Health & Beauty

กลยุทธ์'กีกี้บิวตี้สเปซ'ผงาดลักซ์ชัวรีบิวตี้ ซาลอนเบอร์1ไทยคาดรายได้ปีนี้300ล.



กรุงเทพฯ-“กีกี้ บิวตี้ สเปซ” (KIKI Beauty Space) ลักซ์ชัวรี บิวตี้ ซาลอนอันดับหนึ่งของไทย เจ้าของรางวัล World 's Best Luxury Beauty Salon จากดูไบในปี 2565 ที่โดดเด่นด้วยบริการที่ครบจบในที่เดียว ตั้งแต่การทำผม ทำเล็บ ไปจนถึงคิ้ว ขนตา แว็กซ์และทรีทเมนต์ผิวหน้า เตรียมเปิดเกมรุกครั้งใหม่ ตอกย้ำความสำเร็จบิวตี้ ซาลอนสุดฮิต ที่กล้าฉีกกรอบซาลอนแบบเดิมๆ พร้อมนำเทคโนโลยี มาพลิกโฉมธุรกิจให้โดนใจลูกค้าจนประสบความสำเร็จ สามารถทำรายได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดถึง 200% ใน 3 ปีแรก เตรียมปั้นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเอง (Self-Care) ภายใต้แบรนด์ K BY KIKI เสริมความแข็งแกร่งให้แบรนด์ ปูพรมช่องทางการขายทั้งออนไลน์และโมเดิร์นเทรด พร้อมเปิดตัว แพลตฟอร์มใหม่ เป็น Ecosystem ที่จะมายกระดับการให้บริการลูกค้า แบบไร้รอยต่อ ตั้งเป้ารายได้ปีนี้พุ่งไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท

นาย“ก้องภพ เอื้อศิริทรัพย์” ผู้ก่อตั้ง “กีกี้ บิวตี้ สเปซ” (KIKI Beauty Space) กล่าวว่า สถานการณ์โควิดที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้ภาพรวมของตลาดบิวตี้ ซาลอนกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยเฉพาะ ในกลุ่มบริการและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสีผมและดูแลเส้นผม เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่า ต่อให้ ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยในชีวิตประจำวัน แต่ความสวยงามของเส้นผม จะช่วยเสริมบุคลิกและความมั่นใจได้ นี่จึงถือเป็นโอกาสของธุรกิจบิวตี้ ซาลอน

สำหรับ “กีกี้ บิวตี้ สเปซ” หลังจากเปิดให้บริการมา 3 ปี สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด ท่ามกลาง  วิกฤติโควิด โดยในปีที่ผ่านมา มีรายได้เติบโตจากปีก่อนถึง 200% ปัจจัยหลัก ๆ มาจากกลยุทธ์ ที่ไม่หยุดนิ่ง  พร้อมปรับตัวตลอดเวลา เพื่อนำเสนอบริการและ  สินค้าให้ตอบโจทย์  ความต้องการ ของลูกค้าที่หลากหลาย บวกกับมีการนำเทคโนโลยี เข้ามาขับเคลื่อนธุรกิจ ซึ่งถือเป็นรายแรก ๆ ของธุรกิจซาลอนไทย

“หนึ่งในจุดแข็งสำคัญของกีกี้ บิวตี้ สเปซ คือ เราเน้นสร้างความแตกต่าง ฉีกกรอบบิวตี้ ซาลอนที่เคยมี ตั้งแต่การออกแบบร้าน การทำแบรนด์ดิ้ง และการให้บริการ โดยเราให้ความสำคัญ กับคุณภาพ เป็นอันดับหนึ่ง เห็นได้จากผลิตภัณฑ์ที่ทางแบรนด์เลือกใช้ จะคัดเฉพาะผลิตภัณฑ์ จากแบรนด์ชั้นนำที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับว่ามีความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ และมีความปลอดภัย เน้นที่มีเคมีต่ำ แต่ให้ผลลัพธ์ที่ดี รวมไปถึงอุปกรณ์การตกแต่งร้านทุกอย่างก็เน้นความลักซ์ชูรี ใช้อุปกรณ์ของแบรนด์ Dyson ตั้งแต่ไดร์เป่าผม เครื่องม้วน เครื่องหนีบ ไปจนถึงเครื่องฟอกอากาศ ส่วนเตียงสระผม ก็เป็นเตียงสระไฟฟ้าปรับเอนนอนได้ 180 องศา ที่สำคัญ เรายังเป็นบิวตี้ ซาลอน ที่มีความเป็น unisex พร้อมดูแลลูกค้าตั้งแต่หัวจรดเท้า”

อย่างไรก็ตาม ก้องภพ เสริมว่า แม้กระแสตอบรับจะดีตั้งแต่เปิดตัว แต่พอโควิดกลับมา ระบาดหนักอีกครั้งในปี 2564 ทำให้รายได้ของสาขาแฟล็กชิพ สโตร์ที่สยามสแควร์ และเมกาบางนา ซึ่งให้บริการ เฉพาะ Hair Salon ลดฮวบ ทำให้ต้องมีการปรับกลยุทธ์เข้าสู่โลกออนไลน์ ด้วยการนำผลิตภัณฑ์คุณภาพ ที่มีมากกว่า 100 SKU ไปจำหน่ายผ่าน KIKI LINE STORE ผลปรากฎว่า ด้วยคุณภาพแบรนด์ที่เลือกมา บวกกับชื่อเสียงของแบรนด์ที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จัก ทำให้ยอดขายออนไลน์โตระเบิดจนทำให้รายได้ในปี 2564 เติบโตถึง 300%

