Think In Truth

เส้นทาง'พิธา'ก้าวสู่นายกรัฐมนตรีคนที่30 โดย : หมาเห่าการเมือง



หลังจากการประชุมเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ผลการโหวตเลือกประธานสภาฯ ได้นายวันนอร์มูฮัมหมัด นอร์มะทา เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายปดิพัทธ์ สันติภาดา เป็นรองประธานสภาฯ คนที่ 1  และนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน เป็นรองประธานสภาฯ คนที่ 2 ถึงแม้นจะถูกมองว่า การเลือกตำแหน่งประธานสภาครั้งนี้ไม่เป็นไปตามระบบของสภาที่พรรคที่มีเสียงในสภาฯ มากที่สุด ควรจะได้รับ และพรรคฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสียงรองลงมาได้รับตำแหน่งรองประธานสภาฯ แต่ด้วยคุณสมบัติ คุณวุฒิ ประสบการณ์ บารมีและความสัมพันธ์ของนายวันนอร์ ที่มีต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้รับเลือกเข้ามาทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง และมีความเชื่อมั่นให้กับสมาชิกสภาฯ สามารถดำเนินการกิจการสภาไปได้ด้วยดี การได้รับเลือกเป็นประธานสภาฯ ครั้งนี้ของนายวันนอร์ฯ จึงได้รับการสนับสนุนโดยไม่มีเสียคัดค้านจากสมาชิกสภาฯ เลย หากจะมีก็เพียงแต่นายปดิพทธ์ สันติภาดา เท่านั้นที่มีนายวิทยา  แก้วภราดัย จากพรรครวมไทยสร้างชาติเท่านั้น ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าแข่งขัน แต่ผลการโหวตเลือกรองประธานสภาฯ คนที่1 ได้ผลการลงคะแนนให้นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ถึง 312 เสียง และนายได้วิทยา ได้คะแนนเสียง  105 เสียง ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ มีนัยะสำคัญในทางการเมือง โดยเฉพาะการมองอนาคตของผลการเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 กรกฎาคม ที่จึงถึงนี้

จากตัวเลขของคะแนนเลือกรองประธานสภาผู้แทนคนที่หนึ่ง สามารถตีความได้ว่า พรรคร่วมรัฐบาลยังคงจับกลุ่มร่วมกันในการจัดตั้งรัฐบาลอย่างเหนียวแน่นเหมือนเดิม นั่นคือแนวโน้มที่นายพิธาจะได้รับการโหวตเลือกเป็นนายก จะต้องมีเสียงไม่น้อยกว่าจำนวนสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลที่เข้าร่วมประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 กรกฎาคมคม 2566 นี้เป็นอย่างน้อย แต่นั่นมันก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการรับรองนายพิธา ลิ้มตระกูลรัตน์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ก็เป็นนัยยะที่ชี้ให้เห็นว่า ส.ส. พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ยอมรับการเข้ามาดำรงตำแหน่งในรัฐสภาไทยตามระบบของสภา ที่เคารพต่อเสียงที่เป็นมติมหาชน และกลุ่มสมาชิกรัฐสภาที่ไม่ให้การสนับสนุน ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่เคารพเสียงประชาชน หากแต่ไม่เคารพต่อระบบรัฐสภา ที่ให้การยอมรับเสียงส่วนมาก

ด้วยกติกาที่บิดเบี้ยวที่ถูกเขียนขึ้นมาบังคับใช้ เพื่อสืบทอดอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ครอบอำนาจปกครองในรัฐบาลชุดที่เป็นรัฐบาล คสช. และรัฐบาลเสียงข้างน้อย ที่ทุ่มเงินซื้อ ส.ส. ในสภากลายร่างเป็นงูเห่าไปสนับสนุนรัฐบาลเสียงส่วนน้อยอนุรักษ์นิยม

