In Thailand

จากรุ่นย่าสู่ผลิตภัณฑ์OTOPดังแห่งเมืองคนดี



สุราษฎร์ธานี-จากภูมิปัญญารุ่นย่าสู่ผลิตภัณฑ์ OTOPดังแห่งเมืองคนดี “กระเป๋ากระจูดบ้านห้วยลึก”

เสาร์ ที่ 4 มีนาคม 2566 นายพิชัย มณีลาภ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนางสาวนัยนา มากแก้วกุล นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ นางสาวปัญญพร เพชรศรี นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่เยี่ยมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานกระจูดบ้านห้วยลึก ตำบลท่าสะท้อนอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมทั้งหารือ การพัฒนาศักยภาพเสริมสร้างโอกาส ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระจูด รวมทั้งผลิตภัณฑ์ OTOP  อื่นๆของจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้มีความโดดเด่นสามารถเป็นฐานเศรษฐกิจระดับครัวเรือน ระดับชุมชน และระดับจังหวัดได้ อาทิการบูรณาการร่วมธุรกิจกับบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม)จำกัด  แหล่งรวม OTOP สุราษฎร์ธานี โดยคณะกรรมการเครือข่าย OTOP สุราษฎร์ธานี และโอท๊อปเทรดเดอร์สุราษฎร์ธานี

     

นายชยาวัฒน์ แดงมา ประธานกลุ่มวิสหกิจชุมชนฯ กล่าวว่าวันนี้การดำเนินงานกลับมาคึกคักเป็นปกติแล้ว สมาชิกได้ทำงานที่รับผิดชอบในด้านต่างๆของกลุ่ม มีรายได้ เสริมเดือนละ 10,000 กว่าบาท มียอดสั่งสินค้าเป็นที่น่าพอใจโดยมีทั้งจากต่างประเทศเช่นเกาหลี สวีเดน  และในประเทศ เช่นโรงแรมชื่อดังหลายแห่งบนเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล ทีมงานขาย Online ที่กรุงเทพมหานคร ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีวางจำหน่ายที่แหล่งรวม OTOP สุราษฎร์ธานี ที่ผ่านมาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จะมีการสั่งซื้อเป็นประจำครั้งละจำนวนมาก

นายชยาวัฒน์ แดงมา ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่าอยากให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญต่อยอดการพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP ให้มีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เป็นนิติบุคคลทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งตนเองได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว และพร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ต่อไป

    

นางสาวพัชรี วรดิลก กล่าวว่า OTOP ทำไม่ยาก ขอให้มี 2 เรื่อง คือ “ขายให้เป็นก่อนทำ และทำให้เป็นก่อนขาย” โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ วันนี้ตนเองเก็บเกี่ยวประสบการณ์สามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อันจะนำมาซึ่งการผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการและการร่วมออกบูธจำหน่ายในแต่ละครั้ง ขณะนี้มีสินค้าสต๊อกไว้เพียงพอสำหรับบริการลูกค้าแต่ละกลุ่ม หากมีจำนวนสินค้าเหลือมากก็จะทำการไลฟ์สดจำหน่ายออกไป

นางพัชรีย์ วรดิลก ยังได้กล่าวช่วงท้ายว่าตนมีความสุขและภูมิใจที่สามารถประคับประคองจนฝ่าวิกฤษโควิด 19 ให้สมาชิกกลุ่มซึ่งเป็นผู้สูงอายุในหมู่บ้านยังพอมีรายได้ในการดำรงชีพตลอดกว่า 3 ปี มาวันนี้การผลิตและการจำหน่ายกลับคืนสู่ภาวะปกติสามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกเฉลี่ยประมาณเดือนละ 10,000 บาทต่อคน นางพัชรีย์ วรดิลก กล่าวในที่สุด