Think In Truth
การก่อตัวของ...กระแส ล่าแม่มด โดย : หมาเห่าการเมือง
หลังจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจประชาชนรัฐบาลทักษิณในปี 2549 กาต่อสู้ภาคประชาชนเริ่มเข้มข้นขึ้นจนทำให้เกิดการชุมชนของประชาชน หลังจากที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหารหลังจากที่รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ไม่สามารถบริหารบ้านเมืองได้ และมีประชาชนคนเสื้อแดงออกมาต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ จนทำให้เกิดการปราบปรามประชาชนด้วยวาทกรรม “ขอคืนพื้นที่ “ ซึ่งมีประชาชนล้มตายจำนวนมาก รวมทั้งชาวต่างประเทศ
การต่อสู้ในภาคประชาชนจึงเปลี่ยนแนวการต่อสู้มาเป็นการต่อสู้ในสภา โดยเลือกตั้งทุกครั้ง พรรคในฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องมีเสียงในสภาให้มาก แต่ไม่ว่าจะได้จัดตั้งรัฐบาล ก็มีกระแสการต่อต้านและก่อกวนจากฝ่ายตรงข้ามเสมอ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ากมาถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็กระบวนการคนเสื้อเหลืองรวมตัวเป่านกหวีดไล่ล่าอยู่ตลอดเวลา นักวิชาการพยายามจะบอกว่า การเป่านกหวีดไล่ล่าฝ่ายตรงข้ามและญาติ ว่าเป็น กระบวนการล่าแม่มด ก็ตาม แต่ก็มีลักษณะการเกิดเหตุการณ์ที่มีลักณะเป็นอย่างนั้น กระบวนการดังกล่าวก็ไม่ได้ลดน้อยลง จนทำให้เกิดการทำรัฐประหาร ยึดอำนาจประชาชนจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไปอีกครั้ง
ถึงแม้นประชาชนจะมีความอดทนอดกลั้นในการยอมให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมกุมอำนาจปกครองประเทศไปแบบขมขื่นมายาวนาน ประชาชนก็ยอมให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมหลอกให้ยอมรับรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่มีกติกาในการปกครองที่บิดเบี้ยว เป็นเครื่องมือในการป้องกันการต่อสู้ของการเมืองฝ่ายตรงข้ามให้ยากต่อการก้าวขึ้นฝ่ายได้อำนาจในการปกครองประเทศ แต่เปิดโอกาสให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยมก้าวขึ้นบัลลังก์อำนาจปกครองประเทศได้โดยง่าย แม้จะขัดต่อสายตาประชาชนก็ตาม
รัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้ผ่านกติกาการเลือกตั้งขึ้นเป็นรัฐบาลปกครองประเทศ ด้วยรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ แล้วก็ดำเนินการยุบพรรคอนาคตใหม่พร้อมทั้งใช้เงินซื้อ ส.ส. ในสภา ที่เรียกกันติดปากว่า ส.ส. งูเห่า เพื่อเพิ่มเสียงให้กับรัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยมสามารถดำเนินการบริหารบ้านเมืองไปได้
ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด พรรคก้าวไกลได้ที่นั่งของ ส.ส. ในสภามากที่สุด และรวบรวมเสียง ส.ส. ในสภาได้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของสภาไปมาก ถึง 313 เสียง และได้ดำเนินการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์เข้ารับการลงมติรับรองการเป็นนายกรัฐมนตรี กระแสการสนับสนุนนายพิธาจากประชาชนให้เป็นนายกรัฐมนตรี มีกระจายไปทั่วประเทศ
ฝ่ายอนุรักษ์นิยมพยายามที่จะดำเนินการสกัดขัดขวาง ด้วยเงื่อนไขต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณสมบัติของนายพิธาเองในการถือหุ้นสื่อ หรือการนำนโยบายการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.112 ไปหาเสียง โดยพยายามอธิบายโยงเป็นการล้มสถาบัน กกต.เร่งรีบส่งคดีหุ้น ITV ให้ศาลรัฐธรรมนูญก่อนการลงมติเพียง 1 วัน เพื่อหวังจะให้ ส.ว.ใช้เป็นข้ออ้างในการไม่โหวตให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี แทนใช้เรื่องการแก้ ม.112 หรือเรื่องความจงรักภักดีเป็นเหตุผลในการไม่โหวต ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าเกลียดเกินไปเพราะจะเป็นการเอาเรื่องจงรักภักดีมาชนกับผลการเลือกตั้งของประชาชน ที่เป็นการกระทำที่ไม่เห็นหัวประชาชนของ กกต. อาจเป็นเงื่อนไขให้เกิดการเขย่าอำนาจครั้งใหญ่จากประชาชน
เมื่อผลการลงมติรับรองนายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ผ่าน ด้วยคะแนน เห็นชอบ324เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง งดออกเสียง 199 เสียง กระแสแห่งความผิดหวังที่นายพิธาไม่ได้รับการโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในฐานะแคนดิเดทนายกรัฐมนตรี ที่เป็นหัวหน้าพรรคที่มี ส.ส. ในสภามากที่สุด และรวบรวมเสียง ส.ส. เข้าร่วมในการจัดตั้งรัฐบาลได้เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร การแสดงออกของประชาชนก็เริ่มสะท้อนความไม่พึงพอใจของประชาชน ทั้งผลการโหวต และ ส.ว. ผู้ไม่เข้าร่วมประชุมและไม่ออกความเห็น รวมไปถึงการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภา ที่ลากประเด็นการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจในการแก้กฏหมายรัฐธรรมนูญ ม. 112 และโยงไปถึงการลงนามในสัตยาบันของศาลอาญาระหว่างประเทศ จะทำให้ต่างประเทศฟ้องร้องต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยได้ ซึ่งทำให้ถูกมองไปว่า ผู้อภิปรายดึงสถาบันลงมาปะทะต่อผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งไม่สมควรที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะดึงสถาบันเข้ามาเป็นประเด็นต่อการตัดสินใจเลือกลงมติรับรองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายพิธา ผู้อภิปรายยังลากประเด็นไปจนถึงอยากออกกฏหมายให้ยิงผู้ออกมาหมิ่นพระมหากษัตริย์โดยไม่ผิดกฏหมาย และยังแสดงออกถึงความภูมิใจในความเป็นโจรที่รักในสภาบัน และปกป้องสถาบันสุดชีวิต ซึ่งกระทบจิตใจญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองหลายครั้งที่ยังหาผู้รับผิดชอบไม่ได้
ถึงผลการลงมติของสมาชิกรัฐสภาในการเลือกนายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้นายพิธาไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี จากการประชุมรัฐสภาแล้ว แต่ความไม่พอใจของประชาชนได้กระจายออกไปทั่งประเทศ ดั่งเช่นศิลปินนักร้อง ก้อง ห้วยไร่ได้ประพันธ์บทกวีบทหนึ่งออกมาแสดงต่อสาธารณะผ่านเฟชบุ๊คส่วนตัว ดังนี้
กูเขียนกฏให้มึงแพ้ตั้งแต่แรก
กูเขียนบทให้มึงแยกแผ่นดินหนี
กูเขียนเกมส์ให้มึงเล่นพอเป็นพิธี
กูลิขิต เขียนชีวี #พวกมึงไว้ แค่ใต้ตีน
อีกทั้งยังมีเสียงสะท้อนวิภากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการ นักวิจารณ์การเมือง นักกิจกรรมเคลื่อนไหวการเมือง ผู้สื่อข่าว ดารา คนดังหลายคน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ที่ไม่เห็นด้วยต่อการลงมติของ ส.ว. ในการลงมติครั้งนี้
ปรากฏการณ์ที่ไม่เห็นด้วยกับการลงมติของ ส.ว. มีความเคลื่อนไหวจากมหาชนในหลายกลุ่ม ทั้งในกรุงเทพมหานคร และในต่างจังหวัด สื่อหลายสำนักได้ตีแผ่ถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดการปะทะกันทางแนวคิดกำลังจะเข้าสู้ภาวะวิกฤติ (Chaos) ที่จะลุกลามไปสู่การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาในอนาคต ปรากฏการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น นอกการมีการวิภากษ์วิจารณ์ถึงการดำเนินการทางการเมืองที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมกระทำต่อฝ่ายการเมืองเสรีนิยมยังมีประเด็นการถกเถียงถึงความไม่เหมาะสมในหลายประเด็นที่มีต่อผู้มีอำนาจในขณะรักษาการ และองค์กรอิสระที่ดำเนินการต่อกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง(Interest Group) ฝ่ายตรงข้าม ความขัดแย้งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่ออารมณ์และการแสดงออกถึงการต่อต้านให้ขยายตัวมากขึ้น
การชุมนุมเพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจต่อผลการลงมติของคนกรุงเทพมหานคร ณ หน้าหอศิลป์ฯ ก็ก่อตัวมีเป็นสารตั้งต้นที่จะขยายวงกว้างออกไป การชุมนุมที่จังหวัดเชียงใหม่ แสดงออกถึงการไม่ยอมแพ้ต่อผลการลงมติ การชุมนุมที่จังหวัดนครราชสีมา , ที่จังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการสอดรับกันเป็นลูกระนาด
แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นกันได้เด่นชัดขึ้น คือการต่อด้านด้วยการแสดงออกถึงการไม่ต้อนรับเหล่า ส.ว. และครอบครัวของแนวร่วมธุรกิจต่างๆ เช่น แนวร่วมธุรกิจที่แบนการให้บริการไม่ว่าร้านหมูกระทะ เหล่าร้านบริการอาหารหลายแห่งได้ติดประกาศไม่บริการให้ กลุ่มบิการรับจ้างรับส่งผู้โดยสาน ไม่ว่ารถตุ๊กๆ รถรับจ้าง และยาพาหนะอื่นๆ ได้ติดป้ายด่า ส.ว. มากขึ้น ธุรกิจบางแห่งได้เชิญให้ ส.ว. ที่ร่วมทุนที่เป็นทุนส่วนน้อยได้ถอนหุ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เหล่าชาวไซเบอร์และกลุ่มโซเชียลมีเดียร์ เริ่มมีการชี้เป้าธุรกิจของ ส.ว. เพื่อให้ผู้ใช้บริการแบนไม่ใช้บริการ แม้แต่ธุรกิจกระดาษชำระเปียก ของบุตรสาวพลเอกประยุทธ์ จันทร์ โอชาก็ถูกชี้เป้า และก็เชื่อว่าจะลุกลามกระจายในวงกว้างออกไป
นายบรรยง พงษ์พานิช (เตา) นายธนาคาร นักคิด และนักปฏิรูป แสดงวิสัยทัศน์ผ่านข้อคิดข้อเขียนผ่านโซเชียลมีเดียอย่างตรงไปตรงมา แต่อ่านสนุกและสอดแทรกอารมณ์ขันในเวลาเดียวกัน ซึ่งได้รับความนิยมมากจนภายหลังเกิดเป็นหนังสือชุด "บรรยงคิด-บรรยงเขียน" และ "หางกระดิกหมา" ซึ่งกล้านำเสนอการต้านคอร์รัปชั่นในมุมที่จับต้องได้ "ต้องเปลี่ยนทัศนคติของคนส่วนใหญ่จากการแค่ 'ไม่ทำชั่ว' ให้เป็น 'ไม่ยอมให้มีการทำชั่ว' ให้จงได้" แนวคิดของนายบรรบง ได้ถูกนำไปใช้ในการดำเนินการทางการเมืองของพรรคก้าวไกล จนกลายเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมและเป็นที่คาดหวังของคนในประเทศไทยส่วนใหญ่ แต่นายบรรยงก็ได้แสดงความเห็นในเรื่องการสนับสนุนให้นายพิธาเป็นนายกฯ ผ่านเฟชบุ๊คส่วนตัวว่า “มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งบอกว่า มันไม่เกี่ยวเรื่องจงรักภักดีอะไรหรอก พวกมึงเล่นจะลดกองทัพ ลดนายพล ลดข้าราชการ ลดกฏหมาย ลดอำนาจ ลดทุนผูขาด ลดทุกอย่างของอภิสิทธิ์ชน เพิ่มแค่อย่างเดียว คือ ภาษีคนรวย.....ใครเขาจะยอมมึง”
มาตรการที่ประชาชนได้แสดงออกเพื่อต่อต้านอำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยม ยังคงจะไม่หยุดในการปฏิบัติการ และอาจจะลุกลามไปจนถึงปฏิบัติการ ล่าแม่มด จากข้อมูลที่ถูกชี้เป้า ซึ่งมันเกิดจากปฏิบัติการต่อต้านที่ไร้แกนนำ ซึ่งไม่อยากเห็นเมืองไทยอันเป็นที่รักของคนไทยทุกคน ต้องอยู่ในสภาวะที่ทุกคนต้องระแวงซึ่งกันและกัน จนไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ต่างคนต่างระมัดระวังตัวเอง เพราะไม่รู้ว่าใครเป็นแม่มด ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ล่า จะพูดจาวิสาสะ ก็เกรงว่าตนเองจะแสดงตนให้อีกฝ่ายรู้ว่าตนมีความคิดฝ่ายไหน ความระแวงทางสังคมแบบนี้จะได้รับความร่วมมือในการสร้างความเข้มแข็งให้กับบ้านเมืองต่ำ ก็หวังว่า ภาวะของการปะทะทางการความคิดทางการเมืองจะไม่พัฒนาไปสู่สงครามกลางเมืองที่ยากต่อการควบคุมให้เกิดความมั่นคงของประเทศ
ขอบคุณภาพจาก snook.com , ประชาไทย https://prachatai.com/