Health & Beauty
สองแบรนด์ไทยความงามและเครื่องดื่ม กดจุดเปลี่ยนสู่ระดับโลก'อีคอมเมิร์ซB2B'
กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 26 มิถุนายน 2566, ในขณะที่โลกกำลังก้าวข้ามผ่านยุคของการเว้นระยะห่างทางสังคมและการแพร่ระบาด ความท้าทายใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไปและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ในท่ามกลางอุปสรรคเหล่านี้ ก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นให้เห็น เช่นกัน
Alibaba.com แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ชั้นนำสำหรับการค้าทั่วโลก เปิดเผยว่า มีจำนวนผู้ซื้อที่ใช้งานอยู่บนแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากข้อจำกัดด้านการเดินทาง แต่ที่น่าสนใจคือ แม้ว่าโลกจะกลับสู่ภาวะปกติ จำนวนผู้ซื้อที่ใช้งานอยู่กลับไม่ลดลง ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้ซื้อแบบ B2B เริ่มคุ้นเคยกับการจัดหาสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น
ความมีเสถียรภาพของการขายแบบดิจิทัลเป็นสิ่งที่หลายบริษัทต้องการเพื่อรักษาการดำเนินงานของตนให้ยั่งยืน เนื่องจากอีคอมเมิร์ซแบบ B2B ได้รับแรงผลักดันอย่างต่อเนื่อง ผู้ขายชาวไทยที่เชี่ยวชาญจึงใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์และมีคุณภาพสูงจากตลาดในประเทศของตนให้กับผู้ซื้อทั่วโลก ซึ่งประสบความสำเร็จในการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มในต่างประเทศ
นำสมุนไพรไทยสู่เวทีสากล
จันทร์สว่าง กรุ๊ป บริษัทด้านความงามของไทย ประสบความสำเร็จอย่างมากในการส่งเสริมคุณประโยชน์ของสมุนไพรไทยไปทั่วโลกผ่านอีคอมเมิร์ซแบบ B2B โดยบริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2547 และได้เติบโตจนกลายเป็นแฟรนไชส์ที่มีศูนย์ความงามกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ
ความสำเร็จของจันทร์สว่างมาจากคุณภาพของสมุนไพรที่ผลิตในโรงงานของตนเอง ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP ความมุ่งมั่นในการใช้สมุนไพรที่มาจากท้องถิ่นได้มอบโอกาสการจ้างงานให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่น สิ่งนี้ทำให้บริษัทมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
ดร.กัญยฐ์ชรฏ์ จันทร์สว่าง ธรรมเพชร ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท จันทร์สว่าง เล่าว่า แรงบันดาลใจในการทำธุรกิจของมาจากประสบการณ์ของของตนเองเกี่ยวกับสมุนไพรไทย และมุ่งมั่นที่จะสร้างธุรกิจที่ให้โอกาสผู้อื่นได้รับประโยชน์ทางการค้าเช่นกัน และด้วยความพยายามที่จะขยายการเข้าถึงบริษัทไปต่างประเทศ จึงหันมาที่ Alibaba.com และสร้างการเปลี่ยนแปลงได้เด่นชัดในทันที
“ก่อนหน้านี้เรามีลูกค้าชาวไทยเท่านั้น แต่หลังจากเปิดตัวบน Alibaba.com ได้ไม่นาน เราก็เริ่มได้รับการสอบถามจากผู้ซื้อในต่างประเทศ” ดร.กัญยฐ์ชรฏ์ จันทร์สว่าง ธรรมเพชร กล่าว
เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ความต้องการสินค้าของจันทร์สว่างในกลุ่มลูกค้าจากต่างประเทศกลับเพิ่มขึ้น โดยมีคำสั่งซื้อหลั่งไหลเข้ามาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา ยุโรป สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ จากความสำเร็จนี้ บริษัทวางแผนที่จะเพิ่มยอดขายออนไลน์เป็นสองเท่า
“เราต้องการแสดงให้โลกเห็นว่าสมุนไพรไทยมีดีอย่างไรผ่านผลิตภัณฑ์ของเรา และเราจะยังคงใช้ประโยชน์จากอีคอมเมิร์ซแบบ B2B ในการขยายฐานลูกค้าจาก 19 ประเทศไปยังทั่วโลก” ดร.กัญยฐ์ชรฏ์ จันทร์สว่าง ธรรมเพชร กล่าว
ไลฟ์สตรีมสู่ความสำเร็จ
อจินไตย บริษัทจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่เพียงประสบความสำเร็จจากการขยายธุรกิจด้วยอีคอมเมิร์ซแบบ B2B เท่านั้น แต่ยังใช้การไลฟ์สตรีมแบบ B2B เพื่อเชื่อมต่อกับลูกค้าทั่วโลกอีกด้วย
ก่อตั้งโดยคุณ เซน อจินไตย รัตตะนัง บริษัทผลิตน้ำผักและผลไม้โดยใช้ผลผลิตจากฟาร์มของตนเอง เริ่มแรกบริษัทมุ่งเน้นไปที่ผู้ซื้อในประเทศและได้รับความสนใจเป็นครั้งคราวจากผู้ซื้อต่างประเทศผ่านงานแสดงสินค้าและจากนายหน้าการค้า
จากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศในฐานะผู้แสดงสินค้ามานานกว่าห้าปี แต่จำนวนคำสั่งซื้อไม่เป็นที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่ลงทุนไป แต่เรื่องราวก็เปลี่ยนไปในทางบวกหลังจากบริษัทอจินไตยก้าวเข้ามาบนแพลตฟอร์ม Alibaba.com ในฐานะผู้ขาย
“รู้สึกประหลาดใจที่พบว่าผู้ซื้อจำนวนมากที่ได้พบระหว่างงานแสดงสินค้า มีการใช้งานบน Alibaba.com แล้ว หลายคนเห็นโปรไฟล์บริษัทของบนแพลตฟอร์มและทักทายกันเข้ามาทางออนไลน์ หนึ่งในนั้นเริ่มสอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และปิดดีลทันที สิ่งนี้เป็นเครื่องยืนยันว่าเมื่อลูกค้ารู้จักเราผ่านงานแสดงสินค้าแล้ว Alibaba.com จะช่วยเป็นช่องทางสนับสนุนให้ลูกค้ามั่นใจในตัวเรามากขึ้น” คุณเซนกล่าว
ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา อจินไตยสามารถเพิ่มยอดขายได้ถึง 100% ด้วยการใช้ Alibaba.com จนกลายเป็นช่องทางการขายหลัก โดยมีการสอบถามเข้ามาโดยเฉลี่ย 300 รายการต่อเดือน และเฉลี่ย 50 รายการต่อวัน นอกจากนี้คุณเซนยังใช้ประโยชน์จากการไลฟ์สตรีมบน Alibaba.com โดยมีผู้เข้าชมมากถึง 2,000 คนต่อครั้ง และผู้ชมประมาณ 10% ส่งคำถามมาหลังจากเซสชันจบ
เมื่อพูดถึงแผนในอนาคต เป้าหมายของเซน คือการขยายอจินไตยให้เติบโตขึ้นและกลายเป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตบน Alibaba.com เซนกล่าวว่า “ไม่เคยมอง Alibaba.com เป็นเพียงแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซหรือแค่ช่องทางขายของเท่านั้น แต่มองว่ามันคือโลกใบหนึ่งโดยตัวของมันเอง โลกที่สามารถทำให้อจินไตยกลายเป็นห้างสรรพสินค้าได้โดยนำเสนอหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อ”