In Thailand

รองผู้ว่าฯศรีสะเกษเปิดงานวันสตรีสากลปี66



ศรีสะเกษ-ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี รองผู้ว่าฯศรีสะเกษเปิดงานวันสตรีสากลปี66 สตรีศรีสะเกษ รวมใจใส่ผ้าไทย วันเดียวยอดจำหน่ายสี่แสนบาท

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี อำเภอเมือง  จังหวัดศรีสะเกษ  นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  เป็นประธานเปิดงานวันสตรีสากล ประจำปี 2566 และอ่านสารวันสตรีสากล ประจำปี 2566 โดยมี นางมัลลิกา เกษกุล ประธานแม่บ้านมหาดไทย ดร.นิภา คงเพชร พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  ดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ นายกสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัด นางรังสินี บุญทน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดศรีสะเกษ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดศรีสะเกษ นำสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดศรีสะเกษ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและสมาชิกองค์กรสตรีในพื้นที่ 22 อำเภอ ของจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 800 คน ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้  ภายในงานมีกิจกรรมประกอบด้วยการ มอบหนังสือวันสตรีไทย “พระบารมีสองหล้า ต่อยอดการพัฒนาสตรีไทย” นิทรรศการแสดงผลงานของสตรี  การมอบเกียรติบัตรแก่สตรีดีเด่นผู้ทำประโยชน์แก่สังคม และการประกวดเดินแบบ รางวัลชนะเลิศ สตรีอำเภออุทุมพรพิสัย   การประกวดส้มตำลีลา การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯด้วย การจัดเวทีเสวนาหัวข้อ “บทบาทสตรีในการพัฒนาสังคมสู่ความเสมอภาคระหว่างเพศ”

และการจัดจำหน่ายสินค้าโอทอบจากกลุ่มแม่บ้านจังหวัดศรีสะเกษ ด้วย  ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติสตรีที่มีผลงานดีเด่น  เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผลงานของคณะกรรมการพัฒนาสตรีทุกระดับและกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ให้เป็นที่รู้จักและให้สตรีในทุกระดับได้เกิดการเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพสตรีด้านการพัฒนาอาชีพ รวมถึงให้สตรี ได้สืบสานภูมิปัญญาและรักษาอาชีพชุมชนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  นอกจากนี้เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติสตรีที่มีผลงานดีเด่น และเป็นต้นแบบสตรีผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม และเปิดโอกาสให้องค์กรสตรีได้พบปะเชื่อมความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และเพิ่มช่องทางการตลาดกลุ่มอาชีพสตรี OTOP

เพื่อสร้างพลังสตรีในเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกายสิ่งทอและการอนุรักษ์ผ้าไทย ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ในงานวันสตรีสากล ประจำปี 2566และเพื่อพัฒนาศักยภาพผ้าไทย ให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ้าไทยแต่ละประเภท ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเป็นการอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน ให้เกิดความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนต่อไป    

บุญทัน  ธุศรีวรรณ  / ศรีสะเกษ