In Thailand

เปิดเวทีเสวนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์‘เมืองขุขันธ์ สู่ซำปีกา ขุนหาญ’ 



ศรีสะเกษ-นายอำเภอขุนหาญเปิดเวทีเสวนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ “เมืองขุขันธ์ สู่ซำปีกา ขุนหาญ” 

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ที่ศาลาวัดบักดอง ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ  นายพรชัย วงษ์งาม นายอำเภอขุนหาญ  ได้เป็นประธานเปิดโครงการเวทีเสวนาสืบค้นประวัติศาสตร์ตำนานเมืองขุขันธ์ สู่ซำปีกา (เมืองกัณฑ์)  โดยมีนายทิวา  รุ้งแก้ว  นายกพุทธสมาคมจังหวัดศรีสะเกษ นายไพบูลย์ สมรัตน์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุนหาญ,  นายเกษมศานต์  ศรีโพนทอง ผอ.มูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพี่อขุมชน จังหวัดศรีสะเกษ   นายพงษ์พัฒน์  ไตรพิพัฒน์  ประธานสภาอุสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ  ดร.เพ็ญศรี  สารีบุตร  ประธานสภาอุสาหกรรมท่องเที่ยวอำเภอขุนหาญ  ผู้แทนคณะสงฆ์ นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชาวบ้านผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนา  ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน ครูสังคมศึกษา นักศึกษา นักเรียน และประชาชน  เข้าร่วมรับฟังการเสวนาและให้ข้อมูลในเชิงการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ ในเรื่อง Soft Power เน้นในการทำชุมชนให้เข็มแข็ง นำ 5 F ของชุมชนออกมาโชว์ ออกมาขาย เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยชุมชนเพื่อชุมชนเอง ต้องทำให้ศิลปะ - วัฒนธรรม กินได้ นำประวัติศาสตร์ออกมาสร้างรายได้ เช่นเดียวกันต่างประเทศ

โดยเฉพาะที่อำเภอขุนหาญ มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เชื่อมโยงกับการก่อสร้างเมืองขุขันธ์ และเมืองศรีสะเกษ และได้รับ8;k,เมตตาจากพระครูศรีโพลลังการ เจ้าคณะอำเภอขุนหาญ  พระมหายุทธกิจ ปัญญาวุโธ ปธ.9 รองเจ้าคณะอำเภอขุนหาญ เจ้าอาวาสวัดบักดอง, พระครูวิโรจน์ วีรภรณ์ เจ้าคณะตำบลบักดอง เขต1 และคณะสงฆ์ กว่า 20 รูป ด้วย  ทั้งนี้เพื่อสืบสานสืบคันประวัติศาสตร์ตามคำบอกเล่า นอกตำราจากผู้รู้ในชุมชน เพื่อสร้างความภาคภูมิใจร่วมกัน  เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้โรงเรียน ท้องที่ท้องถิ่นได้ร่วมกันศึกษาสืบคัน บันทึกเป็นหลักฐาน ตำราอ้างอิงสืบไป  และเพื่อเป็นฐานส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนา วัฒนธรรม ตลาดนัดชุมขนโดยชุมชนมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนต่อไป

นายพรชัย วงศ์งาม นายอำเภอขุนหาญ กล่าวว่า อำเภอขุนหาญเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เชื่อมโยงกับการสร้างเมืองขุขันธ์ในอดีต ก่อนที่จะไปก่อตั้งเป็นเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน ในวันนี้ผมดีใจที่ชาวอำเภอขุนหาญ ร่วมกับลูกหลานของพ่อเมืองขุขันธ์ในอดีตย้อนไปนับร้อยกว่าปี ได้ริเริ่มในการมาสืบประวัติศาสตร์ของชาวเมืองขุนหาญ เพื่อเก็บไว้ให้ลูกหลานชาวอำเภอขุนหาญได้ทราบบรรพบุรุษของตนเอง ซึ่งลูกหลานของชาวขุขันธ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้มาเล่าความหลัง เป็นการสืบรากประวัติศาสตร์เพื่อเก็บบันทึกเอาไว้เป็นรูปเล่ม พร้อมกันนี้ ยังได้มีแนวคิดในการที่จะพัฒนา เรื่องการเชื่อมโยงเข้ามาสู่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ “เมืองขุขันธ์ สู่ซำปีกา ขุนหาญ” อันจะสร้างรายได้ให้เข้ามาสู่ชุมชน อันจะทำให้เมืองขุนหาญ นอกจากจะเป็นแหล่งปลูกผลไม้ได้นานาชนิดของไทยได้แล้ว โดยเฉพาะทุเรียนภูเขาไฟ ยังจะมีการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ให้นักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวได้ตลอดทั้งปีที่อำเภอขุนหาญ ได้อีกด้วย ตนยินดีที่จะให้การสนับสนุนให้เกิดมีเวทีเสวนาเช่นนี้ได้อีกตลอดไป เพื่อความเจริญของเมืองขุนหาญ สืบไป

บุญทัน  ธุศรีวรรณ /  ศรีสะเกษ