In News

'บัตรทองพรีเมียม'รัฐอัปเกรดดูแลสุขภาพ หวังทุกสิทธิรักษาเท่าเทียมมาตรฐานสูง



​“ทิพานัน” กางสิทธิ “บัตรทองพรีเมียม” อัปเกรดดูแลสุขภาพคนไทยเป็นโรคร้ายไม่ต้องจ่ายสักบาท หวังทุกสิทธิรักษาเท่าเทียมด้วยมาตรฐานสูง เล็งแก้กฎหมายขยายสิทธิประโยชน์ สปสช. บริการทุกคนนอกเหนือสิทธิบัตรทอง

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยในทุกมิติ โดยเฉพาะการยกระดับระบบสาธารณสุขไทย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขแพทย์สมัยใหม่ และแพทย์แผนไทย เพิ่มบริการและสิทธิต่างๆ พัฒนาระบบประกันสุขภาพประชาชนให้ครอบคลุมประชาชนและเท่าเทียม มีนโยบายให้การรักษาดูแลคนไทยโดยประชาชนไม่ต้องมีจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ทั้งนี้ในระยะเวลาตั้งแต่ 2557 -2566 พล.อ.ประยุทธ์ ได้พัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อคนไทย ให้มีประสิทธิผลเพื่อบรรลุเป้าหมายของความเท่าเทียมกัน มีประสิทธิภาพและมาตรฐานสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตามนโยบายจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  โดยได้ดำเนินการพัฒนาหลักประกันสุขภาพแล้ว 6 มิติ ดังนี้

1.เพิ่มสิทธิประโยชน์  
-การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีเจาะลึกระดับดีเอ็นเอ HPV DNA
-การตรวจยีน BRCA1 BRCA2 ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 
-บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนสัมผัส (PrEP) สำหรับกลุ่มเสี่ยง 
-การตรวจดาวน์ซินโดรมในหญิงตั้งครรภ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (อายุ 50 ปีขึ้นไป)  
-การตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกด้วยเครื่อง Tandem mass spectrometry ในเด็กแรกเกิด 
-การคัดกรองรอยโรคเสี่ยงและมะเร็งช่องปาก (CA Oral Screening) ในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป 
-ผ้าอ้อมผู้ใหญ่และแผ่นรองซับสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้ที่มีปัญหาการขับถ่าย เป็นต้น        
-โรคหายาก  (Rare Disease) เบื้องต้นครอบคลุม 24 โรคหายาก 
-สิทธิประโยชน์รากฟันเทียม ภายใต้ “โครงการฟันเทียม รากฟันเทียม เฉลิมพระเกียรติในหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา” 
-กองทุนดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  
-บริการจิตเวชเรื้อรังในชุมชน 
-บริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า 
-ดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้ “ผู้มีสิทธิบัตรทองเลือกฟอกไตในแบบที่ใช่” เพื่อเปิดทางเลือกให้ผู้ป่วยที่ไม่ประสงค์จะล้างไตทางหน้าท้อง (Peritoneal Dialysis: PD) แต่ต้องการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือด (hemodialysis: HD) โดยที่ประชาชนไม่ต้องจ่ายเงินเองอีกต่อไป 

3.สิทธิประโยชน์ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
-บริการยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (Pre-Exposure Prophylaxis : PrEP) 
-บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสเชื้อ (Post-Exposure Prophylaxis : PEP) 
-บริการคัดกรองและตรวจยืนยันไวรัสตับอักเสบซีในผู้ติดเชื้อฯ และนำเข้าสู่กระบวนการรักษา 
-บริการเอกซเรย์ปอดคัดกรองวัณโรคในผู้ติดเชื้อฯ รายใหม่ทุกราย, บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการตรวจเลือดและดูแลรักษา (Reach Recruit Test Treatment Prevention Retain: RRTTPR) 
-สนับสนุนถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันและลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี เพื่อสนับสนุนการดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573 

4. ดูแลกลุ่มเปราะบางเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- ผู้มีปัญหาทางสถานะทางทะเบียน เช่น ไม่ได้แจ้งเกิด เอกสารบุคคลสูญหาย คาดการณ์ประมาณ 5.2 แสนคนที่จำเป็นต้องดำเนินการช่วยเหลือ 
-กลุ่มชาติพันธุ์มานิ รักษ์ป่าบอน จ.สงขลา และ จ.พัทลุง ชนชาติพื้นเมืองดั้งเดิมของไทย มีจำนวนราว 500 คน ช่วยเหลือให้ได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
-พระภิกษุสามเณรทั่วประเทศ 
-ยกระดับการเข้าถึงสิทธิบัตรทองให้กับ “ผู้ต้องขัง” โดยความร่วมมือกรมราชทัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข และ สปสช. ทำให้มีการขึ้นทะเบียนสถานพยาบาลในเรือนจำให้เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายของหน่วยบริการประจำหรือโรงพยาบาลในพื้นที่ครบทั้งหมด 135 แห่งแล้ว โดยปัจจุบันมีผู้ต้องขัง 252,000 คน ลงทะเบียนบัตรทองให้กับผู้ต้องขังที่มีสิทธิกว่าร้อยละ 97 

