In Bangkok
'จักกพันธุ์'ลงพื้นที่เขตลาดพร้าวชูต้นแบบ คัดแยกขยะเซ็นทรัลอีสวิลล์
กรุงเทพฯ-รองผู้ว่าฯจักกพันธุ์ ลงพื้นที่เขตลาดพร้าว ชูต้นแบบคัดแยกขยะเซ็นทรัลอีสวิลล์ ส่องสวน 15 นาทีสวนสุคนธสวัสดิ์ คุมเข้มค่าฝุ่นแพลนท์ปูนประเสริฐมนูกิจ 25 จัดระเบียบผู้ค้าลาดพร้าววังหิน 18-20 เช็กระบบ BMA-TAX ตรวจแยกขยะเขตลาดพร้าว
(23 พ.ค.66) เวลา 14.00 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่เขตลาดพร้าว เพื่อติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
เยี่ยมชมอาคารต้นแบบการคัดแยกขยะ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลอีสวิลล์ ขนาดพื้นที่ 51 ไร่ วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล จะมีถังรองรับขยะรีไซเคิลประจำทุกชั้น มีการคัดแยกและจัดเก็บโดยเจ้าหน้าที่และแม่บ้าน ซึ่งบางส่วนจะนำไปไว้บริเวณจุดรับขยะรีไซเคิล หากประชาชนมีความประสงค์จะทิ้งหรือบริจาคขยะรีไซเคิลสามารถนำไปไว้บริเวณจุดรับขยะรีไซเคิล บริเวณชั้น 1 ลานจอดรถ ตามโครงการ Recycle Day 2.ขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร) นำขยะเศษอาหารที่มีการคัดแยกขยะภายในห้าง มารวมที่ห้องพักขยะ โดยเจ้าหน้าที่เก็บขนมูลฝอยของเขตฯ นำขยะเศษอาหารไปให้อาหารปลา 3.ขยะทั่วไป ทิ้งขยะทั่วไปใส่ในถุงดำมัดปากถุงให้เรียบร้อย นำลงไปเก็บไว้บริเวณห้องเก็บขยะของห้างสรรพสินค้า โดยรถขยะจะเข้ามาเก็บทุกวัน เวลา 20.00 น. เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี 4.ขยะอันตราย มีถังรองรับขยะอันตราย บริเวณจุดรวมการคัดแยกขยะ จัดเก็บเดือนละ 1 ครั้ง สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยก 5,000 กิโลกรัม/วัน และหลังคัดแยก 4,700 กิโลกรัม/วัน นำกลับไปใช้ประโยชน์ 200 กิโลกรัม/วัน แบ่งเป็นขยะเศษอาหาร 150 กิโลกรัม ขยะรีไซเคิล 100 กิโลกรัม
ติดตามความก้าวหน้าสวน 15 นาที สวนสุคนธสวัสดิ์ เดิมเป็นพื้นที่รกร้างในย่านชุมชน โดยนำมาใช้ประโยชน์จัดทำเป็นสวน 15 นาที เพื่อให้ประชาชนเยาวชนในชุมชน และนักเรียนในโรงเรียนบริเวณใกล้สวน 15 นาที มาใช้ประโยชน์เป็นสถานที่พักผ่อน และใช้ในการออกกำลังกาย การมีส่วนร่วมในเขตฯ โยฝ่ายโยธาออกแบบและปรับพื้นที่ ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ ประสานทางชุมชนในพื้นที่ ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ดำเนินการปลูกต้นไม้ จัดสวนให้มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม ภาคีเครือข่ายประกอบด้วย ชุมชน 1 แห่ง จำนวน 640 ครัวเรือน โรงเรียน 2 แห่ง และสถานประกอบในพื้นที่ เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ออกกำลังกายให้กับชุมชน สถานประกอบการ และโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง และมีการปลูกผักสวนครัวที่ใช้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและนำไปใช้ประโยชน์ การจัดทำสวน 15 นาที ไม่ได้ใช้งบประมาณ ซึ่งการดำเนินการได้รับการสนับสนุนจากชุมชน และสถานประกอบการ บริษัทธนาเพลส ให้การสนับสนุน และทางชุมชนธนาเพลส เป็นผู้ดูแล
ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 แพลนท์ปูนบริษัท ฟาสท์คอนกรีต จำกัด ซอยประเสริฐมนูกิจ 25 ซึ่งเป็นที่ตั้งแพลนท์ปูน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ บริษัท น่ำเฮงคอนกรีต (1992) จำกัด บริษัท ฟาสท์คอนกรีต จำกัด บริษัท นครหลวงคอนกรีต จำกัด เขตฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ประเภทสถานประกอบการ/โรงงาน ประเภทแพลนท์ปูน/ตรวจวัดควันดำ ประเภทสถานที่ก่อสร้าง พร้อมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 กำชับสถานประกอบการในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมค่าฝุ่น PM2.5 ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับผู้ประกอบการให้ตรวจสอบเครื่องพ่นละอองน้ำโดยรอบให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเปิดตลอดเวลาการทำงาน ฉีดล้างทำความสะอาดพื้นไม่ให้มีเศษปูนหรือฝุ่นผงตกค้าง ล้างทำความสะอาดล้อรถโม่ปูนก่อนออกจากแพลนท์ปูน และตรวจวัดควันดำรถโม่ปูนอย่างสม่ำเสมอ
ตรวจความเรียบร้อยพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณถนนลาดพร้าววังหิน ซอยลาดพร้าววังหิน 18-20 เขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 27 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 365 ราย ดังนี้ 1.ถนนนาคนิวาส ซอยนาคนิวาส 49 ผู้ค้า 6 ราย 2.ถนนโยธินพัฒนา หน้าห้างสรรพสินค้าแม็คโคร ผู้ค้า 4 ราย 3.ถนนลาดพร้าววังหิน ซอยลาดพร้าววังหิน 18-20 ผู้ค้า 6 ราย 4.ถนนลาดพร้าววังหิน ซอยลาดพร้าววังหิน 9-13 ผู้ค้า 10 ราย 5.ถนนลาดพร้าววังหิน ซอยลาดพร้าววังหิน 24 ผู้ค้า 3 ราย 6.ถนนสังคมสงเคราห์ ซอยสังคมสงเคราะห์ 30 ผู้ค้า 6 ราย 7.ถนนสังคมสงเคราห์ ซอยสังคมสงเคราะห์ 18 ผู้ค้า 1 ราย 8.ถนนสังคมสงเคราห์ ซอยสังคมสงเคราะห์ 20 ผู้ค้า 1 ราย 9.ถนนโชคชัย 4 ตรงข้ามกองปราบล ผู้ค้า 8 ราย 10.ถนนโชคชัย 4 ซอยโชคชัย 4 ซอย 54 ผู้ค้า 66 ราย 11.ถนนโชคชัย 4 ซอยโชคชัย 4 ซอย 35 ผู้ค้า 5 ราย 12.ถนนโชคชัย 4 ซอยโชคชัย 4 ซอย 59 ผู้ค้า 6 ราย 13.ซอยลาดพร้าววังหิน 4 ผู้ค้า 1 ราย 14.ซอยลาดพร้าววังหิน 22 ผู้ค้า 1 ราย 15.ซอยลาดพร้าววังหิน 25 ผู้ค้า 4 ราย 16.ซอยลาดพร้าววังหิน 29 ผู้ค้า 1 ราย 17.ซอยลาดพร้าววังหิน 43 ผู้ค้า 2 ราย 18.ซอยลาดพร้าววังหิน 45 ผู้ค้า 1 ราย 19.ถนนสุคนธสวัสดิ์ สี่แยกถนนประเสริฐมนูกิจ ผู้ค้า 13 ราย 20.ถนนลาดปลาเค้า สี่แยกลาดพร้าววังหิน ผู้ค้า 32 ราย 21.หน้าหมู่บ้านเฟรินซิฟ ถนนสุคนธสวัสดิ์ ผู้ค้า 15 ราย 22.ถนนมัยลาภ ปากซอยประเสริฐมนูกิจ 29 ผู้ค้า 16 ราย 23.ถนนลาดพร้าววังหิน ซอยลาดพร้าววังหิน 60 ผู้ค้า 21 ราย 24.ถนนนาคนิวาส ซอยนาคนิวาส 16 ผู้ค้า 18 ราย 25.ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ซอยประดิษฐ์มนูธรรม 25 ผู้ค้า 23 ราย 26.ถนนสุคนธสวัสดิ์ 3 ปากซอยโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ผู้ค้า 17 ราย และ 27.ถนนเสนานิคม 1 ม.อมรพันธ์ 9 ผู้ค้า 78 ราย ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ทำการค้า กวดขันไม่ให้มีการตั้งวางสินค้ารุกล้ำเข้ามาในทางเท้า พิจารณายุบรวมจุดที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย โดยให้มาทำการค้าในจุดเดียวกัน ที่ผ่านมาเขตฯ ได้ยุบไปรวมกับจุดอื่นแล้ว 2 จุด เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประชาชนได้รับความสะดวกและปลอดภัยในการใช้ทางเท้า
