันนี้

บุญทัน/ปฐมพงษ์  ธุศรีวรรณ  / ศรีสะเกษ