บนเส้นทางสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายพิธา เต็มไปด้วยขวากหนามของอำนาจบุคคลที่ไม่ได้มาจากประชาชน จำนวน 250 คนแล้ว ยังเป็นสมาชิกสภาภาผู้แทนราษฎรที่มาจากประชาชน แต่สังกัดพรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยม จำนวน 187 คน ซึ่งในกลุ่มพรรคอนุรักษ์นิยมนี้ มีความพยายามที่จะจัดตั้งรัฐบาลเสียงส่วนน้อยขึ้น โดยการสนับสนุนจาก ส.ว. แล้วค่อยชักชวนพรรคขนาดรองเข้าไปร่วมรัฐบาล เท่านี้ ก็จะกลายเป็นรัฐบาลเสียงส่วนมากเพื่อให้การดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินดำเนินการไปได้ด้วยดี ด้วยเสียงในสภาเกินกว่ากึ่งหนึ่ง คือมากกว่า 250 เสียงในสภาฯ ซึ่งถ้าได้พรรคเพื่อไทยเข้าไปร่วม ก็จะกลายเป็นรัฐบาลที่มีเสียง 328 เสียงเป็นคณะรัฐมนตรี จำนวน 36 คน เสียงรัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยม ก็ยังคงมีเสียงสนับสนุนรัฐบาลถึง 292 เสียง ซึ่งมากพอที่จะชนะโหวตให้นโยบายและการพิจารณากฏหมายให้ผ่านสภาได้สบายๆ แต่นั่นก็ต้องแลกกับความนิยมของพรรคการเมืองที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยม ที่อาจจะสูญพันธุ์ทางการเมือง ซึ่งมันสอดคล้องกับอีสานโพล ที่ได้สำรวจความเห็นของคนในภาอีสาน พบว่า ปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา ส่งผลให้กระแสความนิยมของพรรคก้าวไกลสูงขึ้น แต่ความนิยมของพรรคอื่นลดลง แม้แต่พรรคเพื่อไทย ซึ่งถือว่าเป็นพรรคการเมืองของคนภาคอีสานก็ได้รับความนิยมที่ลดลงด้วย

ปรากฏการณ์ทางการเมือง ที่ยังคงโลดแล่นอยู่บนโลกไซเบอร์ที่เป็นโลกแห่งเสรีภาพทางสื่อสาร นักการเมืองหรือพรรคการเมือง ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน ย่อมหนีไม่พ้นการเฝ้าติดตามของสาธารณะ ที่จะถูกหยิบยกขึ้นมาสื่อสารในโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการนำไปสู่การวิเคราะห์ เพื่อสังเคราะห์ในการแสดงปฏิกิริยาทางการเมืองของสังคมที่อยู่ภายนอกของสภาฯ นั่นคือสิ่งที่ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองระดับ สมาชิกสภาผู้แทนรษฎร หรือ สมาชิกวุฒิสภาก็ตามจะได้รับผลกระทบตามมา ถึงแม้ว่า สมาชิกวุฒิสภาบางคนเคยพูดว่า ส.ว. ไม่จำเป็นต้องฟังเสียงประชาชนก็ตาม ทั้งหลายทั้งมวลจะอยู่ภายใต้เสียงวิจารณ์ของสังคมอย่างหลีกหนีไม่ได้ เสียงวิภากษวิจารณ์พฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละคน จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสมาชิกที่เป็น ส.ส. และ ส.ว. รวมทั้งชีวิตครอบครัวไปด้วย เมื่อสังคมมองว่า เขาได้รับผลกระจากการตัดสินใจทางการดำเนินนโยบายของสมาชิกรัฐสภาของท่านผู้นั้น

การเมืองบนโลกแห่งเสรีภาพทางการสื่อสาร จะมีความยุ่งยากในการควบคุมพฤติกรรมของสังคมที่จะแสดงออกต่อสมาชิกรัฐสภา นอกจากสังคมต้องสร้างสำนึกความรับผิดชอบชั่วดีร่วมกัน โดยทุกฝ่ายยอมรับในกติกาและการปฏิบัติด้วยกติกานั้นร่วมกัน บนพื้นฐานแห่งความแตกต่าง ถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพยายามอยู่เหนือกติกาและใช้ความได้เปรียบไปกำหนดกฏเกณฑ์อีกฝ่ายหนึ่ง ความขัดแย้งย่อมเพิ่มขึ้นตามมา ซึ่งก็ยังตอบไม่ได้ว่า ความขัดแย้งนั้นจะนำไปสู่ความรุนแรงต่อกันไหม เพราะที่ผ่านมา ประเทศไทยก็เกิดภาวะการใช้ความรุนแรงต่อกันมาแล้วหลายครั้ง