ติดตามการใช้งานระบบสารสนเทศภาษีท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร (BMA-TAX) ในการจัดเก็บรายได้ เขตฯ มีที่ดิน 54,828 แปลง สำรวจครบแล้ว สิ่งปลูกสร้าง 44,607 แห่ง ห้องชุด 13,322 ห้อง สรุปผลการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสิ้น 112,757 รายการ สำรวจครบทั้งหมดแล้ว พร้อมกันนี้ได้สอบถามถึงระบบการชำระภาษี BMA-TAX ศักยภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ประสิทธิภาพระบบเครือข่ายทั้งแบบใช้สายสัญญาณ (LAN) และแบบไร้สายสัญญาณ (WIFI) ตลอดจนให้คำแนะนำในการจัดเก็บภาษีประเภทต่างๆ เน้นย้ำการปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบโปร่งใส เพื่อให้การจัดเก็บภาษีรายได้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ตรวจเยี่ยมอาคารต้นแบบการคัดแยกขยะ สำนักงานเขตลาดพร้าว มีข้าราชการและบุคลากร 270 คน วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะรีไซเคิล จะมีถังรองรับขยะรีไซเคิลประจำทุกฝ่าย มีการคัดแยกและจัดเก็บโดยเจ้าหน้าที่และแม่บ้าน ซึ่งบางส่วนจะนำไปไว้บริเวณจุดรับขยะรีไซเคิล บริเวณ ชั้น 1 ข้างห้อง Otop ซึ่งมีจุดรับบริจาคโครงการต่างๆ เช่น ตามโครงการมือวิเศษ กรุงเทพ “แยกเพื่อให้...พี่ไม้กวาด” โครงการหลังคาเขียว โครงการเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)ยามยาก และรวบรวมนำส่งศูนย์จัดการมูลฝอยฯ พระราม 7 กิจกรรม “ขยะแลกของ” ทุกเดือนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่ร่วมกันคัดแยกขยะนำมาแลกน้ำหมักชีวภาพและน้ำยาล้างจาน 2.ขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร) มีจุดทิ้งและถังรองรับเศษอาหารประจำแต่ทุกฝ่าย สอดคล้องกับโครงการ “ไม่เทรวม” กำหนดการจัดเก็บทุกวัน เวลา 15.00 น. นำขยะเศษอาหารที่มีการคัดแยกขยะของข้าราชการและลูกจ้างนำมารวบรวมไว้บริเวณลานจอดรถ ซึ่งจะมีเกษตรกรนำไปเป็นอาหารสัตว์ 3.ขยะทั่วไป ทิ้งขยะทั่วไปใส่ในถุงดำที่แม่บ้านจัดไว้ของละฝ่าย แม่บ้านจะนำถุงดำที่ใส่ขยะทั่วไป มัดปากถุงให้เรียบร้อย ลงไปเก็บไว้บริเวณหลังป้อมยามประตูทางออกเขตฯ ในเวลา 15.00 น. ของทุกวัน โดยรถขยะจะเข้ามาเก็บทุกวัน เวลา 05.00 น. เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี 4.ขยะอันตราย มีถังรองรับขยะอันตราย บริเวณจุดรวมการคัดแยกขยะ บริเวณชั้น 1 ข้างห้อง Otop จัดเก็บเดือนละ 1 ครั้ง 5.ขยะติดเชื้อ มีถังรองรับขยะติดเชื้อ เนื่องจากในเขตฯ จะมีศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) และรถของศูนย์เอราวัณจอดประจำอยู่ที่เขตฯ และประชาชนทั่วไปสามารถนำขยะติดเชื้อมาทิ้งได้ บริเวณจุดรวมการคัดแยกขยะ บริเวณชั้น 1 ข้างห้อง Otop จัดเก็บทุกวันเสาร์เพื่อนำไปกำจัด สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยก 130 กิโลกรัม/วัน และหลังคัดแยก 100 กิโลกรัม/วัน นำกลับไปใช้ประโยชน์ 30 กิโลกรัม/วัน แบ่งเป็นขยะรีไซเคิล 18 กิโลกรัม ขยะเศษอาหาร 12 กิโลกรัม
ในการลงพื้นที่วันนี้มี นายศุภกฤต บุญขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ นางสุภาพร ศรีศาสนวงศ์ ผู้อำนวยการเขตลาดพร้าว พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตลาดพร้าว สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล