Think In Truth
สายลมแห่งการเปลี่ยนการเมืองไทย โดย : หมา เห่าการเมือง
การเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองไทยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสามารถจำแนกออกได้ 3 ช่วงของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองในแต่ละช่วงจะมีปัจจัยสำคัญๆ อยู่หลายปัจจัย ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละยุคสมัยรายละเอียดก็จะแตกต่างกันไป ซึ่งจะไม่ขอลงในรายละเอียดเพื่อให้ได้เห็นปัจจัยที่เด่นชัดของเป็นกระแสที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงแรก คือ การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองในปี พ.ศ. 2475ในช่วงสมัยพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7มีปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกยุคทุกสมัย
ปัจจัยภายนอกประเทศ เกิดจากการแข่งขันกันทางความคิด (Paradigm Complete) คือแนวคิดการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (Democracy) กับแนวคิดการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ (Communism)การขยายแนวคิดการเมืองการปกครองโลกทั้งสองค่ายนี้กระจายออกไปจากประเทศผู้นำแนวคิด คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสหภาพโซเวียตรัสเซียและประเทศจีน ซึ่งในยุคนั้นเราจะรู้กันในยุคสงครามเย็น (Cold War)
ปัจจัยภายในประเทศ เกิดการปะทะทางความคิด ระหว่างการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ซึ่งก่อนปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งจะมีภาวะการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามการเปลี่ยนแปลงรัชกาล ซึ่งจะมีผลกระทบต่อโดยรวมในการเปลี่ยนแปลงมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับการแข่งขันให้อยู่ในลำดับขององค์รัชทายาทตามกฏมณเฑียรบาล ส่วนแนวคิดประชาธิปไตยถูกกลุ่มนักเรียนนอกที่ไปศึกษาในต่างประเทศได้นำเข้ามา โดยใช้แนวคิดเปรียบเทียบบริบทภายในประเทศกับต่างประเทศ
การยกกระบวนทัศน์การปกครองในระบอบประชาธิปไตย(Paradigm Shift of Democracy) ได้ขยายวงกว้างออกไปในกลุ่มข้าราชการและประชาชนทั่วไปง กอร์ปกับภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศ ยังไม่ได้รับการฟื้นฟู อันเนื่องจากการใช้เงินคงคลังจำนวนมากในการรักษาเอกราชของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้องเพชร , ราชบัณฑิต ได้ระบุไว้ในบทวามอิเล็คโทรนิก ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ มกราคม 2560 ระบุถึงเหตุผลที่สำคัญในการที่เกิดการปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง ด้วย “เหตุผลที่ 1 เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า พระเจ้าแผ่นดิน แสดงความไม่สามารถในการที่จะบงการโดยอำนาจแอบโซลู้ด ในงานของชาติเจริญรุ่งเรืองได้ เหตุผลที่ 2ข้าราชการผู้ใหญ่แทบทั้งหมดมุ่งเพียงแต่ทำตัวให้เป็นที่โปรดปราณ ไว้เนื้อเชื่อใจ จากพระเจ้าแผ่นดิน ไม่ว่าด้วยวิธีใด ตลอดทั้งวิธีที่ต้องสละเกียรติยศด้วย”นั่นเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองไทย ครั้งที่ 1 ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองครั้งที่สอง เป็นการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง 14 ตุลาคม 2516 ก่อนช่วงการเปลี่ยนแปลง เป็นช่วงประชาธิปไตยเบ่งบาน ซึ่งประเทศไทยเองก็มีความแนบแน่นกับสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ประเทศรอบข้างได้เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพม่า สาธารณรัฐประชาชนธิปไตยประชาชนลาว ประเทศเวียดนาม และกัมพูชา โดยแนวคิดของโลกสังคมนิยมได้ดำเนินนโยบายโดมิโน ที่เชื่อว่าประเทศรอบข้างเป็นคอมมิวนิสต์ ประเทศไทยก็จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์
นโยบายการปราบปรามคอมมิวนิสต์ จึงถูกประกาศใช้ทั่วประเทศอย่างครอบคลุม โดยสถาบันพระมหากษัติร์เป็นจอมทัพไทยร่วมกับกองทัพในการดำเนินนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ ที่มีอเมริกาหนุนหลัง โดยดำเนินการพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากเศรษฐกิจเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมหรือที่เราเรียกกันว่า “ปฏิวัติเขียว” ที่มุ่งเน้นสนับสนุนปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อลดพื้นที่ป่า เพื่อเพิ่มพื้นปลูกในการเพิ่มผลผลิต ที่เป็นที่ซ่องสุมกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์ ผนวกกับการตรึงกำลังควบคุมพื้นที่ร่วมกับกองทัพและตำรวจ โดยมีข้าราชการเป็นผู้ที่ดำเนินการคอยเฝ้าระวังเป็นเป็นหน่วยงานสร้างความเข้าใจทางอุดมการของชาติในการต่อต้านคอมมิวนิสต์
ในช่วงแห่งการปกครองหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เกิดการทำรัฐประหาร ที่ทำให้ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการหลายครั้ง โดยมีครั้งสำคัญ คือ จอมพลสฤทธิ์ ธนะรัตน์ และจอมพลถนอม กิตติขจร โดยเฉพาะประเทศไทยได้ตกอยู่ในการปกครองเผด็จการยาวนานจากการทำรัฐประหารโดยจอมพลถนอม กิตติขจร และกลุ่มนักศึกษา และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองฝ่ายคอมมิวนิสต์ ทำให้เกิดการปะทะกันทางความคิดอย่างรุนแรงครั้งที่สอง จนทำให้เกิดการต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร และกลุ่มนักศักษาและนักเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพก็ถูกปราบปรามโดยข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์หรือผู้ฝักไฝ่การปกครองในระบอบสังคมนิยม
กลุ่มนักศึกษาและนักกิจกรรมทางการเมืองรวมทั้งกลุ่มนักวิชาการสายเสรีภาพ เชื่อว่าการปราบปรามของภาครัฐ ยิ่งทำให้เกิดคนร่วมฟัง ร่วมคิด และร่วมอุดมการมากขึ้น จึง ใช้หลักการขับเคลื่อนในการยกระดับกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) “ตายหนึ่งเกิดแสน” จนเกิดกระบวนการนักศึกษา “14 ตุลาคม” และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยประกาศให้ 3 ทรราชออกนอกประเทศ และให้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
หลังจากที่นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับการโปรดเกล้าให้เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้ทำการตั้ง “สมัชชาแห่งชาติ”หรือที่รู้จักกันในชื่อ “สภาสนามม้า”ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจำนวน 2,347 คน และให้เลือกกันเองให้เหลือ 299 คน จากนั้นจึงแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกไปเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกลายมาเป็นรัฐธรรมนูญ ปี 2517
การปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2517 ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เป็นอย่างมาก ยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุด คือยุคพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ที่มีนโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า โดยที่ ประเทศไทยยังคงถูกแทรกแซงจากโลกประชาธิปไตยและโลกสังคมนิยมจากภายนอกประเทศอยู่เสมอมา ซึ่งโลกเสรีประชาธิปไตยจะเข้ามาในรูปความสัมพันธ์ทางการฑุต การค้า การเงิน การเมือง รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมและกองทัพ ส่วนโลกสังคมนิยม จะเข้ามาในรูปองค์กรเอกชนหรือ NGO มูลนิธิสาธารณะประโยชน์ กลุ่มทุนโดยเฉพาะทุนทางการเงินการธนาคร โดยอยู่ในสายตาของราชสำนักและรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยังคงดำเนินนโยบายเป็นผู้ไม่ฝักไฝ่ฝ่ายได ใช้กระบวนการทางการฑูตประสานสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายด้วยความสมดุลเสมอมา
การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง ครั้งที่ 3การยกระดับกระบวนทัศน์ในสร้างเศรษฐกิจในสังคม ทำให้กลุ่มคนระดับล่าง ที่สามารถพัฒนาและยกทางเศรษฐกิจของตนเองขึ้นเป็นชนชั้นกลาง ขึ้นมาแข่งขันและแย่งชิงตลาดกับกลุ่มทุนผูกขาด ที่มีอิทธิพลและอาณาจักทางธุรกิจ ครอบคลุมประเทศไทย การสูญเสียพื้นที่ทางธุรกิจของทุนผูกขาด รวมทั้งทรัพยากรในระดับชุมชน ทุนของชนชั้นกลางก็สามารถเข้าถึง และเป็นทางออกของชนระดับล่างที่จะได้รับความเป็นธรรมของราคาผลผลิต เนื่องจากมีการแข่งขันราคาซื้อมากขึ้น ทุนผุกขาดซึ่งได้ร่างกฏหมายจำกัดการเจริญเติบโตของทุนระดับล่างเติบโตขึ้นมาแข่งขัน กลุ่มทุนระดับล่างและระดับกลางถูกจำกัดด้วยกฏหมายขีดเส้นจำกัดการเจริญเติบโตทางธุรกิจ ประเด็นแห่งความขัดแย้งเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักที่ขยายให้เกิดปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ร่วมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คมช.) ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ในเดือนกุมาพัน 2534 โดยมีนายอานันท์ ปัญญารชุณห์ ได้รับการโปรดเกล้าให้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งที่สามนี้
นายอานันท์ ปัญญารชุณห์ ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในกลุ่มทุนผูกขาด เพราะก่อนที่ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี นายอานันท์ปัญญารชุณห์ มีตำแหน่งระดับสูงในเครือสหพัฒน์ฯ และมีสายสัมพันธ์กับกลุ่ม NGO อย่างแน่นแฟ้น จึงทำให้นายอานันท์เป็นคนสำคัญที่ทำให้ทุนผูกขาดกับกลุ่มแนวคิดสังคมนิยมมีความสัมพันธ์กันและร่วมมือกันทางกิจกรรมทางสังคมและการเมือง
หลังจากที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จและมีการประกาศใช้ สังคมก็มีความแคลงใจว่าเนื้อหาในรัฐธรรมนูญฉบับนั้นไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ก็ได้ดำเนินการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับนั้น ในวันที่ 22 มีนาคม 2535 โดยมีพรรคสามัคคีธรรม เป็นพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด 79 นและมีนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่าทางโฆษกต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นางมาการ์เร็ต แทตไวเลอร์ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ วงศวรรณ เป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอวีซ่าเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาได้ เนื่องจากที่ความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด ในที่สุด จึงได้เสนอชื่อพลเอกสุจินดา คราประยูร มาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับโปรดเกล้าแต่งขึ้นให้ดำรงตำแหน่งแล้ว