บนเส้นทางทางการเมืองที่จะก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายพิธา ซึ่งเป็นการเดินทางด้วยการแบกภาระของประชาชน บนเส้นทางแห่งการแย่งชิงที่ล่อแหลมต่อความขัดแย้งถึงขั้นแต่ละฝ่ายอาจจะใช้ความรุนแรงต่อกัน ซึ่งที่จริงและมันก็เกิดขึ้นมาบ้างแล้ว เช่นการสร้างสงครามทางกฏหมายต่อฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ความรุนแรงเหล่านี้จะเป็นรูปลักษณ์ไปตามกลยุทธ์ทางการเมืองของแต่ละฝ่าย ซึ่งก็ยังคงโชคดีที่ฝ่ายพรรคก้าวไกลเองมีวุฒิภาวะในการตั้งรับปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี จึงทำให้ลดความรุนแรงจากความขัดแย้งได้เป็นอย่างดี

ข้อมูลการเมืองและข่าวคราวการเคลื่อนไหวทางการเมืองยังคงถูกส่งผ่านจากคนหนึ่งไปสู่คนหนึ่ง และสู่ธารณะอย่างต่อเนื่อง และเป็นปัจจุบัน การส่งผ่านข้อมูลอย่างรวดเร็วถึงกันนี้ ทำให้การสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมที่มีต่อการเมืองก็เท่าทันเหตุการณ์มากขึ้น การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ก็สามารถแสดงออกทางการเมืองต่อสาธารณะได้ทันที ดังนั้น ส.ส.พรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยม จำนวน 187 คน จึงเป็นเป้าสายตาของคนในสังคม 

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลุ่มอนุรักษ์นิยมกลุ่มนี้ได้มาจากเสียงของประชาชน ซึ่งประชาชนที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ทั้งประเทศ เขาต้องการได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขาไม่อยากได้ให้ใครขึ้นดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ขาดความชอบธรรม แต่เขาจะยินดีกับใครก็ได้ที่จะดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เป็นไปตามระบบของสภา ที่มีความชอบธรรมมากที่สุด ถึงจะเป็นคนหรือพรรคที่เขาไม่ได้เลือกก็ตาม

สำนึกความรับผิดชอบทางการเมืองของประชาชนในประเด็นนี้มีสูงกว่าสมาชิกรัฐสภา เพราะโดยส่วนใหญ่ของสมาชิกรัฐสภาที่ผ่านประสบการณ์มากๆ มักมองถึงประโยชน์ของตนจะได้รับเมื่อเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เราจึงเห็นการแย่งชิงเป็นรัฐบาลของสมาชิกรัฐสภาแต่ละพรรค เมื่อได้ร่วมรัฐบาลแล้วก็จะมองหาตำแหน่งทางการเมืองเพื่อให้ได้มีโอกาสได้บริหารนโยบาย หรือมีส่วนในการบริหารงบประมาณ ซึ่งต่างจากประชาชนลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประชาชนจะคาดหวังว่า เมื่อเลือกตั้งแล้วควรจะได้รัฐบาลโดยเร็ว เพื่อให้ได้มาซึ่งการบริหารบ้านเมือง การนำนโยบายมาดำเนินการ เขาจะได้เห็นทิศทางของบ้านเมืองชัดเจน และจะได้วางแผนการดำเนินชีวิตที่แน่นอนขึ้น ไม่เสี่ยงต่อความผันผวนทางการเมือง

ดังนั้นประชาชนส่วนใหญ่จะไม่คาดหวังอะไรกับสมาชิกวุฒิสภา ถึงแม้ประชาชนจะเกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจกับ ส.ว. บางท่านที่ทำหน้าที่เกินขอบเขต ที่ตนมี เช่นพยายามขัดขวางการดำเนินการทางการเมืองตามระบบของสภา ที่ฝ่ายตนเป็นผู้ออกแบบและผ่านกติกาให้กับประเทศ ประชาชนจะมีกระแสความรู้สึกกับ ส.ว. เพียงเท่านี้ ถ้าไม่สนับสนุนรัฐบาลที่มาตามระบบของรัฐสภา ที่อยู่ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อย่างมากก็จะเดินตลาดลำบาก หาความอุ่นใจรอบข้างยาก เพราะสังคมรอบข้างซึ่งเป็นประชาชนคนระดับล่าง ที่ไม่พอใจกับการตัดสินใจขัดขวางรัฐบาลที่มาตามระบบสภา ก็จะได้รับผลกระทบเพียงเท่านี้

แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากเสียงของประชาชนนี่สิ จะได้รับผลกระทบอย่ามากจากการไม่สนับสนุนรัฐบาลที่มาตามระบบของรัฐสภา ซึ่งอาจจะมองว่าเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส. ก็ตามแต่ประชาชนเขาไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของ ส.ส. แต่นี่เป็นเรื่องของสภาของประชาชน ในฐานะที่ ส.ส. เป็นตัวแทนของประชาชน คุณต้องสนับสนุนรัฐบาลที่มาจากเสียงประชาชนด้วยกัน ส่วนการทำหน้าที่ฝ่ายค้าน หรือฝ่ายตรวจสอบ ก็ค่อยดำเนินการหลังจากที่มีรัฐบาลที่มาจากประชาชนเสียก่อน การรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ และมีศักดิ์สรีของสภาผู้แทนราษฎร เป็นหน้าที่ที่ ส.ส. พึงต้องถือเป็นหน้าที่ที่ต้องรักษา ไม่ให้อำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชน มีอำนาจต่อสภาผู้แทนราษฎรหน้าที่อันสำคัญที่หนักอึ้งนี้ มันขัดแย้งกับความรู้สึกที่ต้องยกมือสนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามขึ้นเป็นรัฐบาล ที่ตนเองต้องมานั่งรอเป็นฝ่ายค้านหลังยกมือสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามไปแล้ว ความรู้สึกที่ขัดต่อหน้าที่ที่ต้องรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ของสภาอำนาจประชาชนนี้ มันเป็นที่ทำใจยากกับสมาชิกรัฐสภาที่ไม่ใช่พรรคร่วมรัฐบาล แต่ต้องแบกรับภาระนี้ซึ่งการทำหน้าที่การสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลประชาชนโดยอำนาจประชาชนผ่านสมาชิกสภาผู้แทนจะเป็นที่เฝ้ามองและจับตาดูของประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งเมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านได ไม่แสดงออกถึงการรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของสภาผู้แทนราษฏร สมาชิท่านั้นอาจจะไม่มีโอกาสได้หวนกลับเข้ามาทำหน้าที่ในสภาฯ อีก หรือถ้าเป็นนโยบายของพรรค ก็อาจจะส่งผลให้พรรคการเมืองนั้นสูญพันธุ์ทางการเมืองไปเลยก็ได้

แต่บางท่านก็จะแย้งว่า “แคนดิเดทพรรคฝ่ายเสียงข้างน้อยก็มีสิทธิ์ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องเป็นแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีจากพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งมี ส.ส. จำนวนมากที่สุด ฝ่ายเดียว” เรื่องนั้นมันก็จริง มีสิทธิ์ แต่การแย่งชิงที่ขัดต่อระบบของสภา มันก็ไม่ชอบธรรมอยู่ดี มันอยู่ที่สำนึกชั่วดี ของสมาชิกรัฐภา ว่าตนเองมีความยุติธรรมกับบ้านเมืองแล้วหรือยัง ได้แสดงออกถึงวัฒนธรรมทางการเมืองที่ดี เป็นแบบอย่างต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในอนาคตที่ดีต่อบ้านเมืองแล้วหรือยัง สิ่งเหล่านี้คืออุดมการณ์ทางการเมืองของชาติ ที่สมาชิกรัฐสภาพึงสำนึกต่อการทำหน้าที่ในรัฐสภา ซึ่งอนาคตอันใกล้นี้ ประชาชนอาจจะต้องเปล่งเสียงดังๆ เพื่อทวงถามต่อสมาชิกรัฐสภาในเรื่องความรับผิดชอบชั่วดี ที่มีต่อความสำคัญของสภาอำนาจประชาชนกับทุกท่านที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอย่างแน่นอน

ปรากฏการณ์และความรู้สึกทางการเมืองของประชาชนที่จะสะท้อนเข้าไปในสภาผู้แทนราษฎรที่เขาเป็นผู้เลือกเข้ามาเป็นตัวแทนของเขานี่เอง จะเป็นสิ่งที่จะผลักดันให้สมาชิกรัฐสภาต้องหันกลับไปทบทวนบทบาทของตนเองต่อการทำหน้าที่ตัวแทนของประชาชน ในการรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของอำนาจประชาชน และความศักดิ์สิทธิ์ของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีต่อสำนึกรับผิดชอบชั่วดี ของสมาชิกรัฐสภา จะเป็นพลังผลักดันให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้รับการรับรองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคน ให้เป็นนายกรัฐมนตรี จากเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งนั่นคือการจุดประกายความเจริญทางการเมืองของประเทศไทย ที่สมาชิกรัฐสภาได้ร่วมกันสร้างบรรทัดฐานและความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐสภา ที่เป็นอำนาจของประชาชนที่แท้จริง หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะไม่ทำให้ราษฎรผิดหวัง