In Thailand
ผู้ว่าฯศรีสะเกษเปิดงานชมปราสาทปรางค์กู่
ศรีสะเกษ-ที่วิสาหกิจชุมชนป้าครอบครัวตำบลพิมาย ผู้ว่าฯศรีสะเกษเปิดงานชมปราสาทปรางค์กู่ อู่อารยธรรมงามล้ำธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ชนสามเผ่า เล่าขานตำนานดาบวิชัย
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 ที่วิสาหกิจชุมชนป้าครอบครัวตำบลพิมาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ นายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดงานชมปราสาทปรางค์กู่ อู่อารยธรรม งามล้ำธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ชนสามเผ่า เล่าขานตำนานดาบวิชัย ครั้งที่ 1 โดย นายวิทยา ไชยเดชกำจร นายอำเภอปรางค์กู่ ดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ นายกสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ นายศุภสิทธ์ จำปาวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจชีวภาพ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ(องค์การมหาชน) นายธานนท์ โสภิตชา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดศรีสะเกษ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดศรีสะเกษและผู้เกี่ยวข้อง ร่วมในพิธิเปิดงานเป็นจำนวนมาก ภายในงานมีเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนจาก 13 แห่ง นำสินค้าท้องถิ่นเข้าร่วมจำหน่ายในราคาประหยัด ทั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ทรัพยากรเด่นของชุมขนที่มีการปลูกตันไม้ในทุกโอกาส ให้เป็นชุมชนวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้ผู้เข้างานได้สัมผัสวิถีชนสามเผ่าคือ ลาว กูยและขแมร์ ได้ร่วมเรียนรู้กิจกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อทำให้นักท่องเที่ยวทั่วไปได้รู้จักชุมชนและแวะเข้ามาท่องเที่ยว จับจ่ายใช้สอย ทำรายได้สู่ชุมชน ตลอดจนการสร้างงานแบบการมีส่วนร่วมสร้างความรักสามัคคีให้กับพี่น้องในชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูต่อไป
นายศุภสิทธ์ จำปาวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจชีวภาพ กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ(องค์การมหาชน) มีภารกิจสนับสนุนส่งเสริมให้ชุมชนนำทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตพัฒนาแปรรูปสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพให้คงอยู่ ได้ใช้ประโยชน์ไปจนถึงรุ่นต่อๆไป วิสาหกิจชุมชนบำครอบครัวตำบลพิมาย เป็นชุมชนเครือข่ายเบโด้ ที่มีความตั้งใจในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ ที่เป็นแนวความคิดแนวฏิบัติมาจากดาบวิชัย สุริยุทธ ที่ได้อุทิศแรงกายแรงใจปลูกไม้ยื่นต้นในพื้นที่อำเภอปรางค์กู่ และอำเภออื่นๆในจังหวัดศรีสะเกษ กระทั่งปัจจุบันต้นไม้เหล่านั้นเติบโตมีประโยชน์ด้านสิ่งเวดล้อม ลดโลกร้อน โดยเฉพาะต้นตาล ที่ได้สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมขน สามารถนำมาผลิตเป็นสินค้าโอทอป จำหน่ายในหลายมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง BEDO มีหลักการทำงานร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่าย โดยยึดมั่นในหลักการ BEDO Concept คือการนำทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุติบการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจสร้างรายได้ มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการแบ่งปันรายได้ไปทำกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพให้คงอยู่ไป และในระยะเวลา3 ปี ที่ผ่านมา เบโด้ ได้นำเครื่องมือการตลาดท่องเที่ยวชีวภาพมาใช้ส่งเสริมชุมชน
โดยประยุกต์ให้เข้ากับระบบนิเวศน์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ นำทุนทางธรรมชาติ ทรัพยากรชีวภาพที่โดดเด่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น มาสร้งกระบวนการเส้นทางท่องเที่ยว กิจกรรมสันทนาการเพื่อตึงดูดให้ผู้คนเข้าหาชุมชน จ้บจำยใช้สอย เกิดรายได้ ให้สอดคล้องกับtrendการท่องเที่ยว ในปัจจุบันที่นักท่องเที่ยวโหยหาสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้ทั้งการเรียนรู้ ประสบการณ์ เพลิดเพลินและปลอดภัย ซึ่งชุมชนบำครอบครัวตำบลพิมายและพื้นที่ใกล้เคียง ที่ทำกิจกรรมป่าครอบครัว ป่าไม้มีค่าธนาคารต้นไม้หรือโคก หนอง นา ที่มีสมาชิกทำกันจำนวนมาก แต่ละแปลง แต่ละที่ มีสิ่งดีแตกต่างกัน เช่น สมุนไพร ต้นไม้สวยงาม ทิวทัศน์รื่นรม ที่เป็นจุดตึงดูดให้คนภายนอกเข้ามาเที่ยวชมได้อย่างดี โดยเฉพาะการจัดงานในช่วงนี้ นอกจากเป็นช่วงที่ตาลให้ผลแล้ว ยังมีดอกไม้ท้องถิ่นเช่นดอกจาน เอกลักษ์ณ์ของอิสาน เบโต้และชุมชน จึงได้จัดกิจกรรมท่องเที่ยวชีวภาพในชื่องานชมปราสาทปรางค์กู่ อู่อารยธรรม งามล้ำธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ซนสามเผ่า เล่าขานตำนานดาบวิชัย" ครั้งที่ 1 ขึ้น
บุญทัน-ปฐมพงษ์ ธุศรีวรรณ / ศรีสะเกษ