In Thailand

กระบี่รับความคิดเห็นเครือข่ายนกอพยพ พื้นที่ปากแม่น้ำชูเป็นตัวอย่างอนุรักษ์สวล.



กระบี่-ที่โรงแรมริเวอร์ฟร้อนท์  กระบี่  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกระบี่ จัดประชุมรับความคิดเห็น เกี่ยวกับเครือข่ายนกอพยพพื้นที่ปากแม่น้ำกระบี่  ขับเครื่อน ปากแม่น้ำกระบี่เป็นตัวอย่างการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งแรกของประเทศไทย

วันที่ 7 ม.ค.66 ที่โรงแรมริเวอร์ฟร้อนท์  กระบี่  ต.ปากน้ำ อ.เมืองกระบี่  นายสมชาย  หาญภักดีปฏิมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อแผนการดำเนินโครงการจัดการพื้นที่ ที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพการพัฒนากลไกทางเศรษฐศาสตร์และมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์ นกอพยพและใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอพยพ อย่างยั่งยืน ในพื้นที่เครือข่ายนกอพยพปากแม่น้ำกระบี่  ซึ่งมีทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เครือข่ายชุมชน ในพื้นที่อำเมือเมืองกระบี่ ให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมาก

ต่อมา นายสมชาย  ได้กล่าวว่า  จังหวัดกระบี่ เป็นเมืองท่องเที่ยว สิ่งสำคัญกระบี่ได้มีการตระหนักถึงการอนุษักษ์ทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด การจัดการพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพการพัฒนากลไกทางเศรษฐศาสตร์และมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์นกอพยพและใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอพยพอย่างยั่งยืนในพื้นที่เครือข่ายนกอพยพปากแม่น้ำกระบี่ นั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว นกที่อพยพมาจากต่างประเทศ มาอาศัยอยู่บริเวรปากแม่น้ำกระบี่นั้น มีมาหลายปี และทราบว่านกบางชนิดเมื่ออพยพมาแล้ว มาอาศัยอยู่ที่นี้แบบถาวร โดยที่ไม่กลับไปถิ่นกำเหนิดเดิมอีกเลย  แต่ว่ายังไม่มีหน่วยงานไดเข้ามาศึกษา ดูแลอย่างเป็นระบบ ในวันนี้ทางจังหวัดกระบี่ ต้องยอมรับว่าที่ทาง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้ามาขับเคลื่อน อย่างจริงจัง ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมากๆ เนื่องจากว่า ต่อไปในอนาคตฝูงนกเหล่านี้ ก็จะเป็นต้นทุน ของทรัพยากรอีกอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยวชม

ด้านนางสาวจิตตินันท์ เรืองวีรยุทธ  ผู้อำนวยการกองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวเพิ่มว่า การจัดการพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพการพัฒนากลไกทางเศรษฐศาสตร์และมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์นกอพยพและใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอพยพอย่างยั่งยืนในพื้นที่เครือข่ายนกอพยพปากแม่น้ำกระบี่ ให้คืบหน้านั้นจะต้องร่วมมือมือกันหลายๆ ฝ่าย ทั้วภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่น ท้องที่ พันธมิตรในการอนุรักษ์นกอพยพและการใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอพยพอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมหรือพื้นที่ที่สำคัญ ในขณะที่นกอพยพมีบทบาทสำคัญต่อการคงอยู่ของสิ่งมีชีวิต การรักษาความสมดุลของธรรมชาติ เช่น การควบคุมประชากรของแมลง หรือการเป็นผู้ผสมเกสร ช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์พืช อย่าวนี้เป็นต้น  ซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร นอกจากนี้ ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอพยพ ยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เกื้อกูลสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ให้มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งพื้นที่ปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่ ถือเป็นพื้นที่ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพื้นที่เครือข่ายนกอพยพแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2548 มาแล้วด้วย

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาเห็นว่า การจะขับเคลื่อนงานด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะต้องคำนึงถึงบทบาท การมีส่วนร่วมและความยั่งยืนในการทำงาน จึงได้ดำเนินการศึกษาโครงการจัดการพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อพัฒนากลไกทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์นกอพยพและใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอพยพอย่างยั่งยืน

ณัฏฐพงษ์ ศรีปล้อง / กระบี่