In Global
บริษัทในหมู่เกาะบริติชเวอร์จินหนุนงาน 2.3ล.คนทำรายได้จากภาษีหมื่นล.U$
ลอนดอน, 30 มีนาคม 2566รายงานฉบับใหม่ในหัวข้อ "Beyond globalisation: The British Virgin Islands contribution to global prosperity in an uncertain world" (มองออกไปให้มากกว่าโลกาภิวัตน์: หมู่เกาะบริติชเวอร์จินมีส่วนสนับสนุนความเจริญรุ่งเรืองในโลกที่ไม่แน่นอน) ได้เน้นย้ำให้เห็นบทบาทอันดีของหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (BVI) ในเศรษฐกิจโลก
รายงานดังกล่าวเป็นผลจากการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งศึกษาบริษัทที่ดำเนินงานในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน[1] โดยพบว่าหมู่เกาะบริติชเวอร์จินเป็นที่ตั้งของศูนย์ธุรกิจและการเงินระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก รองรับการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดนมูลค่าประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์
ปัจจุบัน หมู่เกาะบริติชเวอร์จินมีบริษัทที่ทำธุรกิจอยู่ 375,000 แห่งเศษ ๆ ในจำนวนนี้มาจากเอเชีย 57% มาจากยุโรปและอเมริกาเหนือ 16% โดยการลงทุนที่ดำเนินการผ่านบริษัทในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ช่วยสนับสนุนงานได้ประมาณ 2.3 ล้านตำแหน่งทั่วโลก และสร้างรายได้จากภาษีได้ปีละ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
ในสหราชอาณาจักรนั้น บริษัทในหมู่เกาะบริติชเวอร์จินถือครองสินทรัพย์ประมาณ 1.53 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การลงทุนที่ดำเนินการผ่านหมู่เกาะบริติชเวอร์จินสร้างงานได้ 134,000 ตำแหน่ง และสร้างรายได้จากภาษีให้กับรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เอลิส โดโนแวน ( Elise Donovan) ซีอีโอของบีวีไอ ไฟแนนซ์ ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานฉบับนี้ว่า
"รายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นบทบาทของหมู่เกาะบริติชเวอร์จินได้อย่างชัดเจน ในการอำนวยความสะดวกในการลงทุน กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน และสร้างรายได้จากภาษีที่จำเป็นอย่างยิ่งให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ
"การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ช่วยให้เราไขปริศนาได้บางส่วน และให้ความรู้แก่ผู้คนจำนวนมากขึ้นเกี่ยวกับบทบาทที่แท้จริงของหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ในฐานะศูนย์กลางทางการเงินและธุรกิจระหว่างประเทศอันเป็นที่ยอมรับ และเป็นตัวกลางสำคัญในเศรษฐกิจโลก
"ไม่ว่าวิวัฒนาการต่อไปของโลกาภิวัตน์จะเกิดขึ้นในรูปแบบใด ศูนย์การเงินระหว่างประเทศอย่างหมู่เกาะบริติชเวอร์จินจะยังคงเป็นฟันเฟืองสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจโลก โดยช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทุน และผลักดันตลาดโลกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น""
รายงาน "Beyond Globalisation" นำเสนอ 3 กรณีสำคัญเกี่ยวกับอนาคตของโลกาภิวัตน์และโอกาสสำหรับหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน กรณีแรกได้แก่ "ความเป็นสากลที่อ่อนแอลง" (Weaker internationalism) ซึ่งเป็นกรณีที่แนวโน้มโลกาภิวัตน์ก่อนเกิดโรคระบาดยังคงดำเนินต่อไป แม้จะช้ากว่าและมีอุปสรรคทางการเมืองมากมาย กรณีที่สองคือ "เศรษฐกิจกลุ่มก้อน" (the bloc economy) เมื่อการบูรณาการทางเศรษฐกิจและกฎระเบียบระหว่างประเทศต่าง ๆ อยู่ในลักษณะเป็นกลุ่มก้อนตามปัจจัยภูมิศาสตร์การเมือง แต่กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้มีความแตกต่างกัน กรณีสุดท้าย "ลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจแบบใหม่" (new economic nationalism) ซึ่งเป็นโลกาภิวัตน์ย้อนกลับที่มีนโยบายปกป้องทางการค้ามากขึ้น แนวชายแดนที่เข้มงวดมากขึ้น และการเมืองที่เอาแน่เอานอนไม่ได้มากขึ้น
มาร์ค แพร็กเนลล์ ( Mark Pragnell) ผู้อำนวยการบริษัทแพร็กมาทิกซ์ แอดไวซอรี (Pragmatix Advisory) กล่าวเสริมว่า
"เมื่อมองไปในอนาคตที่ไม่แน่นอนและมองให้ไกลกว่าโลกาภิวัตน์ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แวดวงภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจมีสถานการณ์มากมายที่อาจเกิดขึ้น แต่ความต้องการศูนย์รวมความเชี่ยวชาญที่เป็นกลางและล้ำหน้าด้วยนวัตกรรม เช่น หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน จะยังคงมีอยู่ต่อไป เพื่อสนับสนุนการค้า การลงทุน และความคล่องตัวข้ามพรมแดน"
รายงาน "Beyond Globalisation": หมู่เกาะบริติชเวอร์จินนำการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติอย่างเป็นทางการ ข้อมูลและการวิจัยต่าง ๆ ไปรวมกับการสำรวจสภาพแวดล้อมและผลลัพธ์ของโครงการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโครงการสำคัญ ซึ่งศึกษาบริษัทที่ดำเนินงานในศูนย์ธุรกิจและการเงินระหว่างประเทศของหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน