Health & Beauty

มิติใหม่แห่งวงการบำบัดสร้างสุขภาวะที่ดี เปิดตัว'ทีมสุนัขนักบำบัดฯ'รุ่นแรกในไทย



กรุงเทพฯ-สมาคมสุนัขนักบำบัดจัดงานFirst in Thailand, Therapy Dog Thailand Team Debut!” เพื่อเปิดตัวทีมสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทยรุ่นที่ 1 ที่ผ่านการอบรม“หลักสูตร Certified Therapy Dog Thailand”ซึ่งallfine เป็นผู้ริเริ่มโครงการและพัฒนาหลักสูตรสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2563 เพื่อฝึกฝนเจ้าของสุนัขและสุนัขที่มีศักยภาพให้เป็น “ทีมสุนัขนักบำบัด" มาตรฐานระดับโลกเป็นครั้งแรกในประเทศไทยตามแนวทางของ Therapy Dog Association Switzerland VTHS ประเทศสวิตเซอร์แลนด์โดยหวังว่างานในครั้งนี้จะสร้างการรับรู้ให้สังคมในวงกว้างถึงความพร้อมของทีมสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทยในการต่อยอดความรู้ไปสู่การลงมือปฏิบัติหน้าที่เพื่อสร้างความรักและความสุขให้แก่สังคมไทย

คุณวรกรโอสถารยกุลผู้ก่อตั้งโครงการและหลักสูตรสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทย (Therapy Dog Thailand) และนายกสมาคมสุนัขบำบัดกล่าวว่าตั้งแต่ปี 2563 allfineได้มีการเปิดอบรมหลักสูตร Certified Therapy Dog Thailand จนวันนี้มี “ทีมสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทยรุ่นที่1” ที่ผ่านการทดสอบและทำงานในฐานะจิตอาสาเพื่อทดลองบำบัดผู้รับบริการกว่า 150 รายในหลากหลายสถานที่อาทิการบำบัดเด็กหูหนวกที่โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์การบำบัดผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าของโรงพยาบาลศรีธัญญาการบำบัดผู้สูงวัยที่มีภาวะสมองเสื่อมที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหลอดเลือดสมอง The Senizensและการบำบัดเด็กพิเศษที่อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

สำหรับก้าวต่อไปของโครงการคุณวรกรเผยว่าภายหลังมีการจัดตั้งสมาคมสุนัขบำบัดจะให้ทีมสุนัขนักบำบัดฯที่จบการศึกษาได้สิทธิ์เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมสุนัขบำบัดเพื่อร่วมเป็นคณะกรรมการกำหนดทิศทางและการทำงานภาคการบำบัดเพื่อสร้างความรักและความสุขให้แก่สังคมไทยในมิติต่างๆอาทิการเป็นหนึ่งในทางเลือกของเครื่องมือแพทย์ในการบำบัดผู้ป่วย, การเป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิการหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ, การเป็นผู้นำในการส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์อันดีของเจ้าของสุนัขและสุนัขผ่านการเลี้ยงดูตลอดจนการจัดพื้นที่เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีต่อการอยู่ร่วมกันของคนและสุนัขไปจนถึงการพัฒนาต่อยอดไปสู่การทำงานภาคสังคมร่วมกับภาครัฐในการพัฒนาสุนัขชุมชนต่อไป

 “จากนี้การทำงานของเราจะดำเนินไปแบบคู่ขนานทั้งการฝึกอบรมและการบำบัดดังนั้นก้าวแรกที่สำคัญคือการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสุนัขนักบำบัดว่าป็นการฝึกอบรมให้เจ้าของได้มี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้รับการบำบัดในแต่ละกลุ่มไม่ว่าจะเป็นภาวะโรค ลักษณะพื้นฐานที่พึงรู้สภาวะทางร่างกายและจิตใจ การออกแบบการบำบัดซึ่งเป็นหลักสำคัญในการเข้าบำบัดให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างดีทั้งหมดเป็นเหมือนวิชาชีวิตที่เราสามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิตไม่ว่ากับคนในครอบครัวหรือคนรอบตัวเราเรียนกันจริงจังทั้งเจ้าของและสุนัขตามแนวทางมาตรฐานหลักสูตรระดับโลกเพื่อสร้างความมั่นใจและอุ่นใจในการไปทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนรวมถึงส่งเสริมภาคธุรกิจในการพัฒนาสังคมต่อไปอีกส่วนหนึ่งคือการสร้างทีมสุนัขนักบำบัดฯซึ่งตอนนี้เรากำลังเปิดรับสมัครรุ่นที่ 3เพื่อเชิญชวนผู้ที่สนใจมาร่วมเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการร่วมสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการบำบัดไทยด้วยการใช้ “ทีมสุนัขนักบำบัด”เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเครื่องมือแพทย์สำหรับการบำบัดผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการบำบัด

