Think In Truth

วิบากกรรม'การเมือง...การปกครองไทย' วิเคราะห์โดย : หมา เห่าการเมือง



การเมืองการปกครองไทย มีความล้มลุกคลุกคลาน อันเกิดจากการแย่งชิงอำนาจของการเมืองสองขั้ว คือกลุ่มอำนาจนิยมดั้งเดิม หรือกลุ่มอนุรักษ์นิยม กับกลุ่มเสรีนิยมหรือฝ่ายประชาธิปไตย โดยทั้งสองฝ่ายนั้น!! พยายามที่จะก้าวเข้าสู่อำนาจตามครรลองของรัฐธรรมนูญที่อ้างถึงระบอบการปกรองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะได้อำนาจการปกครองประเทศมาโดยตลอด ไม่ว่าจะปกครองโดยพรรคการเมืองที่อยู่ใต้กำกับ หรือการทำรัฐประหาร

การเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2562  ได้รัฐบาลเสียงส่วนน้อย ที่ได้จากการซื้อเสียง ส.ส. ที่ผ่านการเลือกตั้งในสภา

ที่เรียกว่า งูเห่า!!!

จึงได้รัฐบาลประยุทธ์ 1 ที่นายกไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง โดยมีเสียง ส.ว. จำนวน 250 เสียงสนับสนุน ทำให้รัฐบาลประยุทธ์ต้องลงทุนอย่างนักในการผ่านมติต่างๆ รวมทั้งการลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งก็เป็นที่กังขาในความโปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลประยุทธ์เสมอมา รวมทั้งการใช้อภิสิทธิ์ในการไม่ต้องยื่นทรัพย์สินต่อ ปปช. ของนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังกระทำผิดต่อการถวายคำปฏิญานตนในการเข้ารับตำแหน่ง แต่รัฐบาลประยุทธ์ก็ประครองตนเองมาได้จนเกือบสี่ปีหรือเกือบครบวาระ 

การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยเองก็หวังว่าจะได้ ส.ส. แบบแลนด์สไลด์ ซึ่งในขณะเดียวกันพรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยมเองก็หวังว่าจะได้ ส.ส. ของแต่ละพรรครวมกันแล้วได้เกินกว่ากึ่งหนึ่ง คือ 250 เสียง หรือไม่ถ้าได้ไม่ถึง ก็ยังคงสามารถเดี้ยวเอาพรรคเพื่อไทย

ซึ่งมี "งูเห่ากลุ่มใหญ่"

ได้ย้ายพรรคเข้ามาสังกัดเพื่อไทยเพื่อตัวต่อในการรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาล ที่มีกลุ่มอนุรักษ์นิยมเป็นกำลังผลักดันทิศทางทางการเมือง โดยในสายตาของนักการเมืองเก๋าเกมทั้งหลาย ไม่ได้มองพรรคก้าวไกลอยู่ในสายตาเลย เพียงเพราะเชื่อว่าสมัยที่แล้วพรรคก้าวไกลไม่ได้มีผลงานที่เป็นรูปธรรมนอกจากความโดดเด่นในการค้านและซักฟอกในสภาเท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีบารมีในการให้คุณกับประชาชนได้ 

แต่ผลการเลือกตั้งกลับสร้างปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ที่ทำให้นักการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมตกใจอย่างมาก

โดยเฉพาะเวทีการเมืองในกรุงเทพมหานคร ที่ ส.ส.ก้าวไกลกวาดเสียงไปได้เกือบทั้งหมด

มีเพียงเขตเดียวที่เป็นเสียงของพรรคเพื่อไทย พรรคแกนนำรัฐบาลประยุทธ์เองก็ได้เสียงเพียง 30 ส.ส. พรรคภูมิใจไทยที่ทุ่มกำลังในการเลือกตั้งครั้งนี้จำนวนมาก ส่วนมากก็ได้ ส.ส.เขต โดย ส.ส.ปาตี้ลิสต์ก็ได้ไม่เท่าที่ควร

และที่น่าแปลกใจ คือ พรรคพลังประชารัฐเองได้ ส.ส.เขตส่วนใหญ่และได้ ส.ส.ปาตี้ลิสต์เพียงท่านเดียว

การจับขั้วพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐบาลจึงตกไปอยู่ในเมือของพรรคก้าวไกลที่รวบรวมพรรคฝ่ายประชาธิปไตยจำนวน 8 พรรคเข้าร่วม

โดยมีเสียง ส.ส. 331 เสียง ซึ่งเกินครึ่งของสภาผู้แทนราษฎร แต่มีเสียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของสภา คือ 376 เสียง

ซึ่งนั่นคือภาระกิจของแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลที่จะต้องเดินของเสียงจากพรรคต่างๆ รวมทั้ง ส.ว. เพื่อสนับสนุนให้ได้ถึง 376 เสียงเพื่อจัดตั้งรัฐบาล 

วิบากกรรม!!!  ของพรรคก้าวไกลหลังจากที่จับมือกับพรรคร่วม 8 พรรค และลงนาม MOU แล้วก็เริ่มถาโถมเข้าใส่แคนดิเดทนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกลทันที่

โดยเริ่มจากกรณีที่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัฐ ถือหุ้นกิจการสื่อไอทีวี ที่ทำให้ขาดคุณสมบัติในการลงเล่นการเมือง ซึ่งนายพิธาเองก็ได้พิสูจน์ตัวเองมาระดับหนึ่ง ทำให้เสียงกระแทกเข้าใส่เบาบางลง

แต่นายพิธาก็ยังต้องเผชิญกับการปฏิเสธการสนับสนุนจาก ส.ว.และพรรคฝ่ายค้าน อีกทั้งยังมีนักร้องออกมาร้องในหลายประเด็น รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญจะตีความที่มีผลต่อคุณสมบัติของนายพิธาอย่างไร??....

อีกทั้งยังมี ส.ว.บางท่านข่มขู่ด้วยว่าถ้านายพิธาได้เป็นนายกรัฐมนตรีก็จะมีม็อบมาล้อมสภา พรรคร่วมรัฐบาลโดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยเองก็เปิดศึกวางเกมชิงประธานสภา ทั้งที่แกนนำของพรรคมีข้อตกลงกันแล้ว ลามไปจนถึงกล่าวว่า "พรรคเพื่อไทยไม่ใช่สาขาพรรคเมืองของพรรคได” วิบากกรรมอันหนักหน่วงของประชาธิปไตยของประเทศไทยจะก้าวเดินอย่างไร ก็คงต้องติดตามการเมืองไทยอย่างใกล้ชิด ประธานสภาจะตกอยู่ในมือของพรรคก้าวไกลไหม?...นายพิธา ลิ้มเจริญรัฐ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศหรือไม่ นายพิธาจะนำพาอำนาจของประชาชนก้าวไปสู่การพัฒนาประเทศได้หรือไม่ องคาพยบทางการเมืองของแต่ละฝ่ายจะงัดแผนยุทธศาสตรทางการ

เมืองออกมาอย่างไร??....ก็ต้องติดตามต่อไปนะครับ