ด้วยความกังวลที่จะมีการสืบทอดอำนาจ คมช. ซึ่งก่อนหน้านั้น ประชาชนได้ร่วมกันทักท้วงว่ารัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนจึงรวมตัวกันออกมาต่อต้านรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ที่เราเรียกกันว่า “ม็อบมือถือ” หรือเหตุการณ์“พฤษภาทมิฬ” ความขัดแย้งพฤษภาทมิฬ สงบลงได้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เรียกพลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมืองเข้าเฝ้า และทรงได้มีพระราชดำรัสให้ทั้งสองฝ่ายหยุดความขัดแย้ง พร้อมทั้งมีกระแสรับสั่งว่า “เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วใครจะชนะ ไม่มีทาง อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้ แล้วที่แพ้มากที่สุดคือประเทศชาติ จะมีประโยชน์อะไรที่ทะนงตนว่าชนะ เวลาอยู่บนกองซากปรักหักพัง”
หลังจากนั้นก็ได้โปรดเกล้าให้นายอานันท์ ปัญญารชุณห์เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการเลือกตั้งใหม่ เมื่อได้รัฐบาลใหม่แล้วนายอานันท์ ปัญญารชุณห์ก็ได้มอบอำนาจการปกครองให้กับนายกรัฐมนตรีผู้ที่ได้รับการโปรดเกล้าจากพรรคการเมืองที่ได้รับการแต่งตั้งมากที่สุด ซึ่งผู้ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คือนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ดำรงตำแหน่งไปได้ 2 ปีก็ต้องยุบสภา เนื่องจากฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต่อประเด็น สปก.4-10
เมื่อดำเนินการเลือกตั้งใหม่ ก็ได้นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี และพลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ์ คนต่อมา แต่ละคนก็มีอายุของรัฐบาลในระยะสั้นๆ และประเทศไทยก็เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นผลจากการบริหารเศรษฐกิจที่ผิดพลาดของรัฐบาลชวน หลีกภัย และรัฐบาลบรรหาญ ก็ไม่สามารถมารถที่แก้ปัญหาได้ ส่งผลถึงรัฐบาลพลเอกเชาวลิตต้องลดค่าเงินบาทในคราวเดียวจาก 25 บาท เป็น 40 บาท
ในช่วงเวลานั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับการอนุมัติโครงการไทยคมและใช้โครงการนี้เสนอเงินกู้ต่างประเทศ(Loan Program) และได้รับเงินเป็นดอลลาร์มาดำเนินโครงการ ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีกำไรจากการลดค่าเงินบาทจำนวนมาก กลายเป็นมหาเศรษฐีภายในข้ามคืน และเป็นจุดกำเนิดของทุนใหม่ ที่ทุกฝ่ายระแวง โดยทุนผูกขาดระแวงถึงพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ว่าเขา “เป็นคนฉลาด แต่น่ากลัว” นี่นคืออัตตลักษณ์ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับจากกลุ่มทุนผูกขาด ที่คอยระมัดระวังต่อ พ.ต.ท.ทักษิณมาก
หลังจากที่พลเอกเชาวลิตยุบสภาเลือกตั้งใหม่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รวบรวมนักการเมืองเข้ามาตั้งพรรคใหม่ คือ “พรรคไทยรักไทย” โดยแยกตัวออกมาจากพรรคพลังธรรม ที่มี พ.ต.จำลอง ศรีเมืองเป็นหัวหน้าพรรค และได้รับการเลือกตั้งที่ได้ ส.ส. มากที่สุดในสภา ถึงกระนั้นก็ยังได้รับการต่อต้านจากฝ่ายทุนผูกขาดมาโดยตลอด แต่ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศที่หาใครมาดำเนินการแก้ไขไม่ได้ รวมทั้งความชอบธรรมที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มี ส.ส. ในสภามากที่สุด จึงยอมให้ขึ้นเป็นยากรัฐมนตรี โดยมีคำบอกกล่าวกันต่อท้ายการยอมให้ขึ้นเป็นนายกฯของเขาว่า “ให้ขึ้นไปก่อน แล้วค่อยจัดการภายหลัง”
การดำเนินการบริหารบ้านเมืองในนามรัฐบาลไทยรักไทย สามารถปรับโครงสร้างการบริหารบ้านเมืองให้มีการพัฒนา ก้าวข้ามความล้าหลังไปได้มาก จนรัฐบาลทักษิณได้ฉายาว่า เป็น “ยุคทักษิโณมิก” เพราะเขาได้ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มีความทัดเทียมกับสากล สามารถใช้หนี้ IMF ได้ก่อนกำหนด อีกทั้งยังสามารถกอบกู้ทรัพย์สินของชาติกลับมาได้หลายอย่าง รวมทั้งสร้างสวัสดิการให้กับประชาชน โดยที่ไม่เคยมีรัฐบาลใดทำได้ ไมว่า สามสิบบาทรักษาได้ทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน SME หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ฯลฯ จนประชาชนระดับรากหญ้าและระดับชนชั้นกลาง เข้าใจว่า นี่นแหละคือ “ประชาธิปไตยกินได้” ในขณะเดียวกันการบริหารที่สนองความจงรักภักดีก็สามารถดำเนินการไปได้อย่างสมดุลสมพระเกียรติ แต่ก็มีนโยบายหลายอันที่กระทบต่อทุนผูกขาดมาก เช่น นโยบายราคาข้าวเกวียนละหมื่นห้า นโยบายหวยบนดิน นโยบายหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างทุนใหม่ที่เป็นทุนเสรี กับทุนผูกขาดฝ่ายอำนาจนิยมอย่างรุนแรง
ปรากฏการณ์ของความขัดแย้งระหว่างทุนใหม่เสรีนิยม กับทุนเก่าทุนผูกขาดอำนาจนิยม นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง ที่แบ่งแยกประชาชนออกเป็นสองฝ่าย ที่ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายอำนาจอนุรักษ์นิยม เรียกร้องให้กองทัพออกมาทำรัฐประหารและยึดอำนาจ แล้วร่วมมือกับกองทัพในการจัดโครงสร้างบริหารประเทศ และออกกฏหมายเข้าข้างฝ่ายอำนาจนิยม เพื่อให้เกิดการได้เปรียบ ในการได้มาซึ่งสามารถหลอกชาวโลกว่าตนมีความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย
การต่อสู้ทางความคิดกำลังอยู่ในสภาวะที่เข้มข้น ที่ฝ่ายอำนาจอนุรักษ์นิยมใช้ความได้เปรียบทางกฏหมายและผู้บังคับใช้กฏหมายที่เป็นฝ่ายตน ในการกลั่นแกล้งและทำลายฝ่ายทุนเสรีประชาธิปไตย ไม่ว่าจะต่อต้านการขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช , นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ , นางสาวยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร และเกิดการทำรัฐประหาร 2557 โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อหยุดกระแสความนิยมต่อแนวความคิดเสรีประชาธิปไตย โดยมีเครือข่ายสร้างวาทกรรมในรูปแบบต่างๆนาๆ และตรรกะวิบัติเพื่อแย่งชิงมวลชน
พลวัตรทางความคิดทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ยังคงต่อสู้(Complete) กันอย่างเข้มข้น ซึ่งตัวแทนทางการเมืองของฝ่ายเสรีประชาธิปไตยและการเมืองฝ่ายอำนาจอนุรักษ์นิยมผ่านพรรคการเมืองที่แต่ละฝ่ายให้การสนับสนุน ทั้งสองขั้ว หรือ สองนครา กำลังแข่งขันการยอมรับเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจปกครอง เพื่อสร้างความเชื่อและความพึงพอใจให้กับประชาชน เพื่อการดำรงอยู่ซึ่งอำนาจในการกำหนดการจัดสรรทรัพยากรของชาติ นี่นคือปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง ของประเทศไทย ที่ก่อตัวเป็นสายลมและเพิ่มพลังเป็นพายุแห่งการเปลี่ยนแปลง เวลานี้ คนไทยทุกคน อยู่ร่วมชะตากรรมอันเดียวกัน คือ เผชิญต่อการหมุนวนและการโหมกระพือพัดกระหน่ำของสายลม เพื่อให้เกิดการจัดระเบียบทางสังคมที่จะเกิดความสงบหลังจากนี้ เมื่อสายลมสงบลง ท้องฟ้าก็จะเริ่มสว่าง ความสดใสและบรรยากาศแห่งความสุขก็จะเกิดขึ้น ขอให้คนไทยทุกคนได้อยู่ภายใต้กระแสแห่งสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างสงบ มีสติ เดี๋ยวอีกไม่นานมันก็จะเกิดความสงบ ส่วนฝ่ายไหนจะกำชัยชนะ เชื่อว่าท่านสามารถประเมินออกอยู่แล้ว จากปัจจัยแห่งการหมุนไปของกงล้อแห่งกาลเวลา