Travel Sport & Soft Power
จัดงานชิมกุ้งแชบ๊วยลองแลอาหารเลคลองเคียน2023
พังงา-ที่ท่าเรือคลองเคียน จัดงานชิมกุ้งแชบ๊วยลองแลอาหารเลคลองเคียน 2023 ส่งเสริม สนับสนุน และประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของจังหวัดพังงา
เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 66 ที่ท่าเรือคลองเคียน อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พร้อมด้วยนาวาตรีหญิงโนสมา หลีเส็น นายกเหล่ากาชาดจังหวัดพังงา เป็นประธานในพิธีเปิดงาน"ซิมกุ้งแชบ๊วยลองแลอาหารเลอคลองเคียน 2023" ครั้งที่ 11 โดยมีนายพิชญพันธ์ เรืองชาตรี นายอำเภอตะกั่วทุ่ง พ.ต.ท.ศักรินทร์ อนุสามัญกุล สารวัตรท่องเที่ยวภูเก็ต-พังงา นายอุทิศ มัจฉาเวช นายก อบต.คลองเคียน พร้อมด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ซึ่งเป็นนโยบายการท่องเที่ยวของจังหวัดพังงา
ทางนายอุทิศ มัจฉาเวช นายก อบต.คลองเคียน กล่าวว่า สำหรับตำบลคลองเคียนเป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นหุบเขาสลับกับที่ราบลุ่ม มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นดินและชายฝั่งทะเลพังงา มีเนื้อที่ประมาณ 81,875 ไร่ หรือประมาณ 131 ตารางกิโลเมตร มี 8 หมู่บ้าน มีประชากร 5,131 คนตำบลคลองเคียนเป็นแหล่งการทำประมงพื้นบ้าน ซึ่งประชาชนในพื้นที่ได้หาเลี้ยงชีพด้วยประมงพื้นบ้าน ตามบริเวณชายฝั่งอ่าวพังงา ตลอดตามแนวป่าชายเลน ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรเช่น กุ้ง หอย ปู ปลา นานาชนิด และทำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองเคียนมีรายได้ดีจากสาเหตุดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีกลุ่มนายทุนจากจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกระบี่ เข้ามาจับสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา นานาชนิด โดยเฉพาะกุ้งแขบ๊วยและปูม้า ที่มีมากเป็นพิเศษในพื้นที่ตำบลคลองเคียน โดยใช้เครื่องมือประมงทันสมัยที่ผิดกฎหมาย คือ อวนลาก อวนรุน เข้ามาจับสัตว์น้ำในพื้นที่ตำบลคลองเคียน และเครื่องมือดังกล่าวได้สร้างความเสียหายให้กับการทำประมงพื้นบ้านของประชาชนในตำบลคลองเคียนเป็นอย่างมาก ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำในพื้นที่ตำบลคลองเคียนเริ่มลดลงเรื่อยๆชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่
จึงมีการรวมกลุ่มกันเพื่อต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมายของกลุ่มนายทุน นำโดย นายอนันต์ นันทบุตร กำนันตำบลคลองเคียน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตร ผู้ช่วยในสมัยนั้น ร่วมกับอำเภอตะกั่วทุ่ง และจังหวัดพังงา ได้ออกลาดตระเวนปราบปราม จับกุม เรืออวนลาก อวนรุน ซึ่งทำประมงที่ผิดกฎหมายในพื้นที่ จากการต่อสู้ในครั้งนั้นในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการจัดเวทีสัญจรของชาวประมงร่วมกัน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองเคียน ตำบลหล่อยูง และตำบลกะไหล มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เดือนละ 1 ครั้ง ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ BOBP (By Of Bankkorn Program) ร่วมกับกรมประมง ทำให้ชาวประมงได้เรียนรู้ รัก และหวงแหนทรัพยากรมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ได้จัดตั้งตลาดกลางสัตว์น้ำขึ้นในแต่ละหมู่บ้าน ในปีพ.ศ.2546 - 2550 ได้มีโครงการ Children Of The Sea เข้ามาสนับสนุนต่อยอดส่งเสริมลูกหลานชาวประมงพื้นบ้านและจัดหลักสูตรให้กับโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ รักและหวงแหนทรัพยากรในท้องถิ่น ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 - 2554 ได้มีโครงการเชลฟิช (Shellfsh) มาสนับสนุนต่อ จนทำให้ชาวบ้านเข้มแข็ง มีการส่งเสริมการเลี้ยงหอยแครงและหอยนางรมในพื้นที่ตำบลคลองเคียน ต่อมาประมงอำเภอตะกั่วทุ่งได้เข้ามาในพื้นที่ ได้ให้ความรู้ในการทำประมง การใช้เครื่องมือประมงในการจับสัตว์น้ำที่ถูกกฎหมายแก่ประชาชนในตำบลคลองเคียน พื้นที่ใกล้เคียง และได้มีมูลนิธิประมงบ่อดานของอำเภอท้ายเหมืองเข้ามาดูแล ได้มีการจัดตั้งกลุ่มสัตว์น้ำตลาดกลางและประมงชายฝั่ง
เพื่อให้ชาวประมงได้มีการรวมกลุ่ม มีกลุ่มเครือข่ายในการขายสัตว์น้ำ โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางได้มีมูลนิธิแตร์ เดอะ โฮม อิตาลี เข้ามาให้การสนับสนุนงบประมาณแก่กลุ่ม โดยมีการสร้างอาคารกลุ่มตลาดกลางสัตว์น้ำอำเภอตะกั่วทุ่ง มีสมาชิกกลุ่มประมาณ 500 ราย แต่ในปัจจุบันอาชีพการทำประมงนั้นเปลี่ยนไป เนื่องจากความเจริญของบ้านเมือง บริบทของพื้นที่ตำบลคลองเคียนตลอดจนสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ชาวประมงในพื้นที่เปลี่ยนอาชีพ จากการทำประมงพื้นบ้าน ไปประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์การประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านในพื้นที่ ทางองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเคียนได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในพื้นที่ หน่วยงานระดับอำเภอ ระดับจังหวัดได้จัดงานเทศกาลหอยและอาหารทะเลขึ้น โดยจัดขึ้นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2553 จนถึง ปี พ.ศ. 2558แต่เนื่องจากปริมาณอาหารทะเล เช่น หอย มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
