In Thailand

พิธีบวงสรวงถวายช้างพลายมหาเมฆพระภักดีเดชะวีระบุษเมืองประจันตคาม



ปราจีนบุรี-จัดพิธีบวงสรวง-ถวายช้างพลายมหาเมฆพระภักดีเดชะวีระบุษเมืองประจันตคามผู้พลีชีพในสนามรบไทย - ญวน ทีในประเทศกัมพูชาอย่างยิ่งใหญ่ พบหลังพิธีบวงสรวง ประชาชนพากันมาลอดใต้ท้องช้างขอพร – ไหว้สักการะขอพร  ขอโชคลาภจากพลายมหาเมฆ และอนุสาวรีย์พระภักดีเดชะวีระบุษเมืองประจันตคามเจ้าเมืองคนแรกเมืองประจันตคาม ผู้พลีชีพในสนามรบไทย - ญวน ทีในประเทศกัมพูชาตลอดทั้งคืนและพบแผงสลากกินแบ่งรัฐบาลพากันขายดีตามมา รวมถึงข้าวของตลาดงานวัดที่จัดต่างขายดีทั้งอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าพื้นบ้าน ในการสร้างรายได้แก่ท้องถิ่น

เมื่อเวลา 22.30 น.วันนี้ 10 มี.ค.66 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่าที่วัดแจ้งเมืองเก่า ต.ประจันตคาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี พระครูมงคล   หรือหลวงปู่ใหญ่  ธรรมโสภณ เจ้าอาวาสวัดแจ้งเมืองเก่า เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในพิธือัญเชิญเครื่องสักการบูชาพร้อมพลายมหาเมฆ และพลายมงคลต่าง ๆ   แด่พระภักดีเดชะเจ้าเมืองคนแรกเมืองประจันตคามพร้อมมีแขกผู้มีเกียรติร่วมงาน อาทิ ดร.สุรเดช  จิรัฐิติเจริญ วุฒิสภา(สว.) เชิญช้างทองคำ พวงมะลิสักการะ,นางสาวจุฑามาศ   บัวเผื่อน นอภ.ประจันตคาม เชิญผลไม้มณัโครต พวงมาลาสักการะ , พ.อ.(พิเศษ)เสกสรร  พรหมศักดิ์  รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12 (มทบ.12)เชิญน้ำผึ้ง น้ำอ้อย พวงมาลาสักการะ , นายสุชาติ  โชติรัตน์สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี(ส.อบจ.) เชิญธาตุเหล็กไหลเงิน – ทอง พวงมาลาสักการะ , นายสุชาติ   เดชสุภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคำโตนด ( อบต.) เชิญพวงมาลา ผลไม้สักการะ , นายคมจักร  ถาวรวิรัขนันท์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลจันทนิมิต จ.จันทบุรี เชิญผลไม้ กล้วย อ้อย น้ำ พวงมาลัยสักการะ ,  นายเดวิด  อภัยวงศ์ เชิญผลไม้ อ้อย พวงมาลัยสักการะ , นายณัฐพล  เดชสุภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประจันตคาม (อบต.) เชิญเภสัชยาสำหรับช้าง พวงมาลัยสักการะ ,นายบุญเรือง  กระแจะ เชิญพวงมาลัยสักการะ , นายชัยสิทธ์  อุเทนสุด เชิญพวงมาลัยสักการะ

ทั้งนี้ คณะศิษย์ของ พระครูมงคล   หรือ  หลวงปู่ใหญ่  ธรรมโสภณ เจ้าอาวาสวัดแจ้งเมืองเก่า  ได้จัดสร้างช้างศึกคู่บารมี พลายมหาเมฆ  แด่ พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) พิธีเริ่มตั้งแต่กลางวัน ประกอบด้วย ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ ,ช่วงเย็นจรดค่ำ ถวายเครื่องสักการะ และ พิธีอัญเชิญเครื่องสักการบูชาเครื่องบรรณาการ โภชนาหาร และสัญลักษณ์ช้างทองคำ  พร้อม พลายมหาเมฆ พลายมหามงคลต่าง ๆทั่วจักรวาล  แด่พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ณ ที่บรรจุศพพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) การรำถวาย  และ ตลอดทั้งคืนนี้ยาวต่อเนื่องจรดเที่ยงคืน ขมลิเกดังขวัญใจชาวอ.ประจันตคาม  คณะวัฒนา  อนันต์  ท่ามกลางประชาชนคับคั่งกว่า 1,000 คน