“แต่พอปี 2565 ที่สถานการณ์โควิดดีขึ้น เราก็ปรับกลยุทธ์ใหม่อีกครั้ง ด้วยการเดินหน้า ทำการตลาดทั้งในส่วนของหน้าร้านและออนไลน์ให้แข็งแกร่งไปด้วยกัน  เพิ่มเติมคือฝั่งหน้าร้าน เรามีบริการที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยหนึ่งใน Key Success ที่มาช่วยให้เราสามารถผสานประสบการณ์ของลูกค้าบนโลกออฟไลน์และออนไลน์ได้อย่างไร้รอยต่อ คือ การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการให้บริการลูกค้า เช่น การจองคิวใช้บริการ และช่างทำผม ด้วย Online Booking มีการพัฒนาระบบสมาชิก ให้ลูกค้าสามารถซื้อแพคเกจหรือวอชชเชอร์เพื่ออมาใช้บริการภายหลัง โดยลูกค้าสามารถช็อปผ่าน KIKI LINE STORE ”

ก้องภพ กล่าวว่า นอกจากการตลาดจะช่วยสร้างยอดขาย การนำเทคโนโลยีมีพัฒนาระบบ หลังบ้าน ให้เแข็งแรง ยังทำให้แบรนด์สามารถนำข้อมูล (Data) ของลูกค้ามาใช้ในการประกอบ การตัดสินใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

“ยกตัวอย่างบริการต่อผม ที่เราเพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เกิดจาก Data ที่เรามี ทำให้เห็นว่าดีมานด์ของลูกค้าที่มองหาบริการนี้ เราเลยพยายามพัฒนาบริการนี้ให้ดีที่สุด เพื่อตอบโจทย์ ลูกค้า ข้อดีของการใช้ Data คือ ทำให้เราไม่ต้องลุ้นหรือกังวลว่า เปิดมาแล้วจะมีลูกค้าหรือไม่ เพราะเราเห็นดีมานด์ และสามารถทำการตลาดไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง จนทำให้หลังจากเปิดตัว ก็มียอดจองเข้ามาเต็มทั้งเดือน ถามว่า ที่ผ่านมา Data เคยทำให้ผิดหวังหรือไม่ เท่าที่ลองใช้มา Data ไม่เคยผิดพลาด ขึ้นอยู่กับว่า ผลตอบลัพธ์ที่กลับมาจะมากหรือน้อย ดังนั้น ถ้าเรามี Data มากพอ ก็ยิ่งทำให้เราตัดสินใจได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการทำการตลาดออนไลน์ ถ้าเรามี กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถทำการตลาดถูกจุด ก็ยิ่งทำให้ต้นทุน ในการทำตลาดออนไลน์ มีประสิทธิภาพมากขึ้น”          

สำหรับแผนการขยายธุรกิจในปี 2566 ก้องภพบอกว่า เร็วๆนี้จะเปิดตัว แพลตฟอร์มใหม่ที่เป็น Mobile Friendly มากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้บริการ สามารถเช็กและจองคิวช่าง เช็คสิทธิประโยชน์ ของสมาชิก ดูยอดเงินคงเหลือในวอชเชอร์ ฯลฯ ง่ายๆ ด้วยปลายนิ้ว นอกจากนี้ ยังเตรียมเปิดตัว ผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเอง (Self-Care) ภายใต้แบรนด์ K BY KIKI เน้นเจาะกลุ่มพรีเมียมแมส ในราคาที่เข้าถึงได้ โดยจะประเดิมเปิดตัว สินค้าในกลุ่ม Hair Care ก่อนในช่วงกลางปีนี้ เน้นขายผ่านทางช่องทาง ออนไลน์ของแบรนด์ และจะเริ่มขยายไปสู่มาร์เก็ตเพลสชั้นนำ เช่น Lazada , Shopee รวมถึงตัวแทนจำหน่ายและโมเดิร์นเทรด คาดว่าจะทำยอดขายได้แตะ 100 ล้านบาท หรือคิดเป็น 30% ของเป้ารายได้รวมที่ตั้งไว้ว่าจะอยู่ที่ 300 ล้านบาท โดยจะแบ่งเป็นรายได้จากฝั่งบริการ 60% และ ยอดขายจากโปรดักส์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ 10%

“ธุรกิจซาลอน จัดว่าเป็น Red Ocean มีการแข่งขันสูงก็จริง แต่เรามองว่า เราไม่ได้แข่งขัน ด้วยราคาหรือการทำโปรโมชัน เราเน้นนำเสนอโปรดักซ์และบริการที่ดีที่สุด และเพื่อรักษามาตรฐาน ที่เราวางไว้ เราจึงไม่ได้มองว่าการขยายสาขาในประเทศ หรือ การขายแฟรนไชส์ เป็น Priority หลัก เพราะเป้าหมายในระยะยาวคือ ภายใน 2-3 ปีจากนี้ จะติดปีกให้บิวตี้ ซาลอนของไทย เป็นที่รู้จักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ก้องภพทิ้งท้าย