ด้านคุณนุ่น-อาจารีเกียรติเฟื่องฟูข้าราชการนักไตรกีฬาและเจ้าของเพจรองเท้าสองคู่เจ้าของน้องซัมเมอร์ตัวแทนทีมสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทยรุ่นที่ 1กล่าวถึงเหตุผลที่ตัดสินใจมาอบรมเป็นทีมสุนัขนักบำบัดฯว่านอกจากซัมเมอร์จะเป็นหมาที่แอกทีฟและทำกิจกรรมเยอะอยู่แล้วเธอยังเชื่อว่าสุนัขเกิดมาเพื่อมี Purpose บางอย่างซัมเมอร์ไม่ได้เกิดมาเพื่อรักเจ้าของเท่านั้นแต่ยังเผื่อแผ่ความรักไปถึงคนรอบข้างด้วยเช่นกัน

“ก่อนหน้านี้เคยได้ยินเกี่ยวกับหลักสูตรสุนัขบำบัดในต่างประเทศมาบ้างแต่ยังไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมจนพอรู้ว่ามีหลักสูตรสุนัขนักบำบัดในประเทศไทยเลยตัดสินใจมาเรียน ​พอมาเรียนทำให้รู้ว่าหลักสูตรนี้ค่อนข้างตอบโจทย์และเหมาะกับซัมเมอร์มากความสุขที่ได้จากการมาอบรมคือนอกจากตัวเราและซัมเมอร์จะมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือคนอื่นยังดีใจที่เห็นว่าคนเราเข้าไปช่วยบำบัดก็มีความสำคัญเช่นกันที่สำคัญเรายังได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะเรื่องการสังเกตปฏิกิริยาของผู้คนที่มีต่อสุนัขของเรารู้ว่าเราควรจะเข้าหาคนแต่ละประเภทอย่างไรเพราะเวลาเราไปทำงานบำบัดเราก็ต้องรู้จักสังเกตและทำความรู้จักผู้ป่วยหลายๆประเภทเช่นกันเพื่อให้การบำบัดบรรลุเป้าหมายซึ่งนุ่นหวังว่าการมีทีมสุนัขนักบำบัดที่ผ่าน​การอบรมหลักสูตรฯที่ได้มาตรฐานจะสร้างความมั่นใจให้กับหน่วยงานต่างๆพร้อมเปิดใจให้ทีมสุนัขนักบำบัดเข้าไปปฎิบัติหน้าที่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคม

ด้านคุณตาม-วันวิสาข์ล่ำซำทนายความและที่ปรึกษากฎหมายเจ้าของยุ่งยิ่งอีกหนึ่งตัวแททีมสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทยรุ่นที่ 1 กล่าวเสริมว่า​ จริงๆแล้วยุ่งยิ่งเป็นสุนัขของลูกสาวซึ่งไปเรียนต่อต่างประเทศเลยฝากให้ช่วยเลี้ยงช่วงแรกๆที่ลูกสาวทั้งสองคนไม่อยู่บ้านค่อนข้างเหงาแต่พอทุกเช้าตื่นมาเจอยุ่งยิ่งที่มีท่าทีตื่นเต้นดีใจทุกครั้งที่เจอกันทุกเช้าทำให้รู้สึกว่ามีความสุขเหมือนได้เติมเต็มพลังบวกในการเริ่มต้นทุกวันจนพอมาเข้าร่วมหลักสูตรสุนัขนักบำบัดฯทำให้ค้นพบศักยภาพในตัวของยุ่งยิ่งและยังได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆที่เป็นคนรักสุนัขด้วยกันและยังได้เห็นมุมมองของคนที่ทุ่มเทเพื่อช่วยเหลือคนอื่นและได้สัมผัสกับพลังของการทำงานเป็นทีมเวิร์คอีกด้วย

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดเสวนาในหัวข้อ“Therapy Dog for All Well-Being in Thailand”เพื่อฉายภาพอนาคตของชุมชนสุนัขนักบำบัดที่สอดแทรกอยู่ในมิติต่างๆของการดำเนินชีวิตเพื่อนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีของเจ้าของสุนัขและสุนัขผ่านการเลี้ยงดู การจัดพื้นที่เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีต่อการอยู่ร่วมกันของคนและสุนัข และการพัฒนาต่อยอดไปสู่การทำงานภาคสังคมเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสุนัขชุมชนต่อไปร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนรวมถึงส่งเสริมภาคธุรกิจที่กำลังขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคตอาทิเทรนด์ธุรกิจเพื่อผู้สูงวัยและเทรนด์ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและบริการรวมไปถึงงานออกแบบเชิงสถาปัตย์

คุณขรรค์ประจวบเหมาะที่ปรึกษาและกรรมการกิติมศักดิ์มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์กล่าวถึงเหตุผลที่ตัดสินใจเป็นที่ปรึกษาโครงการฯว่าก่อนหน้านี้เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องสุนัขบำบัดในต่างประเทศมาก่อนแต่ที่ผ่านมาหลายคนจะคุ้นกับคอนเซปต์ของสุนัขนำทางคนตาบอดมากกว่าซึ่งในประเทศไทยก็เริ่มมีแต่ยังอยู่ในวงจำกัด ​​ดังนั้นพอเห็นว่าประเทศไทยจะมีโครงการสุนัขนักบำบัดฯจึงมองว่าเป็นเรื่องที่ดีและยิ่งตอนนี้มีทีมสุนัขนักบำบัดฯที่ผ่านการอบรมเรียบร้อย เชื่อว่าจะยิ่งทำให้การใช้สุนัขบำบัดเป็นที่แพร่หลายและได้รับความสนใจ

พญ.นาฏฟองสมุทรคณะกรรมการกองทุนผู้สูงวัยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสริมว่าด้วยความที่เป็นแพทย์ดูแลผู้สูงอายุอยู่แล้วทำให้เข้าใจว่าหนึ่งในเรื่องใหญ่ของผู้สูงอายุไม่ใช่โรคภัยไข้เจ็บแต่เป็นความเหงาโครงการสุนัขนักบำบัดฯถือเป็นหนึ่งในกุศโลบายที่ช่วยให้ผู้สูงอายุยอมออกจากห้องที่พักมาทำกิจกรรมและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับคนรอบข้างเพื่อกระตุ้นสมองและร่างกายได้เป็นอย่างดีจึงมองว่าโครงการฯนี้เป็นประโยชน์มากและยังสามารถขยายผลเข้าไปยังกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนในชมรมหรือที่บ้านตลอดจนใช้ในการบำบัดในระยะสุดท้ายของชีวิตซึ่งเป็นช่วงชีวิตที่ค่อนข้างเหงาเพราะต้องเผชิญกับความเจ็บปวดหรือบางคนอาจจะเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ดังนั้นการได้กอดหรือเล่นกับสุนัข ​ก็สามารถช่วยลดความกังวลและความเจ็บปวดให้คนกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี”​

ขณะที่สพ.ญ.กฤติกาชัยสุพัฒนากุลผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารบริษัทโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อจำกัดกล่าวว่าสุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แก่คนในครอบครัวได้ยิ่งหากมีการออกแบบและจัดการพื้นที่สำหรับสัตว์เลี้ยงได้ดีแล้วจะทำให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพที่ดีและมีสุขภาพจิตที่ดีด้วยทำให้คนเลี้ยงก็มีความสุขในการเลี้ยงไปด้วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งคนเลี้ยงและสัตว์

ปิดท้ายด้วยรศ. ดร. สิงห์อินทรชูโตหัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) บริษัทแมกโนเลียควอลิตี้ดีเวล็อปเม้นต์คอร์ปอเรชั่นจำกัด (MQDC) กล่าวว่าที่ผ่านมาหลายคนอาจจะมองว่าสัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งที่ช่วยผ่อนคลายจิตใจให้กับมนุษย์แต่โครงการสุนัขนักบำบัดฯช่วยเปิดมุมมองใหม่ว่าสุนัขสามารถเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการแพทย์ได้เช่นกันซึ่งถือเป็นอีกโจทย์ที่น่าสนใจในการนำไปต่อยอดในเชิงสถาปัตย์ฯ

“ปกติเวลาจะพัฒนาเมืองแห่งอนาคตเราจะตั้งโจทย์ว่าจะมีส่วนผสมอะไรที่จะนำเข้ามาใช้ได้บ้างซึ่งที่ผ่านมาสัตว์เลี้ยงจะถูกนำมาต่อยอดในเชิงของการสร้างพื้นที่ให้อยู่ร่วมกับเจ้าของแต่กลับไม่เคยมองในมิติว่าสัตว์เลี้ยงทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้นได้ด้วยการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้คนซึ่งเป็นเรื่องที่สนใจเพราะถ้าดูโครงสร้างประชากรไทยที่เลี้ยงสัตว์เป็นเหมือนลูกจะพบว่ามีมากกว่าอัตราเติบโตแซงหน้าอัตราการเกิดของประชากรไปเป็นที่เรียบร้อยจากเมื่อ 20 ปีที่แล้วอัตราการเกิดอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านคนต่อปีแต่ตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 5 แสนคนต่อปีดังนั้นในอนาคตเราจะเห็นภาพของคนที่อยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยงมากขึ้นอย่างแน่นอนจึงไม่แปลกที่วันนี้อาคารที่ออกแบบให้สัตว์เลี้ยงอยู่ร่วมกับเจ้าของได้จะขายดีกว่าอาคารที่ออกแบบเพื่อผู้สูงอายุและเชื่อว่าถ้าโครงการสุนัขนักบำบัดฯยิ่งเป็นที่รู้จักอาจจะทำให้เราเห็นทางเลือกใหม่ๆในการพัฒนาเมืองในอนาคต”รศ. ดร. สิงห์กล่าวทิ้งท้าย