พบหลังพิธีบวงสรวง ประชาชนพากันมาลอดใต้ท้องช้างขอพร – ไหว้สักการะขอพร  ขอโชคลาภจากพลายมหาเมฆ และอนุสาวรีย์พระภักดีเดชะวีระบุษเมืองประจันตคามเจ้าเมืองคนแรกเมืองประจันตคาม ผู้พลีชีพในสนามรบไทย - ญวน ทีในประเทศกัมพูชาตลอดทั้งคืนและพบแผงสลากกินแบ่งรัฐบาลพากันขายดีตามมา รวมถึงข้าวของตลาดงานวัดที่จัดต่างขายดีทั้งอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าพื้นบ้าน ในการสร้างรายได้แก่ท้องถิ่น

พระครูมงคล   หรือ หลวงปู่ใหญ่  ธรรมโสภณ เจ้าอาวาสวัดแจ้งเมืองเก่า  กล่าวว่า  การจัดงานสร้างรูปปี่นของช้างมหาเมฆ ช้างช้างทองคำ ไม่เป็นทางการ โดยคณะศิษย์ยานุศิษย์เห็นว่า ช้างสร้างมานานกว่า 4 -5 ปี แล้ว ยังไม่ได้ถวายพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทนอย่างเป็นทาง การ และในโลก มีช้างต่าง ๆ โดยเฉพาะในประเทศไทยสร้างคุณต่อประเทศชาติสยาม หรือ อื่น ๆ มาก ได้ทำบุญทิศกุศลถวายพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) และช้างทั่วจักรวาลด้วย

และ  กล่าวต่อไปว่า  อยากให้คนรู้จักคนที่กตัญญูกตเวที –ช้างที่มีคุณต่อชาติบ้านเมือง โดยเฉพาะพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) เจ้าเมืองคนแรกของเมืองประจันตคาม ซึ่งประวัติความเป็นมา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่า ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ ยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมา ได้รวบรวมกำลังตีกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดแต่งตั้งให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพยกไปตีเวียงจันทน์ปราบกบฏ    เมื่อตีได้แล้ว ได้อพยพครอบครัวสี้พลบางส่วนจากเวียงจันทน์ เข้ามายังประเทศไทย    ในจำนวนแม่ทัพนายกองที่เข้ามานั้น มีท้าวอุเทนบุตรท้าวสร้อย ซึ่งเป็นแม่ทัพที่คอยควบคุมดูแลเมืองแสนของเวียงจันทน์เข้ามายังประเทศไทย    ในจำนวนแม่ทัพนายกองที่เข้ามานั้น มีท้าวอุเทน    บุตรท้าวสร้อย ซึ่งแม่ทัพที่คอยควบคุมดูแลเมืองแสนของเวียงจันทน์ขณะนั้นอยู่ด้วย     ท้าวอุเทนได้นำลี้พลที่ถูกอพยพมาตั้งกองรวมกันเป็นหมู่บ้านใหญ่ ในพื้นที่อำเภอประจันตคาม ซึ่งเป็นบริเวณวัดและรอบๆ วัดแจ้งในปัจจุบัน (ปัจจุบันชาวบ้านเรียกกันว่า “บ้านเมืองเก่า”ในอดีตมีต้นยางมากมาย (“ดงยาง”)

เมืองประจันตคามจึงถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๖    ท้าวอุเทนเจ้าเมืองคนแรก      ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงภักดีเดชะ ว่าราชการได้ ๒ ปีเศษ     เกิดศึกญวนมาตีกรุงพนมเปญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยในสมัยนั้น    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพและได้เกณฑ์เมืองประจันตคาม เมืองพนัสนิคมและเมืองกบินทร์บุรี รวมกันเป็นกองทัพหน้า ยกไปสู้รบข้าศึกญวนอยู่ประมาณ ๓ ปีเศษ    จึงขับไล่ญวนออกไป    เจ้าเมืองทั้งสามผู้ร่วมรบ มีความชอบในราชการ เมื่อกลับมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระ” ในนามเดิมทั้ง ๓ ท่าน เจ้าเมืองประจันตคามจึงเป็น    “พระภักดีเดชะ” (ท้าวอุเทน)

ต่อมาอีกประมาณ ๑ ปี ญวนได้หวนกลับมาตีเมืองพนมเปญอีก    เจ้าเมืองตะวันออกได้รับใบบอก     จึงโปรดให้เกณฑ์ไปช่วยรบ     พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) ได้นำกำลังชาวเมืองประจันตคามเข้ากองทัพร่วมกับเจ้าเมืองกบินทร์บุรี     ในการไปราชการทัพครั้งนี้    พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) ได้นำกำลังพลเข้ารบกับข้าศึกจนสุดความสามารถ    ข้าศึกญวนล้มตายเป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นการศึกครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์แห่งการสู้รบอย่างยิ่ง     ชาวเมืองประจันตคามได้ร่วมรบโดยมีพระภักดีเดชะเป็นแม่ทัพนำพล      แต่ในที่สุด ด้วยการรบอย่างอาจหาญสามารถพระภักดีเดชะเสียชีวิตในสนามรบอย่างชายชาติทหารกล้า

แม้พระภักดีเดชะจะเสียชีวิตในสนามรบไปนับร้อยปีเศษแล้วก็ตาม     ประชาชนชาวประจันตคามยังกล่าวถึงและเคารพสักการะพระภักดีเดชะไม่เสื่อมคลาย ในฐานะที่ท่านได้เป็นผู้ก่อตั้งเมืองประจันตคาม    และเป็นผู้ก่อตั้งเมืองประจันตคาม และเป็นผู้ประกอบกิจอันเป็นคุณยิ่งแก่ประเทศชาติจนเสียชีวิต

ปัจจุบันศพพระภักดีเดชะยังฝังอยู่ที่วัดแจ้ง โดยมีผู้ที่จงรักภักดีร่วมกับญาติมิตรของท่าน ได้สร้างมณฑปครอบคลุมที่ฝังศพไว้และมีคนไปบวงสรวงสักการะประจำตลอดปี   และ  สำหรับตระกูล เดชสุภา ในปัจจุบันคือลูก -หลานเหลนโหลนของท่านพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน)  พระครูมงคล   หรือ หลวงปู่ใหญ่ กล่าว

ด้าน นางจรวยพร มั่นสิริ อายุ 74 ปี  กล่าวว่า  บ้านอยู่ตลาดประจันตคาม อาชีพข้าราชการเป็น แม่ของตนเองเป็นลูกสาวคนแรก  มีสมบัติของทวด(พระภักดีเดชะ หรือท้าวอุเทน) เป็นเครื่องเงิน  มีเป็นเล่มเกวียน แต่ก็แบ่งกันไปหมดทุกคน ส่วนหนึ่งก็นำไปสร้างพระหล่อพระ ชวด มีภรรยาทั้งหมด 7 คน    สิ่งที่ทวด-ชวด  ชอบมาก ที่สุดคือน้ำชา น้ำส้ม  น้ำเปล่า น้ำหอม นางจรวยพร  กล่าว

ด้านนางทิพย์พร้อมสามี พ่อค้า-แม่ค้าหอยทิดเจ้าอร่อย อ.ประจันตคาม กล่าวว่า นำหอยทอดอร่อย ๆ มาขายทุกครั้งที่มีการจัดงาน  ที่ผ่ามาสร้างรายได้ต่อคืนมากกว่า 10,000 บาท /คืน

มานิตย์   สนับบุญ / ปราจีนบุรี