5 .เพิ่มนวัตกรรมบริการ “ลดความแออัดที่โรงพยาบาล”
-บริการยาเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่บ้าน” (Home Chemotherapy for CA Colon) 
-บริการรับยาร้านยาใกล้บ้าน ดูแลผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิต หอบหืด และจิตเวช ก่อนขยายไปยังโรคเรื้อรังอื่นๆ 
-การให้บริการผู้ป่วยโควิด-19  การแจกชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง (ATK Self test kit) บริการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มอาการสีเขียว “เจอ แจก จบ
-บริการดูแลผู้ป่วยโรคทั่วไปหรือการเจ็บป่วยเล็กน้อย (common illnesses) ครอบคลุม 16 กลุ่มอาการ และเพิ่มความสะดวกในการรับบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคให้กับคนไทยที่ร้านยาคุณภาพ 
-บริการสาธารณสุขทางไกล (Telemedicine)” ในผู้ป่วยรายเก่าของหน่วยบริการที่มีอาการคงที่และควบคุมโรคได้ดี 
-บริการการแพทย์ทางไกลในลักษณะผู้ป่วยนอกทั่วไป (OP Telemedicine)” ครอบคลุม 42 กลุ่มโรคและอาการ ร่วมมือกับผู้ให้บริการแอปพลิเคชันด้านสุขภาพดิจิทัล 
-บริการส่งยาทางไปรษณีย์ ร่วมกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และหน่วยบริการ 
-บริการเจาะเลือดใกล้บ้าน 
 -บริการผ่าตัดวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS) ใน 12 รายการ และในปี 2566 เพิ่มเป็น 67 รายการ บริการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: MIS) ใน 19 รายการ 
 -นวัตกรรมหน่วยบริการ ที่ดึงหน่วยบริการวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข มาร่วมให้บริการ ได้แก่ คลินิกพยาบาล คลินิกกายภาพบำบัด เป็นต้น 
-บริการดูแลผู้ป่วยโดยใช้เตียงที่บ้านเป็นเตียงโรงพยาบาล” (Home Ward) นำร่องในโรงพยาบาล 75 แห่ง ใน 7 กลุ่มโรคตามที่กรมการแพทย์กำหนด 

6 .ยกระดับบัตรทองสู่หลักประกันสุขภาพยุคใหม่
-ประชาชนเจ็บป่วยไปรับบริการกับหมอประจำครอบครัวในหน่วยบริการปฐมภูมิในระบบบัตรทองที่ไหนก็ได้ ตามนโยบาย “30 บาทรักษาทุกที่” 
-ผู้ป่วยในไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัวที่หน่วยบริการประจำ ใช้เพียงบัตรประชาชนตรวจสอบตัวตนผู้ป่วยเท่านั้น ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการรับบริการ และภาระค่าเดินทาง สปสช.
-โรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่ทั่วประเทศ (CA anywhere) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยเร็ว ไม่ให้อาการลุกลามและมะเร็งบางชนิดยังเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้ 
-ย้ายหน่วยบริการได้สิทธิทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน ให้ประชาชนเปลี่ยนหน่วยบริการประจำด้วยตนเองและได้สิทธิทันทีภายในวันเดียว (เปลี่ยนสิทธิไม่เกิน 4 ครั้ง/ปี) 
-นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่”  หรือ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม พบว่าข้อจำกัดของ ผู้ที่มีสิทธิประกันสังคม และผู้ที่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ และสิทธิอื่นๆ ที่นอกเหนือจากสิทธิบัตรทอง ไม่สามารถใช้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระบบของ สปสช.ได้ ปัจจุบันในปี 2566 นี้ รัฐบาลอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ประชาชนไทยทุกคนสามารถใช้สิทธิประโยชน์นี้ได้ ขณะนี้ทั้ง 3 หน่วยงานคือ สปสช. สำนักงานประกันสังคม และกรมบัญชีกลางได้มีการหารือกันเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการเสนอออกเป็นพระราชกฤษฎีกา เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถได้รับสิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระบบของ สปสช.ได้