เนื่องจากมีประชาชนและนักท่องเที่ยวจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้ยกเลิกการจัดงานดังกล่าวไป แต่เนื่องด้วยในพื้นที่บริเวณอ่าวพังงาโดยเฉพาะตำบลคลองเคียน มีกุ้งแชบ๊วยจำนวนมาก ประกอบกับในพื้นที่ตำบลคลองเคียนกุ้งแชบ๊วยได้มีการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ACT Organic Standards ทำให้กุ้งแชบ๊วยขายได้ราคาสูงขึ้น เพื่อเป็นการต่อยอดเทศกาลหอยและอาหารทะเลทางองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเคียน จึงได้จัดงานชิมกุ้งแชบ๊วยลองแลอาหารเลอ2017 ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560 เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ วิถีประมงพื้นบ้านดั้งเดิมของตำบลคลองเคียนให้มีความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับทรัพยากรในพื้นที่ และสร้างความภาคภูมิใจให้กับชุมชนในการเผยแพร่ภูมิปัญญา ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในการนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเคียน ร่วมกับ หน่วยงานราชการในเขตพื้นที่ตำบลคลองเคียนและพี่น้องชาวตำบลคลองเคียน จึงได้ร่วมกันจัดงาน "ชิมกุ้งแชบ๊วย ลองแลอาหารเล@คลองเคียน 2023" ระหว่างวันที่ 11 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2566 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดจิตสำนึกของชุมชนด้านการอนุรักษ์และการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 2. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของตำบลคลองเคียน 3.เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าอาหารทะเล และส่งเสริมสนับสนุนการแปรรูปอาหารทะเลให้มีความหลากหลายและน่าสนใจ เป็นที่ยอมรับของสากล 4. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวได้พบปะ สังสรรค์ และวางแผนการท่องเที่ยวร่วมกัน 5. เพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตชุมชนอันดีงามให้ยั่งยืนในการจัดงานครั้งนี้ มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น การแข่งขันทำอาหารสร้างสรรค์จากกุ้งแชบ๊วย และอาหารท้องถิ่นของแต่ละหมู่บ้าน การจัดการแข่งขันวางอวนกุ้ง แชบ๊วย การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน กิจกรรมการแสดงบนเวทีเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตชุมชนของชาวตำบลคลองเคียนจากเยาวชนในพื้นที่ การจำหน่ายอาหารทะเลและสินค้าต่างๆ
ทางด้าน นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา สำหรับจังหวัดพังงา ถือว่าเป็นจังหวัดที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมากโดยเฉพาะทรัพยากรทางทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งมีอยู่อย่างมากมาย มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สวยงาม เช่น เกาะปันหยี เขาเขียน เกาะพนัก เกาะทะลุนอก เขาตะปู-เขาพิงกัน ถ้ำลอด เกาะละวะใหญ่ ในการส่งเสริม สนับสนุนการท่องเที่ยวนั้นต้องทำควบคู่ไปกับการสร้าง จิตสำนึกให้ประชาชนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน จากประวัติความเป็นมาของตำบลคลองเคียน พี่น้อง ประชาชนในพื้นที่มีการรวมกลุ่มกันเพื่อต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมายของกลุ่มนายทุน ซึ่งได้ใช้เครื่องมือ คือ เรืออวนลาก อวนรุน ในการจับสัตว์น้ำในพื้นที่ จนในที่สุดผู้กระทำผิด กฎหมายก็ได้หมดไปในพื้นที่ตำบลคลองเคียน จากการที่ชาวประมงได้ร่วมกันในการดำเนินการ ต่อสู้ในครั้งนั้น
ซึ่งสาเหตุการเกิดนั้นมาจากการที่มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างไม่สมดุล การใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่าง 1 ที่จะตามมา แต่ในระบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจะสร้างจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ดังนั้น การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตชุมชน จึงมีความสำคัญของท้องถิ่นที่เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวยังท้องถิ่นนั้น ๆในการจัดงานวันนี้กระผมมองว่าเป็นสิ่งที่ดียิ่ง เพราะเป็นความร่วมมือกันในทุกภาคส่วนของท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือชุมชน การทำงานร่วมกันของคนในชุมชนแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็ง และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดความรัก ความสามัคคีกันของคนในชุมชนในการประสานความร่วมมือกันในการพัฒนาท้องถิ่นของตนให้เข้มแข็งและสามารถเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนต่อไป