In Thailand
จัดโครงการอบรม‘พระบริบาลภิกษุไข’
กาญจนบุรี-วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช สถาบันพระบรมราชชนก จัดโครงการอบรม "พระบริบาลภิกษุไข" ประจำวัด ๑ วัด ๑ รูป คณะสงฆ์ จังหวัดกาญจนบุรี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เจริญพระชนมายุ ๘ รอบ ๙๖ พรรษา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2566 ที่วัด ตะคร้ำเอน ตำบลท่าเรือ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี นพ.ชาติชาย กิติยานันท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี อ.ดร.บรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์ ประธานแม่บ้านสาธารณสุข สาขาจังหวัดกาญจนบุรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะการักษ์ สาธารณสุขอำเภอท่ามะกา ผู้อำนวยการสำนักพุทธศาสนาจังหวัดกาญจนบุรี วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
ร่วมพิธีเปิดโครงการอบรม "พระบริบาลภิกษุไข ้" ประจำวัด ๑ วัด ๑ รูป คณะสงฆ์ จังหวัดกาญจนบุรี เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เจริญพระชนมายุ ๘ รอบ ๙๖ พรรษา จัดโดย ดร.ประกริต รัชวัตร์์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี้ จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง โดยมีพระเทพเมธาภรณ์ (ประสงค์ วราสโย ป.ธ.8) เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี (ฝ่ายธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดสิริกาญจนาราม พระเทพปริยัติโสภณ (ปัญญา วิสุทธิปญฺโญ ป.ธ.๙) เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี (ฝ่ายมหานิกาย) เจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม พระมหาวิสูตร วิสุทฺธปญฺโญ รองเจ้าคณะจังหวัด ที่เมตตาให้คำปรึกษา และพระครูวิสาลกาญจนกิจ เจ้าอาวาสวัดตะคร้ำเอน
และคณะสงฆ์ที่ให้ความเมตตาอนุเคราะห์ช่วยเหลือในด้านต่างๆ กลุ่มเป้าหมายการอบรมเป็นพระภิกษุทุกวัดในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 240 รูป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เจริญพระชนมายุ ๘ รอบ ๙๖ พรรษา และเพื่อให้พระภิกษุ ที่เข้ารับการอบรมมีองค์ความรู้และทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวมทั้งมีความรู้และทักษะในการบริบาลพระภิกษุไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดร.ประกริต รัชวัตร์์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช กล่าวว่า จากการสำรวจสุขภาพพระภิกษุ-สามเณรทั่วประเทศ พบว่ามีพระภิกษุสำมเณรที่สุขภาพดี ร้อยละ 52 มีภาวะเสี่ยงร้อยละ ๑๙ และอาพาธร้อยละ ๒๘.๕ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ไม่มีผู้ดูแล และเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อไม่เรื้อรัง โดยปัจจัยที่ทำให้อาพาธคือ ไขมันและน้ำตาลในเลือดสูง ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนโรคที่พบมากที่สุด ๕ อันดับแรก ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตวายเรื้อรัง อีกทั้งยังพบว่าพระภิกษุอาพาธด้วยโรคกระเพาะอาหาร ปวดหลัง ปวดเอว และข้อเสื่อม
ดังนั้น การพัฒนาสมรรถนะพระภิกษุในการเป็นผู้ดูแลสุขภาพพระภิกษุอาพาธจึงเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับเนื้อหาการอบรมหลักสูตร "พระบริบาลภิกษุไข ้" ประจำวัด ๑ วัด ๑ รูป คณะสงฆ์จังหวัดกาญจนบุรีฯ ประกอบด้วย หลักการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในพระภิกษุ เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, หลอดเลือดสมอง, โควิด-19 ปัญหาสุขภาพจิต การเจาะน้ำตาลปลายนิ้วและการฉีดยาเบาหวาน การใช้ สบช. โมเดล ในการประเมินภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย การให้อาหารทางสายยาง การปฐมพยาบาล การทำแผล การช่วยชีวิต (CPR) ตลอดจน การออกกำลังกาย การนวดผ่อนคลายและนวดเพื่อสุขภาพ การอบรมครั้งนี้มีทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เพื่อให้ทุกวัดมีพระบริบาลที่มีความรู้ในการดูแลพระภิกษุที่อาพาธ และสามารถจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วยสำหรับพระภิกษุ เพื่อให้พระภิกษุทุกวัดมีสุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถสืบทอดพระพุทธศาสนาได้อย่างยั่งยืน
สนั่น-กาญจนบุรี