In Thailand

คืบหน้าวัสดุกัมมันตรังสี ซีเชียม-๑๓๗หายจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน



ปราจีนบุรี-(คืบหน้า) – NGO-เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านจังหวัดปราจีนบุรี (ทสม.) , ภาคีเครือข่ายระบุในเวทีเสวนาชาวบ้าน  ระบบภาครัฐฯต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นยังไปไม่ถึง ระบุยังมีสารลักษณะคล้ายซีเซียมมากกว่า 100 ลูกใน 14 โรงงาน  ที่ชาวบ้านยังไม่รู้ห่วงทุเรียน-ส้มโอGIใกล้ถึงฤดูกาลให้ผลผลิต

วันนี้  (29 มี.ค. )  เมื่อ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานความคืบหน้าจากกรณี  เกิดเหตุการณ์วัสดุกัมมันตรังสี ซีเชียม - ๑๓๗ สูญหายไปจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนของบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์แพลน ๕ เอ จำกัด ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ๓๐๔ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี

ต่อมามีการตรวจพบสารรังสีซีเชียม - ๑๓๗ ในฝุ่นแดงจากกระบวนการหลอมโลหะของโรงงาน ในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี   และสื่อมวลชนได้พากันเสนอข่าวรวมถึงความคิดเห็น และ   ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดการรับรู้ ความตื่นตระหนก และ หวาดกลัว ว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ  เป็นอันตรายต่อสุขอนามัยของประชาชนในวงกว้าง ทำให้มีการยกเลิกกำหนดการท่องเที่ยว การศึกษาดูงาน การพำนักพักแรม ตลอดจนการงดซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร   และ  อื่น ๆ ตามที่นำเสนออย่างต่อเนื่อง นั้น

ความคืบหน้า  ที่วัดศรีโพธิมาลัย   ตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธ จ.ปราจีนบุรี  เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านจังหวัดปราจีนบุรี (ทสม.) , ภาคีเครือข่ายภาคประชาชน,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) , สภาทนายความแห่งประเทศไทย ,เจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณุเพื่อสันติ,กลุ่มเกษตรอินทรีย์ และ "มูลนิธิบูรณะนิเวศ" หรือ Ecological Alert and Recovery - Thailand (EARTH) rihv,g8inv-jkp ml,.0kd 0.itpv’}0.o8iokpd  พร้อม ทสม.จ.ระยอง , จ.นครนายก  ได้จัดเวทีระดมความคิดและปรึกษาหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้หัวข้อ "เราจะออกจากวิกฤตกัมมันตภาพรังสีปราจีนบุรีกันอย่างไร"เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการแสวงหาทางออก และแนวทางการปกป้องพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี  ให้ปลอดภัยจากมลพิษ การหาวิธีฟื้นฟูความเชื่อมั่น และ  ความคาดหวังจากผู้ประกอบการจะออกมารับผิดชอบต่อสังคม–เยียวยาอย่างไร  ต่อไปโรงเหล็กหลอม หรือ การเปิดเผยกัมมันรังสีในโรงงาน ควรเปิดเผยข้อมูลว่าอยู่ไหน – อย่างไร และ มาตราการ   การกวดขันไม่ให้เกิดวิกฤติซ้ำรอยอีก

โดยมีนายจำรูญ  สวยดี ภาคประชาสังคมภาคตะวันออก ดำเนินรายการ , นายสมเกียรติ สุสัณพูลทองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวต้อนรับผู้ร่วมเวทีระดมความคิด ,นายบรรจง  พรมวิเศษ ประธานอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน จ.ปราจีนบุรี  (ทสม.) เป็นประธานเปิดงาน มีหน่วยงานหลายหน่วย   ร่วมเวที อาทิ นายพัตทอง กิตติวัฒน์อุตสาหกรรมจังหวัด ปราจีนบุรี นายธราพงษ์ รักขนาม ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด พ.อ. ธนเดช แม่นปืนหัวหน้ากลุ่มงาน กอ. ม รน, นพ.สิริเกียรติ เตชะมนูญ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี ,ว่าที่ร้อยตรีทนงศักดิ์สุวรรณเตมีย์สนง.ปภ. ,  นางสาวสวิตตา สามัคคี สนง.พาณิชย์ ,  นางสาวพิมพ์จันทร์ นาคเล็ก สนง.ททท. สำนักงาน (ท่องเที่ยวนครนายก), นางสาวกวินธิดา คำแห่งผล สนง.กษ. นางสาวธัญญารัตน์ บุญรอด สภาอุตสาหกรรมปราจีนบุรี,นายอลงกต เอี่ยมประไพ ปลัดอำเภอศรีมหาโพธิ,  นาย วิโรจน์น้อย สำเนียง อายุ 66 ปี นายกสมาคมจิตอาสาพัฒนาปราจีนบุรี , นางระตะนะ  ศรีวรกุล แกนนำเกษตรอินทรีย์ตำบลนนทรี,นายสุนทร  คมคาย แกนนำเกษตรอินทรีย์ ต.เขาไม้แก้ว , นายวีรบุญโตสมาชิก ต.ท่าตูม  - กลุ่มธงขาวกบินทร์บุรี นายไพโรจน์ จำลองราษฎ อนุรองประธานอนุกรรมการคณะสิ่งแวดล้อมสภาทนายความ , นายจรัญ จันทร์มณี เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน จ.ระยอง (ทสม.) , นายสุรินทร์ สินรัตน์ ประธาน ทสม.จ. ระยอง

โดยในรอบแรกเป็นการแสดงให้ทราบถึงผลกระทบที่ได้รับในภาคส่วนต่าง ๆ ,  รอบที่2  เป็นการแสดงหลบักแนวคิดร่วมกั้นแก้ไข ป้องกันปัญหา  และ  ในรอบที่ 3 จังหวัดปราจีนบุรี – โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องทำอะไรบ้าง

โดยสรุปได้ ดังนี้   เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ GI  ปราจีนบุรี  ที่มีมานานกว่า 40 ปี นอกจากนี้ ผลผลิตกว่าร้อยละ 90 ยังส่งออกไปต่างประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน เวียดนาม แต่ละปีมีผลผลิตไม่เพียงพอต่อการส่งออก   โดยคิดเป็นยอดการส่งออกมากกว่าร้อยล้านบาทต่อปี   ผู้ปลูกส้มโอเอกสารสิทธิ GI  ปราจีนบุรี   คือ เมื่อตัดออกจากต้นสามารถปอกและรับประทานได้เลย ไม่ต้องปล่อยไว้ให้รอลืมต้น    ส้มโอที่ใกล้เคียงโรงงาน อ.ศรีมหาโพธิ เกือบ 7 กม.ยังพากันตื่นตระหนก ยังกังวลสารซีเซียม 137  เกรงผลผลิตส้มโอ GI  ปราจีนบุรี  จะขายไม่ได้

ด้านแม่ค้าชาวอำเภอประจันตคาม ไปขายสินค้าที่ตลาดสดองค์การตลาดเพื่อการเกษตร หรือ ตลาดสด อ.ต.ก. ( Or Tor Kor Market ) ลูกค้าซื้อิน้าไปแล้วสอบถาม เมื่อรู้ว่ามาจากปราจีนบุรี ยกเลิก-คืนสินค้า

ขณะที่เกษตรกรผู้ทำการเกษตรอินทรีย์ ปลูกพืชสมุนไพรชาว ต.นนทรีย์ อ.กบินทร์บุรี  ถูกยกเลิกการเข้ามาดูงาน – สัมมนาจากนักศึกษาทันทีกว่า 40 ราย  ทั้งที่เตรียมของ – ที่พักไว้พร้อมแล้ว 

ขณะการเกษตรอินทรีย์ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี แกนนำเกษตรอินทรีย์ตำบลเขาไม้แก้ว แจ้งว่า หลังมีข่าวสารเรื่องสารซีเซี่ยม -137    ผลกระทบคือ คนกังวลความปลอดภัยที่จะมาปราจีนฯ บางกลุ่มของเกษตรอินทรีย์ และ เครือข่าย ถูกยกเลิกงานการสัมมนา การศึกษา มาดูงานที่นักศึกษามาพื้นที่ รวมถึง ยกเลิกที่พัก-โฮมสเตย์ ถูกยกเลิกไปทั้งหมด

พร้อม กับ ส่วนความกังวล ในเรื่องของเกษตรอินทรีย์ ถูกคำถามจากผู้บริโภค ตอนนี้ยอดขายที่ไปข้างนอกลดลง แต่ยอดขายในจังหวัดทุกคนเข้าใจเพราะอยู่ในสถานการณ์ แต่ข่าวที่สื่อออกไป ถูกผลกระทบมาก อาทิ แม้แต่ ที่เมมอนฟาร์มลูกค้าคอมเมน์มาตอนนี้ของดก่อน โดยเฉพาะสินค้าผักจากปราจีนบุรี

ด้านชาวประมงพื้นบ้าน กลุ่มผู้เลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำปราจีนบุรี ใกล้โรงงานกว่า 1 กม.กังวลในหน้าฝนที่จะถึงที่น้ำจะชะล้างลงแม่น้ำปราจีนบุรีที่มีผู้เลี้ยงปลากะชังจำนวนมาก  หากมีผลกดระทบด้านสิ่งแวดล้อม จำทำอย่างไร เฝ้าระวังอย่างไร  แล้วใครจะรับผิดชอบ

ขณะที่  กลุ่มรักษ์พระปรง ซึ่งเฝ้าระวังต้นน้ำแม่น้ำปราจีนบุรี ต้องการให้มีการเปิด โรงงานที่มีการใช้สารกัมมันรังสี  ให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลในการเฝ้าระวังอีกแรงหนึ่ง

พร้อมกับมีแนวคิด หาทางออก  อาทิ  การตั้งกองทุน  เก็บเงินจากผู้ประกอบการ ในการจัดการดูแลแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม  หากอยู่ระหว่างดำเนินการป้องกัน หรือแก้ไข  เพื่อให้เกิดการดูระยะเร่งด่วน    การให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูล  อาทิ  ยังมีโรงงานมากกว่า 14  แห่ง ที่เก็บสารคล้ายซีเซียม 137  ไว้  100 กว่าแท่ง เป็นต้น   ภาคราชการต้องไม่ปกปิดข้อมูล

มีตวามเป็นห่วงเกษตรกรชาวสวนผลไม้ปราจีนฯ  อาทิ ทุเรียน หรือ ส้มโอ  GI  ปราจีนบุรี  ต้องทำข้อมูลที่ไม่มีความเสี่ยงสารซีเซี่ยม 137 ที่ผู้บริโภคจะได้รับ  การดำเนินคดีกับโรงงานผู้กระทำผิด ,การออกมารับผิดชอบกับสังคม – ชุมชน   การสร้างความเชื่อมั่นไม่ปกปิดข้อมูล

มานิตย์   สนับบุญ-ข่าว/ณัฐนันท์-ภาพ   / ปราจีนบุรี